เป็นที่ถกเถียงกันอย่างมากมาย รวมไปถึงการเรียกร้องสิทธิ์ขั้นพื้นฐานว่า ‘ผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ’ สามารถบวชเป็นพระได้หรือไม่ ?
วันนี้เราเริ่มจากการดูนิยามของข้อห้ามในการบวชกันก่อน
“ปณฺฑโก ภิกฺขเว อนุปสมฺปนโน น อุปสมฺปาเทตพฺโพ”
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนุปสัมบัน คือ บัณเฑาะก์ ภิกษุไม่พึงให้อุปสมบท ที่อุปสมบทแล้วต้องให้สึกเสีย
ซึ่งหากจะแปลจากความหมายตรง ๆ แล้ว ในพระพุทธศาสนานั้นไม่อนุญาตให้ ‘บัณเฑาะก์’ บวชพระ ซึ่งหากเจอว่าอุปสมบทไปแล้วก็ต้องให้สึก
แล้วบัณเฑาะก์คือคนประเภทไหน?
บัณเฑาะก์ หมายถึง ‘บุคคลมีอวัยวะเพศเป็นช่องสำหรับถ่ายซึ่งระบุเพศไม่ได้’ และบัณเฑาะก์นั้นมีถึง 5 ประเภท แบ่งออกเป็น
1. อาสิตตบัณเฑาะก์ คือ ชายที่อมอวัยะเพศของชายอื่น
2. อุสุยยบัณเฑาะก์ คือ ชายที่ชอบพอใจในการดูกิจกรรมร่วมเพศระหว่างชายกับชาย
3. โอปักกมิยบัณเฑาะก์ คือ บุคคลที่ถูกตอน เช่น ขันที
4. ปักขบัณเฑาะก์ คือ บัณเฑาะก์ในช่วงข้ามแรม แต่ช่วงข้างขึ้นไม่เป็น
5. นปุงสกัปบัณเฑาะก์ คือ ผู้มีความบกพร่องทางเพศสภาพ คือไม่ปรากฏเพศที่แน่ชัด
สิ่งที่น่าสนใจคือมีการระบุว่าบัณเฑาะก์ประเภท 1 อาสิตตบัณเฑาะก์ และประเภท 2 อุสุยยบัณเฑาะก์ นั้นสามารถบวชได้ ส่วนประเภทที่ 4 ปักขบัณเฑาะก์นั้นสามารถบวชได้ในวันที่ไม่ได้มีกำหนัด ส่วนบัณเฑาะก์ประเภทที่ไม่สามารถบวชได้คือ ประเภทที่ 3 และ 5 คือบุคคลที่ถูกตอน หรือมีความบกพร่องทางเพศสภาพ, อ้างอิงณัฐพงศ์ ดวงแก้ว
แต่สิ่งที่ทำให้ต้องพูดถึงนิยามของคำว่า บัณเฑาะก์ นั้น ก็เป็นเพราะว่า บัณเฑาะก์ ถูกใช้เป็นคำแทนกะเทย หรือคนที่มีความหลากหลายทางเพศในปัจจุบัน จึงทำให้เกิดคำถามว่า กะเทยสามารถบวชพระได้หรือไม่?
ในปัจจุบันมีการเรียกร้องของกลุ่มผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ ซึ่งไม่ใช่เพียงแค่กลุ่มของชายรักชาย แต่มีความหลากหลายทางเพศอื่น ๆ อีกมากมายที่อยู่ในสังคม
โดยในทุก ๆ รูปแบบของเพศที่มีในสังคม ก็ต้องการการยอมรับอย่างเท่าเทียมเหมือนกันกับเพศหญิงและชายที่ถูกยอมรับในปัจจุบัน และเรื่องการบวชพระจึงเป็นประเด็นถูกหยิบมาเป็นข้อเรียกร้องด้วยนั่นเอง
เรื่องของนิยามผู้ที่ห้ามบวชพระตามกฎของพระสงฆ์ที่ใช้คำว่าบัณเฑาะก์หากตีความแบบไม่ได้มีอคติจนเกินไป อาจจะพูดได้ว่า เราไม่สามารถใช้ ‘รสนิยมทางเพศ’ ของคนในปัจจุบันเพียงอย่างเดียวมาตัดสินว่าใครควร หรือไม่สมควรบวชพระได้ แต่ต้องรวมไปถึงปัจจัยอื่น ๆ
อีกทั้งการถกเถียงนั้นอาจจะต้องมาตรฐานในการถกเถียงที่เป็นกฎเกณฑ์เดียวกันว่าสิทธิทางสังคมและการเมือง เท่ากับ สิทธิของสงฆ์หรือไม่อีกด้วย หากถกกันคนละประเด็นก็ไม่ได้เกิดบทสรุปที่เหมาะสมอยู่ดี
สุดท้ายการบวชเป็นพระ ที่บอกว่าต้องใช้ใจเป็นหลักนั้นทำไมถึงมีอคติกับคนบางกลุ่มจนมองว่าไม่สมควรเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของพระพุทธศาสนา ในขณะที่ปัจจุบันก็แสดงให้เห็นอยู่มากมายว่าคุณสมบัติเป็นเพียงด่านแรกที่ไม่สามารถพิสูจน์และรักษาความผุดผ่องอะไรได้เลย
ขอบคุณข้อมูลจาก
ต 1. การบวชไม่ใช่สิทธิขั้นพื้นฐาน อย่าเอาแนวคิดตะวันตกมากเคลมทุกอย่าง แต่ละวงการมีกฎเกณฑ์ที่ต่างออกไป
2. ไปดูต้นบัญญัติของวินัยข้อนี้ แล้วจะเข้าใจว่าทำไมถึงห้าม ดูที่เหตุเป็นตัวตั้ง ไม่ใช่เอาผลมาเป็นตัวตั้ง
3. บัณเฑาะว์ 5 ประเภท ถูกอธิบายโดยอาจารย์ในรุ่นหลังว่าแบบไหนบวชได้บวชไม่ได้ ไม่ได้มาจากพระพุทธเจ้าโดยตรง
23 ก.พ. 2565 เวลา 00.31 น.
SA ดูวัตถประสงค์คนที่จะบวชก่อน ปกติก็เพื่อที่จะฝึกการละทิ้งอัตตา ตัวตน จนขั้นปรมัตถ จิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้งจึงเห็นว่าทุกสิ่งไม่ใช่ตัวตน
ถ้ากะแค่เริ่มจะเข้าบวช ยังอยาก claim ให้เรียกเพศสภาพว่าเป็นเพศนู่นนี่นั้น แบกอัตตาตามไปด้วยเยอะแยะรุงรัง ก็ไม่ได้ฝึกการละทิ้งอัตตาแล้วหรือเปล่า แล้วสรุป จะอยากเป็นผู้หลากหลายทางเพศ หรือเป็นผู้บวชธรรมดาๆ แค่ปล่อยวางเป็นเพศตาม physical ปกติ ก็บวชได้แล้วไง
22 ก.พ. 2565 เวลา 17.26 น.
Cherry พระบัญญั ชัดเจน ห้าม บัณเฑาะก์ บวช!!!
แค่เคารพ กฏ ข้อห้าม ยังทำไม่ได้...จะเข้าไปบวชเพื่ออะไร?
23 ก.พ. 2565 เวลา 04.18 น.
เกี๋ยง88 มัน มี ทาง เลือก......ไม่ ใช่ ต้อง บวช อย่าง เดียว.....
ถือ ศีล นุ่ง ขาว ห่ม ขาว......ยัง ได้ บุญ มาก กว่า....
เริ่ม ต้น ก้ ไม่ ยอม รับ พุทธบัญญัติ แล้ว...
ถ้า ห่ม จี วร จะ ปฏิ บัติ ได้ เหรอ
23 ก.พ. 2565 เวลา 06.45 น.
ป ป เอาเป็นว่ามาตั้งต้นกันก่อน จะบวชเพื่ออะไรหรือ
มันดีอย่างไร แล้วจะได้อะไร ทำไมถึงอยากจะบวช
22 ก.พ. 2565 เวลา 18.13 น.
ดูทั้งหมด