ไลฟ์สไตล์

ที่มาที่ไปของเบียร์-สุราในไทย อันไหนมาก่อน แล้วยุคแรก ขายขวดละกี่บาท?

ศิลปวัฒนธรรม
อัพเดต 22 ก.พ. 2566 เวลา 10.27 น. • เผยแพร่ 02 ม.ค. 2565 เวลา 15.24 น.
พระยาภิรมย์ภักดีนำพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี และเสด็จกรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน ดูงานก่อสร้างอาคารหม้อต้มของบริษัท บุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด ทรงรับสั่งว่า

เบียร์ และ สุรา เป็นเครื่องดื่มประเภทที่อยู่คู่กับวัฒนธรรมการกินของมนุษย์มายาวนาน เครื่องดื่มกลุ่มนี้ถูกใช้ในสถานการณ์แตกต่างกันออกไป ส่วนใหญ่แล้ว ผู้คนมักนิยมใช้ดื่มเพื่อสร้างความรื่นรมย์ในชีวิต หากจะย้อนกลับไปถึงที่มาของเครื่องดื่มประเภทนี้ในไทย เกร็ดข้อมูลหลายอย่างก็น่าสนใจทีเดียว

ในเมืองไทยนั้นสุราเกิดขึ้นมาก่อนเบียร์ หนังสือ “โลกของเบียร์ : The World Beer Guide” โดย นพพร สุวรรณพานิช อธิบายถึงประวัติสุราและเบียร์ไทยว่า สุราเกิดมาก่อนในสมัยทวารวดี, สุโขทัย, อยุธยา และรัตนโกสินทร์ แต่มีหลักฐานในรัชสมัยพระเจ้าปราสาททองราว พ.ศ. 2178 ว่ามีกฎหมายลักษณะธรรมนูญว่าด้วยการจัดเก็บภาษีสุรา ดังปรากฏในบันทึกของ เดอ ลาลูแบร์ ว่า “อากรสุราเก็บตามจำนวนเตาที่ตั้งต้มขาย”

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงอธิบายไว้ว่า มีการต้มกลั่นก็เก็บตามจำนวนเตา ในกรณีที่ต้มกลั่นตามใจ ก็เก็บตามจำนวนชายฉกรรจ์ และคนที่ขายสุราก็โดนเก็บไปด้วย โดยคิดเป็นรายโอ่งหรือรายเท เทละ 19 ลิตรเศษ ต่อมาถึงคิดเป็น 20 ลิตร ในยุคหลังคิดเป็นลิตร ไม่เป็นเทหรือโอ่ง

ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 1 มีพระราชดำริว่า เมืองไทยเป็นเมืองพุทธไม่ควรที่คนไทยจะหมกมุ่นกับสุรา แต่การต้มกลั่นนั้นก็เพื่อทำเป็นเวชภัณฑ์ จึงทรงห้ามมิให้ต้มกลั่นแบบเสรี แต่โปรดให้ตั้งโรงต้มกลั่นขึ้นที่ตำบลบางยี่ขัน ซึ่งในขณะนั้นมีคนจีนมาประมูลเหมาต้ม ชาวบ้านเรียกกันว่าเหล้าโรง เป็นเหล้าขาวที่ทำขึ้นจากหมักส่า จึงเกิดสิ่งที่เรียกว่า ภาษีขายอากรสุรา หรือเจ้าภาษีนายอากรสุรา ซึ่งในปัจจุบันเรียกกันว่า ภาษีอากร เก็บโดยกรมสรรพสามิต

ทั้งนี้ ชื่อสุราส่วนใหญ่มักตั้งชื่อเป็นสัตว์ เช่น หงส์ทอง, แมวดำ บ้างเป็นชื่อในวรรณคดี บางทีก็เป็นชื่อที่ต้องการล้อวิสกี้ เช่น ม้าขาว, วิสครีม บางครั้งก็ตั้งชื่อตามโรงภาพยนตร์ เช่น คิงส์, ควีนส์ เป็นต้น ซึ่งเมรัยเกิดจากการนำธัญพืชที่มีแป้งเป็นวัตถุดิบมาหมักไว้ระยะหนึ่งจนเกิดแอลกอฮอล์ เรียกกันว่า น้ำตาลเมา แต่สุราต้องนำมากลั่นต่อเพื่อให้ได้ปริมาณแอลกอฮอล์ที่แรงขึ้น

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

แต่เบียร์ต่างจากสุรา เพราะเบียร์เกิดจากการหมักส่า คล้ายกะแช่ที่ทำจากน้ำตาลสด คล้ายกับอุที่หมักจากข้าวเหนียวกล้อง แต่เบียร์หมักจากข้าวบาร์เลย์

ส่วนเบียร์ไทยนั้นเกิดขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อพระยาภิรมย์ภักดี (บุญรอด เศรษฐบุตร) เดินทางไปศึกษาโรงเบียร์ที่เวียดนามและเยอรมนีในแคว้นบาวาเรีย และต่อมาเป็นผู้ก่อตั้งบริษัทบุญรอด บริวเวอรี่ จำกัด ในวันที่ 4 สิงหาคม 2476 มีนายประจวบ ภิรมย์ภักดี เป็นผู้ควบคุมการผลิต

เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2477 เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ได้ทรงเปิดป้ายบริษัทบุญรอด บริวเวอรี่ ซึ่งในขณะนั้นขายเพียงขวดละ 32 สตางค์ ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นของบริษัทผลิตเบียร์แห่งแรกในไทยอย่างเป็นทางการ

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ปัจจุบัน เบียร์ และ สุรา ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งในวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของผู้คน ในขณะเดียวกันก็เป็นสินค้าอันดับต้นๆ ที่สร้างรายได้ให้บริษัทผู้ผลิตอย่างมหาศาล

อ่านเพิ่มเติม :

สำหรับผู้ชื่นชอบประวัติศาสตร์ ศิลปะ และวัฒนธรรม แง่มุมต่าง ๆ ทั้งอดีตและร่วมสมัย พลาดไม่ได้กับสิทธิพิเศษ เมื่อสมัครสมาชิกนิตยสารศิลปวัฒนธรรม 12 ฉบับ (1 ปี) ส่งความรู้ถึงบ้านแล้ววันนี้!! สมัครสมาชิกคลิกที่นี่

อ้างอิง:

นพพร สุวรรณพานิช. โลกของเบียร์: The World Beer Guide. กรุงเทพฯ : มติชน, 2555.

แก้ไขปรับปรุงเนื้อหาเมื่อ 12 มิถุนายน 2562

ดูข่าวต้นฉบับ
ความเห็น 5
  • บิ๊กจ้ะ
    ขายมา 86 ปี รวยขนาดไหนวะ
    28 ม.ค. 2562 เวลา 13.45 น.
  • boy & song
    ประเทศไทยเป็น"เมืองพุทธ" แต่ถ้าทำธุระกิจเกี่ยวกับ"อบายมุข"ทุกชนิด ธุรกิจ"บาป"จะไปได้สุดสวย.."รวยมหาศาล" *ไทยพุทธส่วนใหญ่ มือถือสาก ปากถือศีล*
    28 ม.ค. 2562 เวลา 12.10 น.
  • ... รวยขนาด - เป็นสปอนเซอร์ทีมรถ F1 และมีโลโกในหลายสนามแข่งชั้นนำทั่วโลก - มีทีมวอลเลย์บอล, ทีมฟุตบอลเป็นของตนเอง(บางกอก FC) - มีสนามลีโอสเตเดี้ยมข้างม.สถาพร รังสิตคลอง 5 - มีบริษัทผลิตขวดแก้วเป็นของตนเอง(บางกอกกลาส) - แตกลายน์ไปในธุรกิจโรงแรมผ่านหลักทรัพย์ SHR - นำเข้ารถเฟอร์รารี่โดยบ.คาวาลลิโนมอเตอร์ - มีหมู่บ้านSuper High End ระดับ 9 หลักที่ประดิษฐ์มนูธรรม - มี Esse อโศกที่เป็นอาคารสนง.ขนาดใหญ่ - มีไร่ปลูกชาที่จ.เชียงราย - มีไร่องุ่นป้อนไวน์ชาดอนเนย์ที่ปากช่อง เขาใหญ่ - เคยมีสายการบิน PB Air
    28 ก.พ. 2564 เวลา 02.54 น.
  • ผมเรียงลำดับให้เลยนะครับ ไวน์ก่อนเลย ตอนกินข้าวเย็น​กับเพื่อน เหล้า เสร็จ​แล้วชวนกันไปต่อ เบียร์​ ผับปิด ไปกินข้าวต้ม​รอบดึก อ้วก ไวน์เหล้าเบียร์​รวมกันเป็นหนึ่งลงชักโครก หลับ
    28 ก.พ. 2564 เวลา 01.57 น.
  • Kittipalo อคโตภันเต
    เมาเหล้าเช้าสายก็หายไป แต่เมาใจนี้ประจำทุกค่ำคืน
    28 ก.พ. 2564 เวลา 01.32 น.
ดูทั้งหมด