ไลฟ์สไตล์

6 สัญญาณเตือนหนึ่งเดือนล่วงหน้า ก่อนหัวใจวายเฉียบพลัน!!

AKERU
อัพเดต 23 ม.ค. 2563 เวลา 23.33 น. • เผยแพร่ 23 ม.ค. 2563 เวลา 23.33 น.
ทราบหรือไม่ว่าสาเหตุหลักของการเสียชีวิตในสหรัฐอเมริกาคื …

ทราบหรือไม่ว่าสาเหตุหลักของการเสียชีวิตในสหรัฐอเมริกาคือโรคหัวใจวาย ? ทั้งวิถีการใช้ชีวิต ความเครียด และอาหารจังก์ฟู้ด ก็เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดความเจ็บป่วย และอันตรายต่อร่างกายในหลาย ๆ ปีที่ผ่านมา

การดำเนินชีวิตด้วยการมีสุขภาพที่ดี และพยายามลดความเครียดในชีวิตของคุณ  สามารถช่วยป้องกันการเกิดโรคหัวใจล้มเหลวได้ นอกจากนี้ยังมี 6 อาการที่คุณควรรู้ เพราะมันส่งสัญญาณเตือนว่าคุณมีแนวโน้มหัวใจล้มเหลว

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง
หัวใจวาย1

healthymagic365,Daily Express

1.เหนื่อยล้า อิดโรย

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

เมื่อหลอดเลือดแดงตีบ หัวใจก็จะได้รับเลือดน้อยลงกว่าที่เคย หัวใจก็จะทำงานหนักขึ้นกว่าปกติ ดังนั้นคุณก็จะรู้สึกเหนื่อยล้ากว่าปกติ

2.หายใจถี่

เมื่อเลือดไปเลี้ยงหัวใจน้อย นั่นก็หมายถึง ปอดของคุณไม่สามารถรับออกซิเจนอย่างเพียงพอได้ตามปกติ ทั้งสองระบบจะขึ่นอยู่กับเพียงอย่างใดอย่างหนึ่งโดยที่ไม่มีอีกระบบหนึ่งไม่ได้ ดังนั้นหากรู้สึกว่ามีปัญหาในการหายใจ ก็ควรรีบปรึกษาแพทย์ให้เร็วที่สุด เพราะนั่นหมายถึงเวลาที่หัวใจของคุณใกล้จะล้มเหลว

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

3. หมดแรง

เมื่อใดก็ตามที่คุณรู้สึกหมดแรง นั่นก็อาจเป็นเพราะหลอดเลือดแดงตีบ ไม่สามารถไหลเวียนเลือดได้อย่างปกติ สิ่งนี้ส่งผลให้กล้ามเนื้อของคุณไม่สามารถใช้งานได้ดีดังเดิม มันอาจจะดูเหมือนไม่เป็นอะไรในตอนแรก แต่นี่แหละค่ะ คือสิ่งที่ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ

หัวใจวาย4
หัวใจวาย3

Providr,AARP Blog

4.วิงเวียนศีรษะ และเหงื่อออก

และเมื่อเลือดไหลเวียนไม่ดี มันก็จะไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ ซึ่งถือว่าอันตรายมาก ๆ ถึงชีวิต ซึ่งหากคุณมีอาการปวดศีรษะร่วมกับเหงื่อออกก็ไม่ควรละเลยที่จะไปพบแพทย์

5.เป็นไข้หวัดใหญ่

โรคไข้หวัดใหญ่ไม่ใช่เรื่องเล่น ๆ เพราะไวรัสไข้หวัดใหญ่ทำให้เกิดการติดเชื้อและส่งผลกระทบต่อการไหลเวียนโลหิต ทำให้เลือดแข็งตัว ไม่สามารถไปเลี้ยงหัวใจ อาจทำให้หัวใจวายได้

6.แน่นหน้าอก

หากคุณมีอาการแน่นหน้าอก ต้องระวังมากๆ เพราะหากเจ็บหน้าอกมากขึ้นเรื่อย ๆ อาจมีความเสี่ยงทำให้หัวใจวายเฉียบพลันได้นั่นเอง

หัวใจวาย2

หมั่นสังเกตตนเองและคนรอบข้าง หากมีอาการเหล่านี้ก็ไม่ควรนิ่งนอนใจเข้ารับการรักษาและดูแลร่างกายของตนเองให้แข็งแรงกันเถอะค่ะ

ดูข่าวต้นฉบับ
ความเห็น 7
  • PanittaRosjanapradit
    ดีคะ เป็นประโยชน์มากๆ
    02 ก.ย 2560 เวลา 18.58 น.
  • Ni Korn
    ขอบคุณครับ
    02 ก.ย 2560 เวลา 21.09 น.
  • ดีคะได้ความรุ้มาก
    02 ก.ย 2560 เวลา 19.22 น.
  • Siwaporn Sitisara
    ขอบคุณมากค่ะ
    02 ก.ย 2560 เวลา 20.14 น.
  • Aekrin Peaceful 陳光華
    ขอบพระคุณมากครับ
    02 ก.ย 2560 เวลา 21.35 น.
ดูทั้งหมด