เพื่อให้หายสงสัยผมจึงออกแบบการสอนใหม่ให้เน้นเรื่อง Mindset แทนที่จะรีบกระโดดไปอธิบายแนวทางการจัดการขยะเหลือทิ้งของอาหารตั้งแต่ต้นนํ้า กลางนํ้า จนถึงปลายนํ้า ที่บริษัทชั้นนำระดับโลกใช้ในการจัดการความยั่งยืน ผมใช้เวลาช่วงแรกขยี้ Mindset เรื่องความยั่งยืน เราทำทำไม ทำไมต้องช่วยกันทำ ถ้าไม่ทำโลกจะเดือดขึ้นมากแค่ไหน ใครเป็นคนทำให้โลกเดือด และใครจะได้รับผลกระทบมากที่สุด เมื่อเราเข้าสู่ยุคแห่งความหายนะนั้น
ผลปรากฏว่า น้อง ๆ นักศึกษาพอจุดติด ต่างสนใจเรื่องการปลดปล่อยคาร์บอนกันมาก หลายคน Download แอป Net Zero Man แล้วคำนวณคาร์บอนตัวเองทันที และส่วนใหญ่บอกว่าคำนวณแล้วเกิน 2 ตันต่อปีทุกคน แถมมีคำถามมากมายเรื่องการลดคาร์บอน ทำอย่างไรจะลดคาร์บอนได้บ้าง การลดการบริโภคต่าง ๆ ทั้งของกิน ของใช้ และการจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ พอเพียง ตลอดห่วงโซ่ เป็นเรื่องสำคัญในการลดคาร์บอนจำนวนมาก และสามารถรักษาทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้คนรุ่นเขาใช้ได้นาน และสุดท้ายมีการช่วยกันคิดเรื่องโครงการ Offset Carbon …น้อง ๆ ทำความเข้าใจเรื่อง “รู้ ลด ชดเชย” คาร์บอน แล้วนำไปเชื่อมโยงเรื่องการจัดการต่าง ๆ เช่นการจัดการ Food Waste
ผมได้คำตอบแล้วว่า น้อง ๆ รุ่นใหม่ ที่เราเรียกว่า Gen S … Generation Sustainability สนใจเรื่องความยั่งยืนกันมาก พร้อมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และกล้าเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงเพื่อความยั่งยืน อยู่ที่ครูบาอาจารย์ ผู้บริหาร และผู้ใหญ่ที่ดูแลเรื่องการจัดการการศึกษาจะใส่ใจเรื่องนี้แค่ไหน … ที่ BUBUS ม.กรุงเทพ เป็นตัวอย่างที่ดีที่อาจารย์ใส่ใจให้ความรู้ด้านความยั่งยืนกับนักศึกษา โดยนำผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์จริงมาเติมเต็มในห้องเรียน.