ไลฟ์สไตล์

โรดแมปเลิกใช้พลาสติก 7 ชนิด ในปี 2025 อาจทำให้ผลิตภัณฑ์ทดแทนราคาสูงขึ้น 1 เท่าตัว

BLT BANGKOK
อัพเดต 23 เม.ย. 2562 เวลา 11.23 น. • เผยแพร่ 23 เม.ย. 2562 เวลา 11.19 น.

ขยะพลาสติกในไทยมีประมาณปีละมากกว่า2 ล้านตันซึ่งในจำนวนนี้เกือบครึ่งเป็นขยะที่ถูกทิ้งลงสู่ทะเลและทิ้งมากที่สุดเป็นอันดับ6 ของโลกส่งผลให้รัฐบาลออกมาตรการลดและยกเลิกการใช้พลาสติกเพื่อลดปริมาณขยะภายในประเทศแต่ก็อาจส่งผลให้ราคาผลิตภัณฑ์ที่ขายตามท้องตลาดสูงขึ้นจากการเปลี่ยนไปของบรรจุภัณฑ์แบบใหม่ที่ใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อม
ขยะพลาสติกถูกทิ้งลงสู่แหล่งน้ำทั่วโลกปีละประมาณ8 ล้านตันโดยไทยติดอันดับ6 ของประเทศที่ทิ้งขยะพลาสติกลงสู่ทะเลมากที่สุดในโลก ซึ่งOcean Conservancy องค์กรไม่แสวงหากำไรที่ศึกษาเรื่องการรักษาทรัพยากรทางทะเลคาดการณ์ว่าขณะนี้มีขยะพลาสติกไหลเวียนอยู่ในมหาสมุทรทะเลและแหล่งน้ำทั่วโลกถึงกว่า150 ล้านตันสะสมต่อเนื่องจากปี1950 ซึ่งปริมาณขยะดังกล่าวมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นอีกจากการจัดการขยะมูลฝอยที่ไม่ได้ประสิทธิภาพและอัตราการนำพลาสติกไปรีไซเคิลที่ต่ำโดยเฉพาะในประเทศกำลังพัฒนาเป็นผลให้ขยะพลาสติกจำนวนมากไหลลงแหล่งน้ำออกสู่ทะเลและมหาสมุทรในที่สุด 
สำหรับประเทศไทยกรมควบคุมมลพิษคาดการณ์ว่าขยะพลาสติกในไทยมีประมาณปีละมากกว่า2 ล้านตันคิดเป็น12% ของปริมาณขยะมูลฝอยทั้งหมดถึงแม้ว่าบางส่วนจะถูกกำจัดหรือนำกลับไปใช้ประโยชน์แต่ก็มีอีกราว1 ล้านตันที่ถูกทิ้งลงสู่ทะเล 
ซึ่งจากการศึกษาของมหาวิทยาลัยจอร์เจียในปี2015 พบว่าประเทศไทยจัดเป็นอันดับ6 ที่ทิ้งขยะพลาสติกลงสู่ทะเลมากที่สุดรองจากจีนอินโดนีเซียฟิลิปปินส์เวียดนามและศรีลังกาซึ่งขยะพลาสติกของไทยที่พบได้มากที่สุดในทะเลได้แก่ถุง(13%) หลอด(10%) ฝาพลาสติก(8%) และภาชนะบรระจุอาหาร(8%)

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

รัฐบาลไทยตั้งเป้าเลิกใช้พลาสติก 7 ชนิด ภายในปี 2025
เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวรัฐบาลไทยจึงกำหนดเป้าหมายยกเลิกการใช้พลาสติกแบบใช้แล้วทิ้งจำนวน7 ชนิดภายในปี2025 ซึ่งคณะอนุกรรมการบริหารจัดการขยะพลาสติกได้พิจารณาแผนปฏิบัติการลดและเลิกการใช้ผลิตภัณฑ์พลาสติกประเภทใช้ครั้งเดียวทิ้ง(single-use plastic) จำนวน7 ชนิดโดยวางเป้าหมายเป็นช่วงเวลาระหว่างปี2019-2025 ดังนี้คือยกเลิกปี2019 ประกอบด้วย
1. Cap seal ฝาน้ำดื่มโดยปกติจะผลิตจากพลาสติก PVC ฟิล์ม  
2. ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของสารประเภท OXO ส่วนใหญ่มักจะผสมในพลาสติกประเภท HDPE และ LDPE 
3. Microbead จากพลาสติก 
ส่วนผลิตภัณฑ์ที่จะยกเลิกปี2022 ประกอบด้วย 
4. ถุงพลาสติกหูหิ้วขนาดความหนาน้อยกว่า36 ไมครอนซึ่งส่วนใหญ่ผลิตจากพลาสติก LLDPE  
5. กล่องโฟมบรรจุอาหาร 
ในส่วนของพลาสติกที่จะยกเลิกในปี2025 ได้แก่ 
6. แก้วพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง 
7. หลอดพลาสติก 
ซึ่งทั้งกล่องโฟมแก้วและหลอดพลาสติกบางส่วน ส่วนใหญ่จะผลิตจากพลาสติกประเภท polystyrene

ภาคเอกชนไทย เริ่มยกเลิกการใช้พลาสติกแล้วตั้งแต่ปี 2018
ในขณะที่ภาคเอกชนไทยบางส่วนได้เริ่มยกเลิกการใช้พลาสติกแล้วอาทิเครือ Anatara ที่เริ่มยกเลิกการใช้หลอดพลาสติกตั้งแต่วันที่1 ตุลาคม2018 เป็นต้นไปตามนโยบายลดขยะพลาสติกของโรงแรมนอกจากนี้ร้านกาแฟStarbucks ได้ประกาศเมื่อวันที่9 กรกฎาคม2018 ว่าจะเลิกใช้หลอดพลาสติกของในทุกสาขาภายในปี2020
ความต้องการ LLDPE  ของโลก มีแนวโน้มลดลง เมื่อเทรนด์การใช้พลาสติกเปลี่ยนไป
จากการกำหนดเป้าหมายยกเลิกการใช้พลาสติกทั้ง7 ชนิดพลาสติก LLDPE จะได้รับผลกระทบมากที่สุด  เนื่องจากถูกนำไปผลิตเป็นถุงพลาสติกและฟิล์มสำหรับบรรจุภัณฑ์กว่า55% ของการนำ LLDPE ไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์พลาสติกทั้งหมด
นอกจากนี้ LLDPE ยังเก็บเข้าสู่ระบบจัดการขยะยากเพราะ LLDPE เป็นพลาสติกประเภทฟิล์มที่มีความอ่อนตัวเป็นอุปสรรคต่อการกำจัดเนื่องจากพลาสติกอ่อนนี้สามารถเข้าไปติดอยู่ในล้อและเกียร์ได้ส่งผลเสียต่อเครื่องจักรสำหรับคัดแยกขวดกระป๋องและกระดาษในโรงงานแยกขยะอีกทั้งยังยากต่อการนำกลับมาผลิตใหม่เนื่องจากการนำไปใช้ครั้งแรกจะมีการพิมพ์ข้อมูลผลิตภัณฑ์และโลโก้บนบรรจุภัณฑ์ 
ซึ่งจากนโยบายลดและยกเลิกการใช้พลาสติกของไทยรวมถึงของต่างประเทศเช่นสหภาพยุโรปจีนและออสเตรเลียคาดว่าจะส่งผลให้ความต้องการใช้พลาสติก LLDPE มีแนวโน้มขยายตัวช้าลงจากที่เคยเติบโตราว5% ต่อปีระหว่างปี2010-2017 เหลือเพียง1% ต่อปี 

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ต้นทุนการผลิตพลาสติก จะมีแนวโน้มสูงขึ้น 1 เท่าตัว
เนื่องจากผู้ประกอบการต้องหาวัตถุดิบชนิดใหม่มาใช้ทดแทนพลาสติกของเดิมที่ถูกยกเลิกไปโดยจำเป็นต้องใช้งานได้เทียบเคียงวัสดุเดิมและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้นซึ่งอาจทำให้มีต้นทุนสูงขึ้นด้วยเช่นต้นทุนการผลิตหลอดพลาสติกที่สามารถย่อยสลายได้เองจะสูงกว่าต้นทุนหลอดพลาสติกแบบดั้งเดิมอยู่ราว1 เท่า 
ซึ่งนอกจากต้นทุนวัตถุดิบแล้วผู้ผลิตอาจต้องลงทุนในด้าน R&D เพื่อพัฒนาวัสดุที่เหมาะกับการใช้งานของผลิตภัณฑ์หรือบรรจุภัณฑ์ที่ต้องการจะผลิตเองอีกทั้งอาจต้องลงทุนในด้านการสื่อสารทางการตลาดเพื่อประชาสัมพันธ์ถึงคุณสมบัติโดยเฉพาะด้านสิ่งแวดล้อมของผลิตภัณฑ์อีกด้วย
การห้ามใช้ single-use plastic ยังสร้างโอกาสทางธุรกิจ ให้กับผู้ประกอบการรีไซเคิลพลาสติกประเภท PET 
เพราะเป็นพลาสติกประเภทนำมาผลิตใหม่ได้(re-material) เช่นพลาสติกประเภท PET ที่นำไปผลิตขวดน้ำดื่มพลาสติกสามารถนำไปผ่านกระบวนการ Depolymerization เพื่อให้แตกตัวเป็นโครงสร้างพื้นฐานหรือ monomer ซึ่งสามารถนำมาผลิตเป็น polymer เพื่อสร้างเป็นพลาสติกใหม่ได้หรือที่เรียกกระบวนการนี้ว่าRepolymerization 
โดยกระบวนการดังกล่าวจะทำให้ขวดน้ำพลาสติกถูกนำมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ได้อีกเป็น100 ครั้งการเก็บพลาสติกชนิดดังกล่าวกลับเข้าสู่กระบวนการผลิตใหม่หรือการนำมาใช้ซ้ำจึงสร้างโอกาสให้ทั้งผู้ผลิตพลาสติกPET รวมถึงธุรกิจรีไซเคิลพลาสติก PET ดังจะเห็นได้จากบริษัท Loop Industry, Inc. ซึ่งเป็นบริษัทจดทะเบียนในสหรัฐฯที่มีความชำนาญด้านการรีไซเคิลพลาสติก PET โดยมีนวัตกรรมของตัวเองในการผลิตพลาสติกโพรีเอสเตอร์เรซินที่มีความบริสุทธิ์สูงพอที่จะนำไปใช้ทำบรรจุภัณฑ์สำหรับอาหารทั้งนี้บริษัทอินโดรามาเวนเจอร์สผู้ผลิตพลาสติกรายใหญ่ของโลกได้ร่วมหุ้นกับบริษัทดังกล่าวผ่านบริษัทย่อยของตนในสหรัฐฯเพื่อตั้งบริษัท Indorama Loop Technologies, LLC โดยคาดว่าจะนำเทคโนโลยีดังกล่าวมาผลิตบรรจุภัณฑ์ให้แบรนด์สินค้าอุปโภคบริโภครายใหญ่ของโลกได้ราวไตรมาสแรกของปี2020

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ราคาผลิตภัณฑ์สูงขึ้น จากการเปลี่ยนไปผลิตบรรจุภัณฑ์แบบใหม่ที่ใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อม 
อีไอซี ธนาคารไทยพาณิชย์ เปิดเผยว่าในมุมมองของอีไอซีผู้ประกอบการควรรับมือกับการเปลี่ยนแปลงนี้ด้วยการผลิตพลาสติกที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเช่น bioplastic และเจาะตลาดบรรจุภัณฑ์ที่ใช้วัสดุอื่นทดแทนพลาสติก ปัจจุบันมีพลาสติกเพียงประเภทเดียวที่สามารถนำกลับมา re-material ใหม่ได้คือ PET ส่วนพลาสติกประเภทอื่นยังไม่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ดีเท่า PET ทำให้ผู้ผลิตปิโตรเคมีย่อมได้รับผลกระทบจากเทรนด์และมาตรการยกเลิกการใช้พลาสติก 
จึงนับว่าเรื่องนี้เป็นความท้าทายที่ผู้ประกอบการจะต้องหาวัตถุดิบเพื่อตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเช่น bioplastic ที่ทำมาจากอ้อยและมันสำปะหลังนอกจากนี้ผู้ประกอบการขึ้นรูปพลาสติกเพื่อผลิตบรรจุภัณฑ์ต้องเตรียมพร้อมรับมือกับต้นทุนที่อาจเพิ่มสูงขึ้น1 เท่าเป็นอย่างน้อยจากการเปลี่ยนไปผลิตบรรจุภัณฑ์แบบใหม่ที่ใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อม 
ทั้งนี้ต้นทุนที่สูงขึ้นอาจส่งผ่านไปยังผู้ซื้อได้บ้างเช่นผู้ซื้อในกลุ่มร้านอาหารที่ใช้หลอดกล่องใส่อาหารพลาสติกหรือร้านค้าปลีกที่ใช้ถุงพลาสติกซึ่งจะต้องรับมือกับราคาของบรรจุภัณฑ์จากวัสดุใหม่ที่สูงขึ้นเช่นกันอย่างไรก็ตามมาตรการดังกล่าวจะเป็นโอกาสให้ผู้ผลิตแบบ non-plastic เช่นกระดาษข้าวสามารถหาช่องทางในการเจาะเข้าสู่ตลาดบรรจุภัณฑ์อาหารได้เช่นถุงกระดาษใส่น้ำตาลหลอดที่ทำจากข้าวหรือกระดาษเป็นต้น  

ดูข่าวต้นฉบับ
ความเห็น 10
  • SUPARAK
    เห็นด้วยครับ...แต่ถ้าควบคุมการแยกและปรับปรุงขบวนการรีไซเคิลให้ดีพร้อม...น่าจะดีกว่าน่ะครับ
    25 เม.ย. 2562 เวลา 02.02 น.
  • เจ้หมวย
    เยี่ยม ดีมากๆคะโครงการนี้ แหละควรออกกฎหมายจับ ปรับ พวกที่ชอบทิ้งขยะเรี่ยราดทิ้งไม่เป็นที่เป็นทาง ให้หนักและเด็ดขาดด้วย
    24 เม.ย. 2562 เวลา 00.27 น.
  • กัญญา 1959
    เอาจริงซะทีเถอะ เพราะคนมีจิตสำนึกก็ทำ คนไม่มีจิตสำนึกรณรงค์ไปก็เหมือนเอาน้ำรดหัวตอ
    23 เม.ย. 2562 เวลา 23.45 น.
  • Phimmie
    สมัยก่อนใช้ปิ่นโตแทนกล่องโฟม/แก้วเซรามิก/จานเซรามิก/ใบตองห่ออาหารแห้ง/ใช้ที่กลัดไม้แทนหนังยางพลาสติก/ถ้าร่วมมือร่วมใจกัน รับรองว่า ทะเลจะใสสะอาดขึ้นและสัตว์น้ำไม่สูญพันธุ์แน่นอน ยอมนำไปล้างทำความสะอาดหน่อย แต่ดีจ่อโลกที่เราอยู่อาศัย
    23 เม.ย. 2562 เวลา 16.59 น.
  • เชษวินนิ่ง
    ผมเอากล่องไปใส่อาหารคนขายยังงงผมว่ารณรงค์ให้เขารู้จะดีมากครับ ปล ได้น้อยกว่าที่ขายปกติ
    23 เม.ย. 2562 เวลา 16.49 น.
ดูทั้งหมด