จำนวนผู้ป่วยเด็ก และ ผู้สูงอายุที่ติดเชื้อโควิด-19 เพิ่มสูงขึ้น ทำให้ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ผลิตยาตำรับโรงพยาบาล เป็นยาน้ำเชื่อมฟาวิพิราเวียร์ สำหรับผู้ป่วยเด็ก ผู้สูงอายุที่มีปัญหาด้านการกลืน และ ผู้ป่วยที่ให้อาหารทางสายยาง โดยจะเริ่มเปิดให้ลงทะเบียนขอรับยาผ่านเว็บไซต์ในวันที่ 6 ส.ค.โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย พร้อมย้ำว่า การรับยาจะต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์เพราะการใช้ยามีผลข้างเคียง
ข่าวดี! ไทยผลิตเองได้แล้ว "ยาฟาวิพิราเวียร์" เปิดสต๊อก กางแผนใช้รักษาลดวิกฤตโควิด
ทำความรู้จักยารักษาผู้ติดเชื้อโควิด-19 ของไทยที่นำมาใช้
เปิดแผน เช็กรายจังหวัด ส่งวัคซีนไฟเซอร์ รอบต้นเดือนส.ค.
ศ.นพ.นิธิ มหานนท์ เลขาธิการ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ แถลงข่าวพร้อมด้วยทีมพัฒนายาจากคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ บริษัท เมดิกา อินโนวา จำกัด ผู้พัฒนาและคิดค้นสูตรตำรับยาน้ำเชื่อมฟาวิพิราเวียร์ สำหรับผลิตในโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ต้านเชื้อไวรัสสำหรับเด็กและผู้ป่วยที่มีความลำบากในการกลืนยาเม็ด ตำรับแรกในประเทศไทย
ที่มาของการผลิตยาน้ำ “ฟาวิพิราเวียร์” สำหรับเด็กที่ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 และ ผู้ป่วยที่มีปัญหาเรื่องการกลืน ยาฟาวิพิราเวียร์ เพราะพบว่า ยาประเภทนี้มีการพิสูจน์และได้รับการรับรองให้ใช้รักษาไข้หวัดใหญ่ โดยเฉพาะในญี่ปุ่นที่เป็นต้นตำรับในการผลิต รวมทั้งใช้ในการรักษาไวรัสอีโบล่าทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ ส่วนโควิด-19 ถ้าได้ยาเร็วใน 4 วันจะสามารถลดอาการหนักและลดการเสียชีวิตได้ด้วย
การผลิตยาน้ำ “ฟาวิพิราเวียร์” เป็นการผลิตยาในโรงพยาบาล เรียกว่า ยาตำรับโรงพยาบาล เพราะยาฟาวิพิราเวียร์ สามารถทำเป็นยาน้ำได้ เหมาะสำหรับเด็กอายุน้อยๆ ที่ไม่สามารถกลืนยาเม็ดได้ กระบวนการผลิตที่ได้มาตรฐานได้รับความร่วมมือจากคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ตำรับยาน้ำเชื่อมฟาวิพิราเวียร์ ต้านเชื้อไวรัส โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ เป็นยาน้ำเชื่อมปราศจากน้ำตาล ลักษณะเป็นยาน้ำใส สีส้ม รสราสเบอรี่ มี 2 ขนาด คือ ขนาด 800 มิลลิกรัมใน 60 มิลลิลิตร และ ขนาด 1,800 มิลลิกรัมใน 135 มิลลิลิตร รับประทานยาขณะท้องว่าง วันละ 2 ครั้ง ห่างกันทุก 12 ชั่วโมง
ขนาดและวิธีการใช้ยาในเด็ก การให้ขึ้นอยู่กับน้ำหนักตัวของเด็ก ยกตัวอย่างเช่น เด็กนน. 10 กก. รับประทานวันแรก 27 ซีซีวันละ 2 ครั้ง วันต่อมาลดเหลือครั้งละ 12ซีซี ปริมาณยาจะให้เพิ่มขึ้นตามขนาดและน้ำหนักตัวเด็ก ส่วนเด็กที่มีน้ำหนัก 35 กิโลกรัมขึ้นไปจะรับประทานวันแรก 92 ซีซี วันถัดมาลดลงเหลือ 40 ซีซี
พญ.ครองขวัญ เนียมสอน กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคระบบทางเดินหายใจในเด็ก รพ.จุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ กล่าวว่า ในเด็กอายุ 8 เดือน -5 ปี 12 ราย ทดลองใช้และสังเกตใกล้ชิด ติดตามการรักษา พบว่า การตอบสนองต่อการรักษาเป็นไปได้ด้วยดี ไม่พบผลข้างเคียงร้ายแรง
พลอากาศตรีนพ.สันติ ศรีเสริมโภค ผู้ช่วยเลขาธิการ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ กล่าวว่า แนวทางการบริหารจัดการยาน้ำ ในรพ.จุฬาภรณ์ จ่ายยาให้ผู้ป่วยเด็กและผู้สูงอายุที่มีผลตรวจ Antigen Test Kit เริ่มให้ยาเลย ถ้าเป็นคนไข้อื่นที่ไม่ใช่คนไข้ของรพ.จุฬาภรณ์ จะจ่ายยาและขอให้รพ.อื่นๆ ช่วยผลิตยาในอนาคตด้วย การขอรับยา จะเริ่มให้ตั้งแต่วันที่ 6 สิงหาคม 2564 ผ่านทางเว็บไซต์ https://favipiravir.cra.ac.th โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ เพราะต้องการให้ผู้ป่วยได้เข้าถึงยาได้ง่ายขึ้น แต่ย้ำว่า การใช้ยาต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์เพราะยานี้มีผลข้างเคียง
ขั้นตอนการขอรับยา ให้กรอกข้อมูลผ่านระบบออนไลน์ สถานพยาบาล หรือ แพทย์องค์กรต่างๆ ขอรับยาให้ผู้ป่วยได้ ระยะแรกจะจ่ายให้ร้อยรายต่อสัปดาห์ ยาได้ภายใน 1 วันหลังจากลงทะเบียนกรอกเอกสารเรียบร้อย จ่ายยาไม่เกิน 20.00 น.ของทุกวัน โดยย้ำว่ายามีอายุ 30 วันและไม่แนะนำให้เก็บยาในตู้เย็น เพราะมีภาวะตกตะกอนได้
เตรียมร่างกายให้พร้อม ไทยร่วมใจเปิดฉีดวัคซีนนอก รพ.เริ่ม 7 ส.ค.นี้
โปรแกรมถ่ายทอดสดโอลิมปิก 2020 วันนี้ ประจำวันพฤหัสบดีที่ 5 ส.ค. 2564
หนึ่ง...เองครับ ได้อ่านข่าวนี้ แล้วดีใจครับ จะได้เข้าถึงยารักษาได้ทุกคน ผลิตเยอะๆครับ
05 ส.ค. 2564 เวลา 06.08 น.
ดูทั้งหมด