เหนื่อยแทบตาย! การศึกษาภาคบังคับ 12 ปีแต่ความรู้มาตรฐานโลกเทียบเท่า ม.2!
BY : TEERAPAT LOHANAN
แม้ว่าทุกวันนี้การศึกษาของประเทศไทยจะสามารถเข้าถึงคนส่วนมากในประเทศได้แล้ว แต่อย่างไรก็ตาม ทางด้านของคุณภาพทางการศึกษากลับไม่ได้เพิ่มขึ้นตามที่ควรจะเป็นเลย
จากรายงานดัชนีทุนมนุษย์ของธนาคารโลก ที่เพิ่งตีพิมพ์เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม ที่ผ่านมา เผยให้เห็นว่า “การดูแลสุขภาพและคุณภาพการศึกษาเด็กไทย ยังต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศในภูมิภาค เข้าเรียนเฉลี่ย 12.4 ปี แต่คุณภาพที่ได้เทียบเท่าแค่ 8.6 ปี” โดยเป็นการวัดผลรวมของทุนมนุษย์ตั้งแต่เกิด จนถึงอายุ 18 ปี
จากผลของรายงานนี้ สะท้อนให้เราเห็นว่า ทุกวันนี้เด็กไทยโดยเฉลี่ยจะเข้าเรียนในระบบการศึกษาเป็นเวลารวม 12.4 ปี จนถึงอายุ 18 ปี แต่เมื่อพิจารณาถึงคุณภาพการเรียนรู้แล้ว เท่ากับเด็กได้รับการศึกษาเพียง 8.6 ปีเท่านั้น โดย 3.8 ปี ที่หายไปเป็นเพราะคุณภาพการศึกษาที่ยังไม่ได้มาตรฐาน เพราะแทนที่จะได้ใช้เวลาที่เหลือเหล่านี้เพื่อค้นหาสิ่งที่ตัวเองถนัด แต่กลับต้องใช้เวลาอยู่กับการก้มหน้าเรียนหนังสือที่ไม่ตอบปัญหาเลยสักนิดว่าเมื่อพ้นวัยมา จะหาเลี้ยงชีพด้วยอาชีพอะไร
สิ่งเหล่านี้เป็นรากฐานสำคัญสำหรับการประกอบอาชีพในอนาคตของเด็กเหล่านี้ รวมไปถึงการเลือกเข้าศึกษาในระดับอุดมศึกษาในขั้นตอนถัดไป เพราะการศึกษาในระดับเตรียมอุดมไม่ได้เปิดกว้างให้เด็กมองเห็นเส้นทางในการใช้ชีวิตในช่วงชีวิตถัดไปมากเท่าที่ควร
ทั้งหมดทั้งมวลนี้ทำให้ทางเลือกในการประกอบวิชาชีพของเด็กเหล่านี้ลดน้อยลง ซึ่งเป็นผลมาจากพื้นฐานการศึกษาที่ทำให้พวกเขาไม่สามารถเลือกสอบแข่งขันเพื่อเข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยที่ตนเองต้องการได้ เมื่อจบออกมาแล้วก็เกิดปัญหาว่าเรียนในสิ่งที่ไม่ชอบมา หรือเรียนเพื่อเอาใบปริญญาออกมาให้ครอบครัวได้ภูมิใจเพียงเท่านั้น ไม่ได้นำความรู้ที่ได้รับมาพัฒนาต่อยอดในสายอาชีพที่เรียนมา
ถึงแม้ว่าทางรัฐบาล จะมีนโยบายสาธารณะและนโยบายต่างๆ ที่เน้นพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในทุกมิติและทุกช่วงวัยมาตลอด 4 ปีที่ผ่านมาตามแผนการ “ไทยนิยม ยั่งยืน” แล้วก็ตามที แต่จากผลลัพธ์ที่ผ่านมากลับไม่เห็นท่าทีว่าคุณภาพการศึกษาจะเดินหน้าไปถึงไหนเลย กลับย่ำถอยหลังลงคลองเสียด้วยซ้ำ ทั้งๆที่การศึกษาถือเป็นต้นทุนสำคัญที่สุดที่มนุษย์จะพึงมี อนาคตของเด็กไทยในทุกวันนี้จึงยังดูมืดมน ในสังคมการศึกษาที่ความรู้ที่ควรจะพึงมี ขาดหายไปถึงเกือบ1ใน 3 ของจำนวนเวลาทั้งหมดที่ลงทุนไป
แม้ทุกวันนี้จะมีการเรียนการสอนที่หนักขึ้นสักแค่ไหนก็ตาม เด็กบางคนวันหยุด เสาร์-อาทิตย์ ก็ยังต้องดิ้นรนไปเรียนพิเศษเพิ่มเติม โดยที่ไม่รู้เลยว่าในอนาคตอยากจะประกอบอาชีพหรือดำรงชีวิตอย่างไร สิ่งนี้คงนับได้ว่าเป็นความล้มเหลวของระบบการศึกษาที่ให้ความสำคัญกับ “ความจำ” มากกว่า “ความคิด”
อ้างอิง : https://www.bbc.com/thai/thailand-45891236?ocid=socialflow_facebook
เรียนตั้งแต่ 08:00 น.- 17:00 น. นี้ไม่รวมเรียนพิเศษตอนเลิกเรียน พิเศษเสาร์ - อาทิตย์ ขนาดประเทศบ้างประเทศในอาเซียนยังเรียนแค่ครึ่งวัน และนักเรียนต้องได้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลัก แต่ดูประเทศไทยสิสอนก็สอนน้อย แต่งานครูกับงานประเมินโรงเรียนเยอะยังกะอะไร
26 ต.ค. 2561 เวลา 13.20 น.
ไปดูงานการศึกษาต่างประเทศ ก็มาก แต่กลับมา ก็ทำอะไรไม่ได้ คุณภาพการศึกษาไม่ได้มาตรฐานทักเทียม
ชาติที่เจริญแล้ว เหตุก็เกิดความล้าสมัยของการศึกษาฉะนั้นต้องปรับปรุงหลักสูตร ความไม่จริงใจในการพัฒนาการศึกษา อย่างจริงจัง ต้องกำจัดการคดโกงให้หมดไป หากทำไม่ได้ มันก็เลยเป็นอย่างเห็น
26 ต.ค. 2561 เวลา 13.25 น.
jakrawan.s ข้อสอบออกนอกเหนือหลักสูตรมาก เผลอๆครูสอนในชั้นจะทำได้ถึง 60% รึเปล่าเถอะ
26 ต.ค. 2561 เวลา 13.44 น.
Boy พวกกังฉินไม่เคยสน ถ้าเด็กฉลาดอาจโตไปเป็นผู้ใหญ่ที่ฉลาด อาจทำให้ใช้เงินฟาดหัวได้ยากหรือต้องใช้เงินจำนวนมาก จึงปล่อยให้โง่ต่อไปจะได้ใช้เงินน้อยๆฟาดหัวได้ง่ายๆ
26 ต.ค. 2561 เวลา 13.09 น.
ปัน...นัน...รุต ถ้าระบบการเรียนการสอนยังเป็นแบบนกแก้วนกขุนทองก็คงต้องทำใจ อีกอย่างถ้าครูลายมือห่วยเด็กนักเรียนจะลายมือสวยได้ยังไง
26 ต.ค. 2561 เวลา 13.36 น.
ดูทั้งหมด