ไลฟ์สไตล์

‘ให้กลับมารักกันหวานชื่นเหมือนเดิม’ –ไม่ใช่เป้าหมายของนักจิตบำบัดคู่รักเสมอไป - เพจ Beautiful Madness by Mafuang

TOP PICK TODAY
เผยแพร่ 30 มิ.ย. 2563 เวลา 10.57 น. • เพจ Beautiful Madness by Mafuang

 มีเพื่อนที่เรียนจิตวิทยาบำบัดมาด้วยกัน เคยบ่นกับอาจารย์ว่า

รู้สึกผิดหวังในตัวเอง เพราะทำให้คนไข้คู่รักสองคน กลับมารักกันเหมือนเดิมไม่ได้

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ในที่สุดสองคนนั้นก็ต้องหย่ากัน

อาจารย์เลยบอกว่า

‘หน้าที่ของนักจิตบำบัดคู่รัก ไม่ใช่การพยายามให้คู่รักกลับมาคืนดีกันเสมอไป บางครั้ง เราอาจต้องช่วยให้เขาเข้าใจ และจัดการชีวิตหลังหย่าร้างกันให้ดีที่สุดก็ได้’

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

 

 

ในฐานะนักจิตบำบัด

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

เราไม่ควร และไม่มีสิทธิที่จะโน้มน้าวจิตใจคนไข้ของเรา ผ่านความเชื่อหรือความหวังที่เรามีอยู่ลึกๆ ในใจ (ยกตัวอย่างเช่น นักจิตบำบัดที่มีความเกลียดการรักร่วมเพศ หากมีคนไข้เป็นวัยรุ่นนักเรียนหนุ่ม มาปรึกษาเพราะรู้สึกสับสนในใจเหมือนตกหลุมรักเพื่อนร่วมห้องที่เป็นผู้ชาย นักจิตบำบัดที่มีแนวคิดฝังลึกในหัวแบบนี้ อาจพยายามเกลี่ยกล่อมหรือแอบล้างสมองคนไข้ ให้ล้มเลิกความคิดนั้น และหว่านล้อมให้ลองไปจีบ ‘ผู้หญิง’ ดูบ้าง ก็เป็นได้

ซึ่งนั่นถือเป็นการเยียวยาที่ไม่ถูกต้องอย่างยิ่ง เพราะคนไข้จะไม่ได้ทำความเข้าใจตัวเองอย่างลึกซึ้งและอาจจบการบำบัดไป โดยรู้สึกต้องขุดฝังความรู้สึกจริงแท้ลงไปไม่ให้มีใครรู้อีก ‘เป็นเสียงที่ไม่มีใครอยากได้ยิน’)

 

 

ในเรื่องของความสัมพันธ์ก็เช่นกัน

แน่นอน เมื่อคู่รักคิดจะแต่งงานกันแล้ว ไม่มีใครวาดฝันเอาไว้หรอกว่า ‘วันหนึ่งฉันจะหย่า’

หากแต่เรื่องของจิตใจ และสภาพแวดล้อม ประสบการณ์ มุมมองที่ทั้งคู่ต่างเจอ ผ่านเวลาและวุฒิภาวะที่เปลี่ยนไป

หากคนสองคนในที่สุดแล้ว

การจูงมือเดินไปด้วยกันต่อ มันทำร้ายจิตใจกันและกันมากกว่าการต้องแยกจากกัน

บางครั้ง เราอาจต้องปล่อยมือ ก่อนที่ความสัมพันธ์ที่มีอยู่จะร้าวฉานกว่านี้

ในฐานะนักจิตบำบัด

เราต้องพยายามมองสถานการณ์ที่อยู่ตรงหน้า ด้วยใจเป็นกลางและยึดเอาความต้องการและสภาวะห้วงอารมณ์ของคนไข้เป็นหลัก –ไม่ใช่ตัวเรา

นักจิตบำบัดอาจเป็นคนโรแมนติคฝันหวาน หรือนับถือศาสนาที่มีความเชื่อว่าคนที่แต่งงานกันแล้วจำเป็นจะต้องอยู่ด้วยกันไปจนตาย

แต่เมื่อเราสวมหมวกนักบำบัดจิตใจ ต้องทิ้งความลำเอียงในใจเราออกไป

สิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อคนไข้ ต้องมาก่อนเสมอ

หน้าที่ของเรา คือช่วยจัดระเบียบและประมวลผลทางความคิด คอยสะท้อนอารมณ์ความรู้สึกของคนไข้ เพื่อช่วยคนไข้ประกอบการตัดสินใจต่อชีวิตรักของพวกเขา ด้วยตัวพวกเขาเอง

 

หากในที่สุดแล้วคนไข้ไปต่อกันไม่รอดจริงๆ

แต่เราเอาแต่พยายามจะยื้อ

เราจะมีปัญญารับผิดชอบชีวิตของคนไข้ที่เกิดจากการตัดสินใจผิดพลาดของเรา ได้อย่างไร

--------------------------------------------------------------------------------------------------------

 

ตอนเด็กๆ

เรามักโตมากับชุดความคิดที่ว่า

ใครก็ตามที่ต้องหย่ากัน ยิ่งถ้ามีลูกด้วยกันด้วยแล้ว

‘ทำไมถึงไม่รับผิดชอบขนาดนี้’ ‘ทำไมถึงไม่อดทนกว่านี้’

ซึ่งในความเป็นจริง

‘ความอดทน’ นั้นอาจมาพร้อมความเก็บกด กระอักกระอ่วน

หม่นหมอง โกรธเกรี้ยว รำคาญใจ

จนมันไม่เหลือภาพความสวยงามของความ ‘อดทน’ ให้เห็นอีกแล้ว

คู่รักสองคนสัมผัสได้

ทำไมลูกน้อย ที่ต้องปฏิสัมพันธ์กับทั้งพ่อและแม่โดยตรง จะสัมผัสไม่ได้

 

การเลิกรากัน

ไม่ใช่ความล้มเหลวของชีวิต

ในทางตรงกันข้าม

อาจเป็นความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่

ที่ได้มีโอกาสปลดปล่อยพันธนาการหัวใจของตัวเองต่อคนที่ไม่ใช่

กล้าหาญ

เพื่อเดินทางหาเรื่องราวและใครที่ ‘ใช่’

หอมหวลเย้ายวนใจ ในอนาคตอันใกล้นี้

ก็เป็นได้.

อ่านบทความใหม่จากเพจ Beautiful Madness by Mafuang ได้บน LINE TODAY ทุกวันอังคาร

ความเห็น 2
  • ผมคิดว่าบางครั้งในยามที่คนเรานั้นกำลังประสบกับปัญหาในชีวิตไม่ว่าจะเป็นในเรื่องใดก็ตาม ในการที่มีใครสักคนที่คอยช่วยรับฟังให้คำปรึกษาและให้กำลังใจบ้าง ก็คงอาจจะช่วยทำให้สภาวะของทางจิตใจดีขึ้นมาได้บ้างเหมือนกันนะครับ.
    01 ก.ค. 2563 เวลา 03.08 น.
  • P-NOTT
    โลกีย์วิสัยก็อย่างนี้ เอาตนเองเป็นหลักความถูกต้องไม่จำเป็น จิตวิทยาเหมือนกัน แต่พูดเลย ตามสบายเถอะ
    30 มิ.ย. 2563 เวลา 18.28 น.
ดูทั้งหมด