ไลฟ์สไตล์

เหลือไว้เพียงชื่อ! ความทรงจำที่เลือนหาย กับตำนานที่จากลา : เสาร์นี้ในอดีต

LINE TODAY ORIGINAL
เผยแพร่ 05 พ.ย. 2564 เวลา 17.00 น. • O.J.

ในทุกวันรอบตัวเรามักมีเรื่องราวเกิดขึ้นมากมาย ไม่ว่าจะสุขสมหวัง โศกเศร้าเสียใจ โกรธแค้น ฯลฯ ซึ่งทั้งหมดจะถูกลำเลียงจัดเก็บอยู่ใน 'ความทรงจำ' ซึ่งอารมณ์ที่เกิดจากความรู้สึก ถึงจะถูกจัดเก็บแต่ก็ขึ้นอยู่กับตัวคุณว่าเลือกที่จะจดจำหรือปล่อยผ่านไป 

แต่ทว่าความทรงจำที่มาจาก 'สถานที่' แม้เพียงได้กลับไปเยือนที่นั้นโดยใช้เวลาไม่นาน ความทรงจำในอดีตก็จะหวนกลับมาหาให้คิดถึงเรื่องราวในอดีตเสมอ เหมือนเพลงท่อนหนึ่งของป๊อบ ปองกูลที่ส่วนหนึ่งร้องว่า'ภาพจำยังชัดเจน'

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

จากกรณีร้อนแรงในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมากับโรงภาพยนตร์ใจกลางกรุงอย่าง 'สกาลา' ต้องปิดตำนาน หลังตั้งอยู่ที่สยามมานานกว่า 54 ปี ซึ่งเชื่อว่าเป็นอีกหนึ่งสถานที่ทีมีความทรงจำเรื่องราวต่าง ๆ รวมถึงงานศิลปะที่ถูกถ่ายทอดผ่านสถาปัตยกรรมอันทรงคุณค่า

wikimedia

นอกจากนี้ยังเป็นสถานที่ที่มักปรากฏอยู่ในภาพยนตร์ อาทิ รักแห่งสยาม (2550) , บิ๊กบอย (2553) ตุ๊กแกรักแป้งมาก (2557) ฯลฯ ถือเป็นตัวแทนการถ่ายทอดความรู้สึก เรื่องราวของทุกคนที่ได้มาเยือน ณ แห่งนี้

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

สาร์นี้ในอดีต : จากเรื่องราวดังกล่าวทำให้หวนนึกถึงสถานที่ที่ต้องถูกรื้อถอน ไม่ว่าจะด้วยปัจจัยใดก็ตาม ถึงจะเหลือไว้เพียงความทรงจำ แต่เชื่อมันจะค่อย ๆ เลือนหายไปดุจว่าสิ่งนี้ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน 

ปิดตำนาน 'เขาดิน'

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

สถานที่ยอดฮิตอันดับต้น ๆ ของทุกเพศทุกวัย ซึ่งโรงเรียนต่าง ๆ มักพามาทัศนศึกษา กับสวนสัตว์กลางกรุงอย่าง สวนสัตว์ดุสิต หรือ เขาดินวนา หรือหลายคนมักเรียกว่า 'เขาดิน' 

เขาดิน ได้ก่อตั้งในช่วงปี พ.ศ. 2481 และปิดตัว พ.ศ. 2561 เนื่องด้วยสถานที่คับแคบ จำทำให้ต้องโยงย้ายไปตั้งในที่ใหม่ ซึ่งขณะนี้อยู่ในช่วงการก่อสร้างโดยตั้งบริเวณตำบลรังสิต อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี

เรียกได้ว่าเป็นสถานที่ที่ได้รวบรวมความฝันของเด็กทุกช่วงวัย และเก็บเกี่ยวประสบการณ์ ความรู้จากนอกห้องเรียน ถึงในปัจจุบันส่วนใหญ่จะสามารถเข้าถึงอินเตอร์เน็ตได้ แต่ความรู้สึกที่ได้รับจากการดูผ่านจอกับการสัมผัสสัตว์ตัวเป็นก็ย่อมต่างกัน ถึงจะปิดตัวลงไป แต่เชื่อว่าถ้าคุณลองคิดนึกถึงครั้งหนึ่งที่ได้วิ่งเล่นในสวนสัตว์ดุสิตครั้งนั้น คุณเองมีความสุขมากเพียงใด 

ปิดตำนาน 'ศาลาเฉลิมไทย' 

'เพราะฉันรักเธอ' ภาพยนตร์เรื่องสุดท้ายที่ได้ฉาย ! 

ไม่แน่ใจว่าผู้อ่านจะทันในยุคโรงภาพยนตร์ศาลาเฉลิมไทย ที่ตั้งอยู่ที่ ถ.ราชดำเนินกลางกับถ.มหาไชย ในยุคนั้น ซึ่งถูกสร้างขึ้นในช่วง พ.ศ. 2483 แต่สามารถเข้าชมครั้งแรกในช่วงปี พ.ศ. 2492 ซึ่งในช่วงระยะเวลาที่ได้ตั้งนั้นก็มีการปรับเปลี่ยนอยู่เสมอ จากโรงมหรสพสู่โรงภาพยนตร์

แต่แล้วตำนานก็ต้องปิดตัวลงเนื่องด้วยบดบังทัศนียภาพของโลหะปราสาท วัดราชนัดดา จึงถูกถูกรื้อถอนในช่วง พ.ศ. 2532 โดยมิติของ คณะรัฐมนตรีรัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ ท่ามกลางเสียงโต้แย่งของประชาชนในยุคนั้น ศาลาเฉลิมไทยใช้งบในการก่อสร้างประมาณ 1 ล้านบาท โดยผ่านจากออกแบบจาก อาจารย์ศิววงศ์ กุญชร ณ อยุธยา 

ทั้งนี้จอมพล ป.พิบูลสงคราม มีแนวคิดที่จะเนรมิตให้ถนนราชดำเนินกลางเป็นเหมือนย่าน ฌองส์เอลิเซ่ ที่ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งการออกแบบในยุคสนัยถือเป็นสถาปัตยกรรมที่มีความร่วมสมัย

ถ้าผู้อ่านทันในยุคศาลาเฉลิมไทยที่ยังคงฉายภาพยนตร์ เชื่อว่ากลิ่นอายในยุคนั้นน่าจะมีความโรแมนติกไม่มากก็น้อย เนื่องด้วยเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ผู้คนสามารถเข้าถึงสื่ออย่างภาพยนตร์ และเชื่อว่าเป็นครั้งแรกของหลายคนที่จะดูหนังจาก 'ศาลาเฉลิมไทย' 

ปิดตำนาน บ้าน 4 เสาเทเวศร์

ภาพ …สุดท้าย บ้านสี่เสาฯ ส่วนห้องนอน “ป๋า” ก่อน รื้อทุบ…..ราบ ..แล้ว วันนี้ . . การรื้อทุบ บ้านสี่เสาเทเวศร์ …

Posted by Wassana Nanuam on Monday, September 21, 2020

เหลือไว้เพียงแค่ชื่อ !

เมื่อให้นึกถึงแถวเทเวศร์มีอะไรที่เป็นจุดเด่น เชื่อว่าชื่อสถานที่แห่งนี้ต้องเป็นตำตอบของหลายคนนั้นคือ 'บ้าน 4 เสาเทเวศ' ถึงผู้คนอย่างเราไม่มีวันที่ได้สัมผัสเดินชมผ่านใน แต่ก็มักมีภาพเหล่านักการเมืองเดินทางเข้าออกสถานที่แห่งนี้อยู่บ่อยครั้ง เพื่อเข้าพบ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ อดีตประธานองคมนตรี และรัฐบุรุษ เนื่องด้วยเป็นที่พักตั้งแต่เข้ามารับตำแหน่ง 

หลังจาก พล.อ.เปรม ถึงแก่อสัญกรรม เมื่อ 26 พฤษภาคม 2562 บ้านหลังนี้ก็ไร้ผู้คน แต่แล้ววันที่ 21 ก.ย. 2563 สื่อทั้งโทรทัศน์และโลกออนไลน์ได้ต่างแชร์ข่าวที่ว่าบ้าน 4 เสาเทเวศร์ ได้ถูกรื้อถอนเหลือแต่เศษหิน เศษปูน เพียงเท่านั้น ส่วนข้าวของได้กลับไปยังที่บ้านเกิด 

สถานที่=คีย์เวิร์ดแห่งความทรงจำ 

อย่างที่เผยในช่วงต้นที่ว่า 'ภาพจำยังชัดเจน' ไม่ว่าจะมองไปทางไหนก็มักมีเรื่องราวความทรงจำซ้อนอยู่และมักถูกกระตุ้นเรื่องราวทื่เก็บอยู่ในส่วนของสมอง จนเกิดเป็นภาพในความทรงจำขึ้นมา ซึ่งพฤติกรรมนี้เรียกว่าทฤษฎีผูกยึดตามสถานการณ์ (contextual-binding theory)  คือการสืบค้นของสมองมนุษย์จากสิ่งที่เคยเผชิญมาไม่ว่าจะดีหรือร้ายก็ตามและขึ้นอยู่กับจิตใจว่าเลือกที่จำหรือลืมมันไป 

'ทั้งนี้เรื่องราวที่ได้หยิบยกมาในข้างต้น ล้วนเป็นความทรงจำของใครหลายคน แม้สถานที่นั้นจะมีเรื่องที่น่าจดจำหรือไม่ก็ตาม แต่ลึก ๆ ของจิตใจก็ยังคงคำนึงถึงอดีตครั้งที่เราได้สัมผัส ประสบพบเจอ รวมถึงสิ่งที่สะท้อนผ่านสถาปัตยกรรมของวัตถุของสังคมในยุคนั้นและคุณค่าทางประวัติศาสตร์ ถึงจะต้องปิดตำนานลงไปแต่ความทรงจำก็ยังคงอยู่ '

อ้างอิง 

wikipedia

silpa-mag.com

manphoppra.com

khaosod

onceinlife

ความเห็น 11
  • ไตรลักษณ์คืออนิจจังความไม่เที่ยงแท้ ทุกขังทุกอย่างบนโลกเป็นแต่เรื่องความทุกข์ทั้งหมด อนัตตาความไม่มีตัวตน 3 อย่างนี้เป็นเรื่องจริงแท้แน่นอนในทุกๆเรื่อง
    30 พ.ย. 2564 เวลา 21.44 น.
  • Wacharapon
    ปล่อยไป.
    12 พ.ย. 2564 เวลา 16.22 น.
  • papa jar
    ไปดูหนังบ่อย ปูยี จักรพรรดิองค์สุดท้าย ดูมีพักครื่งด้วย เศร้าที่ มันจะหายไป ตามกาลเวลา
    08 พ.ย. 2564 เวลา 08.57 น.
  • Krung
    เสียดายทุกแห่ง ยกเว้นบ้านหลายเสา
    07 พ.ย. 2564 เวลา 08.45 น.
  • judies (taevisual)
    เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป วันหนึ่งใดๆล้วนสูญสลายไปเหมือนไม่มีอยู่จริง การฝืนการเปลี่ยนแปลงนั้นต้นเหตุมาจากผลประโยชน์ทั้งสิ้นไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม ฉันรู้สึกดีกับการมีสิ่งนี้อยู่ นี่คือประโยชน์แก่ตนเอง ฉันอยากปกป้องเอาไว้เพื่อให้เป็นประโยชน์ แก่คนรุ่นหลัง นี่คือทางอ้อม บางคนฝืนก็เพื่อปกป้องแนวคิดของตนเอง ไม่ให้ถูกทำลายลงเท่านั้น ผมไม่ใช่คนพุทธ แต่ผมคิดว่าคนพุทธควรจะปล่อยวางให้เป็น ทุกคนจะได้ไม่ทุกข์กับเรื่องที่ไม่จำเป็นต้องทุกข์ เพราะมันไม่เกิดประโยชน์อะไร let them be
    07 พ.ย. 2564 เวลา 05.50 น.
ดูทั้งหมด