ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

คนไทย21ล้านคนมีหนี้ 3ล้านคนเป็นหนี้เสีย กู้ซื้อรถมากสุด

Money2Know
เผยแพร่ 20 เม.ย. 2562 เวลา 10.30 น. • money2know - เงินทองต้องรู้

ธปท.เผยคนไทยเป็นหนี้เยอะขึ้นเท่าตัว สัดส่วนขยับขึ้นเป็น 30% ของประชากร หรือ 21 ล้านคน 16% เป็นหนี้เสีย แถมเป็นหนี้ตั้งแต่อายุยังน้อย คนอายุ 30 ปีครึ่งหนึ่งเป็นหนี้ และ 20% เป็นหนี้เสีย 

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) รายงานสถานการณ์หนี้ครัวเรือนในประเทศ พบว่าคนไทยเริ่มเป็นหนี้กันตั้งแต่อายุยังน้อย เนื่องจากประชากรที่มีอายุ 30 ปี กลุ่มคนเหล่านี้ตกอยู่ในสถานภาพการเป็นลูกหนี้ถึง 50% ซึ่งส่วนใหญ่เป็นหนี้บัตรเครดิต และสินเชื่อส่วนบุคคล ขณะที่คนกลุ่มอายุ 29 ปี 20% ของคนกลุ่มหนี้เป็นหนี้เสีย

จากข้อมูลช่วงปี 52-59 พบว่าประชากรไทยมีปริมาณหนี้ต่อหัวพุ่งขึ้นเกินเท่าตัว ซึ่งปี 52 หนี้ต่อหัวเฉลี่ยอยู่ที่ 70,000 บาท/คน แต่ปี 59 ปรับขึ้นเป็นเฉลี่ยอยู่ที่ 150,000 บาท/คน

นอกจากนี้จำนวนประชากรในประเทศที่ตกอยู่ในสภาวะการเป็นลูกหนี้มีจำนวน 21 ล้านคน หรือคิดเป็น 30%ของจำนวนประชากรทั้งประเทศ โดย 3 ล้านคนหรือคิดเป็น 16% ของผู้มีหนี้ เป็นคนที่มีหนี้เสียหรือหนี้ที่มีระยะเวลาค้างชำระนานกว่า 90 วัน

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

จากการเปิดเผยข้อมูลของธนาคารพาณิชย์พบว่าหนี้ครัวเรือนในประเทศไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยเฉพาะสินเชื่อรถยนต์พุ่งทะยานสูงขึ้นเป็นอัดนดับ 1 แซงหน้าสินเชื่อที่อยู่อาศัย

โดยเฉพาะสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ที่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นเป็นอันดับ 1 ถ้านับตั้งแต่ไตรมาส 4 ของปี 58 จนถึงไตรมาส 4 ของปี 61 สินเชื่อรถยนต์มีการขยายตัว 12.6% นับเป็นการขยายตัวสูงสุดตั้งแต่ไตรมาส 1 ปี 57 และยังเป็นการขยายตัวต่อเนื่องมาตั้งแต่ช่วงไตรมาส 4 ของปี 59

ส่วนอันดับที่ 2 คือสินเชื่อส่วนบุคคลที่ไตรมาส 4 ของปี 61 มีการขยายตัว 10.1% โดยเป็นการขยายตัวต่อเนื่องมาตั้งแต่ช่วงไตรมาส 1 ของปี 60 ที่ขณะนั้นอยู่ในระดับ 3.7% อย่างไรก็ตามการขยายตัวของสินเชื่อส่วนบุคคลเคยพุ่งสูงสุดในช่วงไตรมาส 1 ของปี 57 ที่ 19%

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

อันดับที่ 3 คือสินเชื่อที่อยู่อาศัยโดยไตรมาส 4 ของปี 61 มีอัตราการขยายตัว 7.8% ขยายตัวต่อเนื่องมาจากไตรมาส 3 ของปี 61 ที่ 6.4% โดยสินเชื่อที่อยู่อาศัยเคยขยายตัวสูงสุดใน 4 ปีหลังคือช่วงไตรมาส 2 ของปี 57 ที่มีการขยายตัวถึง 13%

อันดับที่ 4 คือสินเชื่อบัตรเครดิตที่ไตรมาส 4 มีการขยายตัว 7.4% ลดลง 0.8% จากไตรมาส 3 ปี 61 ซึ่งก่อนหน้านี้ตั้งแต่ช่วงไตรมาส 2 ของปี 60 ถือว่ามีการขยายตัวต่อเนื่องมาโดยตลอด ซึ่งเพิ่งหดตัวลงในช่วงไตรมาส 4 ปี 61 และ 4 ปีหลังสุดสินเชื่อบัตรเครดิตเคยขยายตัวสูงสุด 14% ในช่วงไตรมาส 1 ปี 57

ดูข่าวต้นฉบับ
ความเห็น 11
  • พิสิษฐ์ พัฒน์ธนมงคล
    5ปีที่ห่วยแตกของพวกมึงบริหารแบบ ควา.ฯ
    21 เม.ย. 2562 เวลา 07.51 น.
  • James Jitt
    สันดานคนครับ เทวดามาบริหารก็จนดักดานครับ แถมชอบงอมืองอเท้ากันอีก ยิ่งไปกันใหญ่ อย่าโทษเศรษฐกิจครับ หัดดูสิครับว่าคนที่อยู่เศรษฐกิจเดียวกับเรา ทำไมเขาประสบความสำเร็จได้หรือเราควายกว่่าเขา โง่กว่าเขาครับ
    21 เม.ย. 2562 เวลา 03.12 น.
  • Audiomaker
    เอาไรมาก ขนาดรัฐบาลยังเป็นหนี้ท่วมหัวใช้เงินเกินตัวเลย
    21 เม.ย. 2562 เวลา 00.06 น.
  • สุสิมะ
    คนก็ไม่มีวินัยในการใช้เงิน รัฐบาลยังสนับสนุนให้เป็นหนี้ รถยนต์แทบไม่ต้องดาวน์ ส่งหนี้แปดปี ที่จอดรถยังไม่มี เงินเดือนหมื่นห้า จะรอดได้ไง
    20 เม.ย. 2562 เวลา 23.48 น.
  • บอลลูน🫰 유 볼링 🫶
    จะพูดอะไรยังไงก็ช่างสุดท้ายก็คือวงเวียนของธุรกิจ ถ้าไม่กำจัดที่ต้นตอก็ไม่มีวันหมดสิ้นไปได้ แต่ทำไม่ได้แล้วชอบไปแก้ไขที่ปลายเหตุ ทุกสิ่งย่อมมีที่มาให้พาไปทั้งนั้น ถ้าไม่เช้าใจจะยกตัวอย่าง ง่ายๆเรย คือ เหล้าเนี่ยะ รณรงค์ออกมาตรการมันทุกอย่างเห็นผลที่ตามมาร้ายแรงแค่ไหนก็ไม่เห็นหมดเหตุสักที ทำไมไม่เลิกขายไปเรยล่ะต้นเหตุของเรื่อง ทำไมเลิกไม่ได้เพราะอะไร ไม่ต้องพูด แค่ไม่ขายก็หยุดทุกอย่างที่ตามมาได้แล้ว ลองไม่มีขายหมดทั้งประเทศดูสิมันจะหาที่ไหนแต่ที่ตามมาก็ไม่ต้องมีรถชน ทะเลาะวิวาท ตั้งกฏหมายต่างๆอีก
    20 เม.ย. 2562 เวลา 23.44 น.
ดูทั้งหมด