ทั่วไป

ทำเฉพาะกทม.ได้ 1 หมื่น 4 พันล้าน! แต่ทำทั้งประเทศได้แค่ 9 พันล้าน! แล้วอีกกี่ชาติจะพัฒนาทันใช้?

Another View
เผยแพร่ 09 ม.ค. 2562 เวลา 05.00 น.

ทำเฉพาะกทม.ได้ 1 หมื่น 4 พันล้าน! แต่ทำทั้งประเทศได้แค่ 9 พันล้าน! แล้วอีกกี่ชาติจะพัฒนาทันใช้?

เวลาไปเที่ยวต่างแดนในชาติที่เจริญแล้วทีไรก็พลันได้แต่อิจฉาระบบรถไฟดี ๆ ของเขาเสียเหลือเกิน ไม่ว่าจะญี่ปุ่น ไต้หวัน จีน หรือข้ามไปฝั่งยุโรปที่โครงข่ายรถไฟแต่ละประเทศเชื่อมกันหมดเป็นผืนเดียว

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ย้อนกลับมายังไทยที่สภาพรอมร่อ องค์กรก็คอร์รัปชั่นกันสนั่น ระบบการบริหารจัดการรถไฟในเมืองก็ลุ่ม ๆ ดอน ๆ ยิ่งรถไฟข้ามจังหวัดยิ่งแล้วใหญ่ ทั้งสภาพเอย ที่นั่งเอย หรือความเร็วเอย…เทียบเขาไม่ติดแม้แต่น้อย

ถึงกับต้องย้อนกลับไปดูงบประมาณของปีที่แล้วและปีนี้ โดยอ้างอิงจากเว็บไซต์สำนักงบประมาณ (http://budget.parliament.go.th) น่าตกใจตัวเลขส่วนของรัฐวิสาหกิจเป็นอย่างยิ่งเพราะการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยหรือ รฟม. ที่ดูแลรถไฟฟ้าในกรุงเทพมหานคร (เป็นส่วนใหญ่) ได้งบประมาณปี พ.ศ. 2561 ถึง 2.5 หมื่นล้านบาท ในขณะที่ปีนี้อยู่ที่ราว1.4 หมื่นล้านบาท ส่วนนี้เข้าใจได้ว่าเป็นการโหมกระหน่ำก่อสร้างสารพัดสายรถไฟฟ้าทั่ว กทม. ให้เป็นไปตามแผนการที่วางไว้ 

ตัดไปที่พี่ใหญ่ซึ่งคือการรถไฟแห่งประเทศไทยหรือ รฟท. ที่ในปี พ.ศ. 2561 นั้น ได้รับงบประมาณอยู่ที่ 1.2 หมื่นล้านปลาย ๆ ในขณะที่ปีนี้อยู่ที่ 9.2 พันล้านบาท ช่างแตกต่างเสียนี่กระไร…

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ดูแลงานรถไฟฟ้าในกรุงเทพฯ อย่าง รฟม. ได้รับงบสูงลิ่ว ในขณะที่ รฟท. ผู้ดูแลทั้งประเทศ กลับได้งบที่น้อยกว่าอย่างชัดเจน คำถามคือ ในงบประมาณที่ได้รับกับขอบข่ายพื้นที่ความรับผิดชอบนั้นสัมพันธ์กันหรือไม่? ดูราวกับว่างบนั้นถูกทุ่มลงไปที่เมืองหลวงมากกว่าการนำไปดูแลระบบรถไฟทั้งประเทศ แล้วแบบนี้เราจะคาดหวังให้รถไฟนอกเมืองกับในเมืองเจริญไปพร้อม ๆ กันได้อย่างไร

ประเทศไทยไม่ใช่แค่กรุงเทพมหานคร แม้การวางโครงข่ายรถไฟฟ้าเพื่อแก้ปัญหาเรื่องการจราจรในกรุงเทพมหานคร จะเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องรีบทำ แต่ก็อย่าลืมว่าเรายังมีหัวเมืองหลัก ๆ จังหวัดรอง ๆ และพื้นที่ที่ห่างไกลออกไปที่รอรับการกระจายความเจริญจากศูนย์กลางอยู่ หากผู้ดูแล “ทั้งประเทศ” ได้งบน้อยกว่าคนที่ดูแลระดับจังหวัด แล้วมันจะพัฒนาทันกันได้อย่างไร

เราไม่แน่ใจว่าการจัดสรรงบประมาณที่ตั้งไว้นั้นสอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงหรือไม่ หรือเป็นการจัดลำดับความสำคัญให้แก่ศูนย์กลางการปกครองก่อนหรือเปล่า หรือเราทำได้แค่เพียงรอโครงการรถไฟความเร็วสูงและปานกลางสำเร็จ (ที่ก็ไม่รู้ว่าจะอีกนานแค่ไหน)

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

แล้วคุณล่ะ คิดเห็นอย่างไรกับเรื่องนี้?

ความเห็น 47
  • J
    ไม่ได้คิดอะไรคำตอบก็อยู่ในคำถามแล้วว่าทำไมรฟมได้งบเยอะ ส่วนรฟทงบน้อยเพราะงบเอาไปลงให้เจ้าอื่นสร้างรถไฟความเร็วสูงสองแสนล้านเยอะพอยังสำหรับทั่วประเทศ คราวหลังมาถามคำถามให้เกิดความขัดแย้งอย่างนี้ไปทำอย่างอื่นเถอะนะ
    09 ม.ค. 2562 เวลา 05.06 น.
  • 🎉MaxZ🎉
    ต่างจังหวัด ชาวบ้านตาสีตาสา...เสียแค่ภาษี vat 7% แต่คนที่เสีย ภงด.มีแค่ไม่เท่าไหร่ แค่ 5%ของทั้งประเทศได้หรือเปล่า...แต่เลี้ยงคนทั้งประเทศ...แล้วถ้าทุ่มลงทุนทั่วประเทศ...แต่คนไม่ใช้ ...จะไม่มาด่าเหรอว่า...บริหารโง่บ้างล่ะ... สู้ลงทุนในกลุ่มที่มีคนต้องการใช้ดีกว่าส่วนอื่นๆก็ทำตาม demand supply...ไม่เห็นต้องมาตั้งคำถามแบบนี้เลย..แล้วรู้มาว่าเสียค่าจ้างให้จีน..ญี่ปุ่นมาทำรถไฟเร็วสูง 2แสนล้านแล้วไม่ใช่เหรอ...แล้วมันจะน้อยตรงไหนวะ..
    09 ม.ค. 2562 เวลา 05.31 น.
  • S.
    กรุงเทพเสียภาษี 1.244 ล้านล้านบาท จังหวัดที่เหลือ 70 กว่าจังหวัดรวมกันทั้งประเทศเสียภาษี 6.7 แสนล้านบาท ถ้าเป็นสัดส่วนเปรียบเทียบ รายจังหวัดต่างกันเกิน 100 เท่า ทุกวันนี้กรุงเทพ แบ่งเงินเลี้ยงต่างจังหวัดอยู่ เช่นเดียวกับคนที่เสีย ภงด 5 ล้านคน จาก 67 ล้านคนที่แบ่งเงินเลี้ยงขอทานที่เหลือ
    09 ม.ค. 2562 เวลา 05.22 น.
  • SaveEarth
    ล้าหลังการพัฒนาระบบราง
    09 ม.ค. 2562 เวลา 05.11 น.
  • ธวัชชัย
    ไม่พูดมากเจ็บคอรู้ๆกันอยู่
    09 ม.ค. 2562 เวลา 05.12 น.
ดูทั้งหมด