สุขภาพ

ปวดหูข้างเดียว เสี่ยงเป็นโรคอะไรได้บ้าง?

MThai.com - Health
เผยแพร่ 20 ก.ค. 2561 เวลา 04.00 น.
อาการปวดหูนี่ไม่เข้าใครออกใครจริงๆ โดยเฉพาะการ ปวดหูข้างเดียว สำหรับใครที่มีอาการแบบนี้บ่อยๆ ต้องหมั่นสังเกตตัวเองบ่อยๆ

อาการปวดหูนี่ไม่เข้าใครออกใครจริงๆ โดยเฉพาะการ ปวดหูข้างเดียว สำหรับใครที่มีอาการแบบนี้บ่อยๆ ต้องหมั่นสังเกตตัวเองกันด้วยนะคะ บางทีมันอาจจะเป็นสัญญาณเตือนที่บอกคุณว่า คุณอาจเข่าข่ายเสี่ยงต่อการเป็นโรคเหล่านี้อยู่ก็ได้

ปวดหูข้างเดียว

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

มดหรือแมลงเข้าหู

จะมีอาการปวดหูข้างเดียวรุนแรงเกิดขึ้นเฉียบพลัน (เช่น ขณะนอนอยู่เฉยๆ ก็มีอาการปวดหู) คนไข้จะรู้สึกว่ามีตัวอะไรอยู่ในหู หากสงสัยให้รีบเอาน้ำมันพืชหยอดหู แล้วพาไปพบแพทย์

ปวดหู เป็นโรคอะไรได้อีกบ้าง?

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

1. โรคหูชั้นกลางอักเสบเฉียบพลัน

จะมีอาการปวดหู หูอื้อ มักมีไข้สูงร่วมด้วย ส่วนมากจะเป็นหลังจากเป็นไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ ทอนซิลอักเสบ ออกหัด หรือโรคติดเชื้อในลำคอ เด็กเล็กอาจมีอาการไข้สูงร่วมกับร้องกวนดึก (เพราะเจ็บปวดในหู) และงอแง

2. หูชั้นนอกอักเสบ

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

มีอาการปวดหู เวลาดึงใบหูจะรู้สึกเจ็บมากขึ้น (หูชั้นกลางอักเสบเฉียบพลัน เวลาดึงใบหูจะไม่เจ็บมากขึ้น) อาจมีไข้หรือไม่ก็ได้ มักเป็นหลังใช้ไม้แคะหู หากสงสัยควรไปพบแพทย์รวดเร็ว

3. โรคเชื้อราในช่องหู

จะมีอาการหูอื้อ คันในช่องหูมาก บางครั้งมีอาการปวดหูร่วมด้วย เกิดจากมีเชื้อราขึ้นในช่องหู หากสงสัยให้ใช้ไม้พันสำลีซุบทิงเจอร์ใส่แผลสด (merthiolate) เช็ดหูวันละ 3-4 ครั้ง มักจะดีขึ้นใน 2-3 วัน หากไม่ทุเลา ควรไปพบแพทย์

4. ขี้หูอุดตันรูหู

จะมีอาการหูอื้อ และอาจปวดหูร่วมด้วย มักเป็นทันทีหลังเล่นน้ำ สระผม น้ำเข้าหู เนื่องจากขึ้หูอุ้มน้ำพองจนอุดรูหู คนไข้จะรู้สึกว่าเหมือนมีน้ำเข้าหู แต่ไม่ยอมหายนานเป็นวันๆ หากสงสัยควรรีบปรึกษาแพทย์

เมื่อไรควรไปพบแพทย์

  1. คนที่มีอาการปวดหู หูอื้อ และเป็นไข้ หรือสงสัยว่าเป็นโรคหูชั้นกลางอักเสบ ควรไปพบแพทย์ภายใน 24 ชั่วโมง

  2. คนที่มีอาการปวดหู หูอื้อ แต่ไม่มีไข้ และไม่สงสัยว่าเป็นโรคหูชั้นกลางอักเสบ ควรไปพบแพทย์ภายใน 2-3 วัน เพื่อตรวจหาสาเหตุให้แน่ชัด

วิธีดูแลตัวเอง

เมื่อมีอาการปวดหู หูอื้อ มีไข้ เกิดขึ้นหลังเป็นไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ ทอนซิบอักเสบ ออกหัด หรือเป็นโรคติดเชื้อในลำคอ พึงสงสัยว่าจะเป็นหูชั้นกลางอักเสบ ควรไปพบแพทย์ภายใน 24 ชั่วโมง ระหว่างที่รอพบแพทย์ อาจให้การรักษาขึ้นต้น ดังนี้

  1. กินยาแก้ปวดลดไข้-พาราเซตามอล

  2. กินยาปฏิชีวนะ ได้แก่ อะม็อกซีซิลลิน (amoxicillin) ขนาด 250 มก. วันละ 3 ครั้ง หลังอาหาร ผู้ใหญ่ครั้งละ 1-2 เม็ด เด็กโตครั้งละ 1 เม็ด เด็กเล็กใช้ชนิดน้ำเชื่อมครั้งละ 1-2 ช้อนชา

ถ้าเคยมีประวัติแพ้ยา (กินแล้วมีอาการลมพิษ ผื่นคัน หรือหายใจหอบ) ห้ามกินยานี้ และควรรีบไปพบแพทย์

ที่มา : www.doctor.or.th

ดูข่าวต้นฉบับ