ทั่วไป

นักการศึกษาแนะปลดล็อกรร.ยืดหยุ่นสอดคล้องกับพื้นที่

TNN ช่อง16
อัพเดต 26 พ.ค. 2563 เวลา 03.21 น. • เผยแพร่ 26 พ.ค. 2563 เวลา 03.21 น. • TNN Thailand
นักการศึกษาแนะปรับตัวช่วงโควิด-19 ภาคนโยบายปลดล็อคให้โรงเรียนเกิดความยืดหยุ่นสอดรับกับพื้นที่

วันนี้( 26 พ.ค. 63 )กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา(กสศ.) และThe 101 ร่วมจัดpublic forum ผ่านเฟซบุ๊กในหัวข้อ“ปรับโรงเรียน-เปลี่ยนครู–ปฏิรูปการเรียนรู้" อ.เดชรัตสุขกำเนิดนักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์  กล่าวว่าปัญหาการศึกษาของไทยปัญหาแรกคือ1. เรื่องความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาซึ่งเดิมไม่ค่อยรู้กันจนเกิดการระบาดของCOVID-19 ทำให้เห็นชัดขึ้นเช่นเข้าถึงเทคโนโลยีอุปกรณ์ออนไลน์ไปจนถึงอนาคตที่ปัญหาเศรษฐกิจอาจทำให้หลายคนต้องหลุดจากระบบการศึกษา2. ขาดปฏิสัมพันธ์ผู้เรียนผู้สอนและ3.การออกแบบการเรียนให้เหมาะสมกับผู้เรียนซึ่งยังไม่เป็นเช่นนั้น

อย่างไรก็ตามในการเรียนออนไลน์ที่ถูกพูดถึงยังคิดกันแต่ว่าเป็นการยืนพูดหน้าชั้นเหมือนในห้องเรียนปกติทั้งที่ยังมีรูปแบบอื่นทั้งให้ดูสารคดีชีวิตสัตว์หรือแบบอื่นอย่างเกมออนไลน์โพล์ออนไลน์  ซึ่งในชีวิตจริงเด็กสามารถดูโทรทัศน์ได้เป็นชั่วโมงเราจะทำยังให้เด็กสนใจและดูแบบเรียนที่ไม่ใช่แค่การสอนแบบหน้าห้อง  แต่ควรมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูนักเรียนร่วมด้วยและการเรียนออนไลน์ไม่ใช่จะมาแทนออฟไลน์แต่จะเป็นการสอนที่ไปด้วยกัน  การเรียนรู้เป็นเรื่องของทุกคนเรียนได้ทุกที่ทุกโอกาส 

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

อ.ภาคินนิมมานนรวงศ์ครูสังคมศาสตร์โรงเรียนกำเนิดวิทย์กล่าวว่าโรงเรียนเป็นโรงเรียนประจำสอนเฉพาะม.ปลายรวมนักเรียนเจ้าหน้าที่ประมาณ300 คนแผนที่คิดไว้คือการลดจำนวนคนที่จะมาเรียนให้น้อยที่สุดเพื่อจำกัดและลดความเสี่ยงการติดเชื้อและพยายามทำให้การเรียนไปอยู่ในออนไลน์ซึ่งจะเริ่มตั้งแต่สัปดาห์หน้าโจทย์ที่ยากของโรงเรียนคือเราจะทำได้ตามแผนแค่ไหนซึ่งเรามีหลายแผนที่วางไว้เพื่อรองรับโอกาสที่จะเกิดสิ่งต่างๆ 

อ.ภาคินกล่าวว่าระยะสั้นเวลาพูดว่าโลกหลังCOVID-19 เราต้องรู้ก่อนว่าคือเมื่อไหร่และหากเป็นอีก2 ปีข้างหน้าระหว่างนี้จะจัดการเรียนการสอนอย่างไรมีแผนแบบไหนบ้างเราไม่สามารถบอกได้ว่าโมเดลไหนดีที่สุดไม่มีใครรู้จักนักเรียนได้ดีที่สุดเท่ากับอาจารย์ผู้สอนแต่ก็ต้องคุยกับนักเรียนและผู้ปกครองซึ่งเป็นเรื่องสำคัญอีกทั้งการจัดทำรูปแบบการสอนออนไลน์ไม่เคยมีใครลองของใหม่ขนาดนี้ถ้าพูดว่าทำไม่ได้ก็จบเท่านั้นแต่ถ้าบอกว่าทำได้ก็จะมีโอกาสที่รออยู่ซึ่งในภาพใหญ่ไม่ใช่แค่ครูที่จะต้องรับผิดชอบเรื่องนี้แต่ต้องมองไปถึงผู้กำหนดนโยบายที่ต้องมีความยืดหยุ่นไปจนถึงมหาวิทยาลัยที่สอนครูที่จะต้องปรับตัวก่อนคนอื่น     

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ศุภโชคปิยะสันติ์ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านห้วยไร่สามัคคีจ.เชียงรายกล่าวว่าความพร้อมของโรงเรียนประสบปัญหาหลายแห่งเด็กออนไลน์ได้แค่บางส่วนออนแอร์ได้บางส่วนบางส่วนต้องออฟไลน์สิ่งที่โรงเรียนเผชิญสัปดาห์ที่ผ่านมาคือการต้องพูดคุยเพื่อให้เกิดการเรียนรู้เกิดประสิทธิภาพที่ดีที่สุด  ทำอย่างไรให้ขับเคลื่อนนโยบายกับปฏิบัติจริงให้ได้การเรียนรู้ดีที่สุดซึ่งมีทั้งกลุ่มม.ปลายที่ส่วนใหญ่เรียนออนไลน์ได้อีกกลุ่มเข้าไม่ถึงออนไลน์ก็ต้องเกาะกับเนื้อหาDLTV  อีกด้านยังมีช่องทางการเรียนรู้ที่เรียนจากชุมชนเรียนจากปราชญ์ชาวบ้านให้เขาไปหาความรู้ด้วยตัวเอง 

ทั้งนี้การเรียนรู้โดยให้เด็กดูทีวีโดยไม่สามารถซักถามหรือมีใครอธิบายตรงนี้ก็จะลำบากเพราะในพื้นที่บางบ้านมีข้อจำกัดผู้ปกครองไม่มีเวลาไม่มีความสามารถในการสอน  ซึ่งตรงนี้เป็นโอกาสทองในการคิดค้นนวัตกรรมมีโอกาสสอนน้อยเจอเด็กสั้นๆจะเลือกเนื้อหาวิธีไหนในการสอนให้เกิดประสิทธิภาพถ้ามีการปลดล็อกผ่อนคลายเราก็จะได้เห็นครูได้ปล่อยของมีอิสระรูปแบบการเรียนการสอนได้มากขึ้น 

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ดร.อุดมวงษ์สิงห์ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาคุณภาพครูนักศึกษาครูและสถานศึกษากองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา(กสศ.) กล่าวว่าการทำงานของกสศ. ที่ผ่านมามุ่งเน้นสร้างนวัตกรรมใหม่ๆหรือนำร่องซึ่งเมื่อเกิดโรคระบาดเราพูดคุยให้มีการปรับการทำงานเช่นโครงการTSQP 290 โรงเรียนต้องปรับอะไรบ้างยังมีโครงการการพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กในพื้นที่ห่างไกลที่ต้องให้ความช่วยเหลือมากกว่าปกติจึงต้องมาคิดว่าจะพัฒนาอย่างไร 

ทั้งนี้จากตัวอย่างที่เกิดขึ้นในประเทศบรูไนเขามีระบบโฮมเลิร์นนิ่งแพ็คเกจให้ผู้ปกครองกับเด็กร่วมกันทำงานที่บ้านรวมทั้งมีการเตรียมพร้อมจัดสภาพแวดล้อมเพื่อรองรับการเปิดเทอมทั้งการจัดที่นั่งนักเรียนการก้าวเข้าโรงเรียนแบ่งครูออกเป็นสองกลุ่มทำงาน2 สัปดาห์ที่โรงเรียนและหยุดสองสัปดาห์เพื่อไปลงพื้นออนไซท์  ช่วยเหลือให้คำปรึกษาเด็กในพื้นที่ซึ่งสุดท้ายกสศ.ก็ต้องมาวิเคราะห์ย้อนกลับไปสู่เบื้องต้นคือไม่ต้องวิ่งตามเทคโนโลยีแต่ต้องเน้นไปที่การเรียนรู้

เมษ์ศรีพัฒนาสกุลผู้ก่อตั้งและซีอีโอบริษัทLukkid และผู้แปลหนังสือ“designing your life” กล่าวว่าเราต้องปรับตัวบางครั้งการใช้เทคโนโลยีก็ไม่ได้สำคัญไปทุกสถานการณ์บางทีระบบแมนนวลก็อาจตอบโจทย์ได้ดีกว่า  เราไม่ได้มีสูตรเดียวที่ตอบโจทย์ทุกในสถานการณ์โอกาสที่เราได้ลองจึงเป็นเรื่องสำคัญและเราควรมีการสร้างคอมมูนิตี้เพื่อให้ครูได้คุยกันว่าเจอปัญหาอะไรแก้ไขอย่างไรให้แต่ละคนได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน 

เกาะติดข่าวที่นี่ 

website: www.TNNThailand.com  

facebook : TNNThailand 

twitter : @TNNThailand 

Line : @TNNThailand 

Youtube Official : TNNThailand

ดูข่าวต้นฉบับ
ความเห็น 7
  • ครูไม่ดี และพวกทำตัวเป็นเจ้าพ่อเจ้าแม่ ใน ร.ร.กลัวตกงานกัน. ตอนนี้เด็กไปไกลเรียนพิเศษออนไลน์กันแล้ว ยุคสมัยเปลี่ยนอย่ามัวเสนอแนะแบบเก่าๆเลย ไม่ทัน ร.ร. กวดวิชาตลอด โกงกินกันจนอืดอาด ต่อไปสอนดีหรือไม่ดี ผปค ได้เห็นจากออนไลน์แน่ๆ
    26 พ.ค. 2563 เวลา 05.12 น.
  • Pilot guide
    บอกตงๆ รำคาญกับการศึกษาไทยมาก เปลี่ยนไปเปลี่ยนมา ครั้งนี้เหมือนกันเสนอให่ยืดหยุ่นพรบ.การศึกษาอันก่อนก็เปิดโอกาสให้ทำหลักสูตรที่สอดคล้องกับท้องถิ่นต่อมายกเลิก ต่อมาจะเอาอีกละ น่ารำคาญมากๆ ต่ำตมสุดๆ แพ้ลาว เขมรเวียดนาม เข้าทุกวัน โชคดีนะควายไทย
    26 พ.ค. 2563 เวลา 05.04 น.
  • เวลาสอบเรียนต่อต้องทำยังไง นร โรงเรียนสีแดง จะไปสอบเข้ามหาลัย พื้นที่สีเขียว ที่เปิดรับสมัคร แต่ รร ยังสอบไม่เสร็จ แบบนี้จะแก้ปัญหายังไง
    26 พ.ค. 2563 เวลา 04.59 น.
  • ยิ่งเรียนยิ่งโง ปิดกับสมัยก่อนเมื่อหกสิบปีที่แล้ว จบป.สี่ ได้เป็นครู
    26 พ.ค. 2563 เวลา 04.57 น.
  • khajit
    ถ้าจะปลดล็อค..ก้อปลดทุกร.ร. ไม่อย่างนั้นก้อไม่เสมอภาคกัน ถ้าบางพ.ท.เปิดได้ พ.ท.ที่ยังเปิดไม่ได้ก้อเสียเปรียบทางการเรียน..เรื่องการเรียนทางออนไลน์ ใคร่อยากเสนอให้ใส่ไว้เป็นหลักสูตรหนึ่งของการศึกษาทุกระดับชั้น เพื่อเป็นพื้นฐานในอนาคต หากไม่สามารถเรียนได้ตามปกติ ไม่ว่าจะมีเหตุการใดเกิดขึ้นในอนาคต เป็นการพลิกวิกฤติเป็นโอกาสทองเลย อีกอย่างการสอนทางออนไลน์หากได้อจ.เก่งจากสถาบันดังๆเป็นผู้สอน เด็กก้อไม่ต้องไปเรียนพิเศษแล้ว เพราะเท่าเทียมกันหมด ที่เหลือคือครอบครัวต้องมีหน้าที่ดูแลเด็กเอง ไม่ใช่โยนให้ร.ร
    26 พ.ค. 2563 เวลา 04.56 น.
ดูทั้งหมด