ทั่วไป

'ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์' สนับสนุน 'ซิโนฟาร์ม' แก่กลุ่มคนพิการ 5,000 คน

กรุงเทพธุรกิจ
อัพเดต 29 ก.ค. 2564 เวลา 09.29 น. • เผยแพร่ 29 ก.ค. 2564 เวลา 08.20 น.

วันนี้ (29 ก.ค. 64) วิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ นำโดย ศาสตราจารย์คลินิก แพทย์หญิงโฉมศรี โฆษิตชัยวัฒน์ อธิการบดีวิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ ศาสตราจารย์ แพทย์หญิงจิรพร เหล่าธรรมทัศน์ คณบดีคณะเทคโนโลยีวิทยาศาสตร์สุขภาพ รองศาสตราจารย์ ดร. ทัศนา บุญทอง คณบดีคณะพยาบาลศาสตร์

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

พร้อมทีมแพทย์ พยาบาลและบุคลากรจิตอาสา ร่วมกับกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์(พม.) โดยกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ (พก.) และเครือข่ายคนพิการอารยสถาปัตย์ บริษัท ธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์ จำกัด และ บมจ. แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (AIS) ลงพื้นที่ภาคสนามจัดกิจกรรมให้บริการฉีดวัคซีน "ซิโนฟาร์ม" สร้างภูมิคุ้มกันโควิด-19 ให้กับผู้พิการ จำนวน 5,000 ราย

พื่อเร่งสร้างภูมิคุ้มกันโควิด-19 ในกลุ่มเป้าหมายโดยเฉพาะกลุ่มเปราะบางผู้พิการ ณ ลานกิจกรรมชั้น 2 อาคารรัฐประศาสนภักดี (อาคารบี) ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ แจ้งวัฒนะ เขตหลักสี่กรุงเทพมหานคร ทั้งนี้ได้รับเกียรติจาก นายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และศาสตราจารย์ นายแพทย์นิธิ มหานนท์ เลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ให้เกียรติเข้าเยี่ยมศูนย์ฉีดวัคซีนฯในวันนี้ด้วย

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

 

ทั้งนี้ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ได้จัดสรรวัคซีน "ซิโนฟาร์ม" ที่ได้รับบริจาคมาจากหน่วยงานองค์กรต่างๆที่ได้รับการจัดสรรวัคซีนฯ ให้กับประชาชนกลุ่มเปราะบาง ผู้ด้อยโอกาส ผู้พิการ พระภิกษุและนักบวช รวมถึงประชาชนในชุมชนกลุ่มพื้นที่เสี่ยง พื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายที่จะได้รับการฉีดวัคซีนฯ โดยการฉีดวัคซีนในวันนี้ได้นำระบบการฉีดวัคซีนภาคสนามรูปแบบใหม่ที่ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ร่วมกันพัฒนากับ บมจ. แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (AIS) นำTablet และ Card Reader มาใช้ในการลงทะเบียนและบริหารจัดการข้อมูล

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง
  • บริการฉีดถึงที่ ไม่ต้องเดิน

โดยผู้รับบริการฉีดวัคซีนนั่งอยู่กับที่ตั้งแต่เริ่มต้นลงทะเบียนด้วยบัตรประชาชน วัดความดัน ฉีดวัคซีน และเฝ้าระวังอาการหลังฉีดจนเสร็จ ไม่ต้องเดินไปตามจุดต่าง ๆ ทั้งนี้ จะมีเจ้าหน้าที่ พยาบาล และแพทย์เป็นผู้ที่เดินให้บริการแก่ผู้มารับวัคซีนเอง ซึ่งเป็นระบบที่เคยนำมาใช้เมื่อครั้งลงพื้นที่ฉีด 'วัคซีนโควิด -19' ภาคสนามที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ทั้งนี้ ขอขอบคุณหน่วยงานทุกภาคส่วนที่ร่วมสานหัวใจแบ่งปันวัคซีน เพื่อให้ประชาชนได้รับวัคซีนสร้างภูมิคุ้มกันได้เร็วที่สุด ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการป้องกันและลดการแพร่ระบาดของโรคให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

นายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รมว.พม.) กล่าวว่า สำหรับวันนี้ ขอขอบคุณ บริษัทธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์ จำกัด กรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง สถาบันวิทยาลัยจุฬาภรณ์ การเคหะแห่งชาติ ภาคเอกชน และประชาชนทุกคน ที่ได้มาบูรณาการร่วมกันช่วยบริการในเรื่องของการฉีดวัคซีนโควิด-19 ให้กับสมาคมคนพิการทั้ง 7 สมาคม และผู้ถือบัตรคนพิการทุกคนจะได้ใช้สิทธิตรงนี้ สำหรับสถานที่และระบบ มีการจัดการที่ทำได้อย่างดีเยี่ยม ซึ่งตนมาตรวจเยี่ยมเพื่อมาดูให้ไม่มีข้อบกพร่อง หรือถ้ามีข้อบกพร่องจะได้นำไปแก้ไขปรับปรุง เพื่อบริการประชาชนให้ดีมากยิ่งขึ้น

 

"สิ่งที่อยากจะฝากไว้ คือวิกฤติโควิด-19 ครั้งนี้ เป็นวิกฤติที่สาหัส ขอเป็นกำลังใจให้กันและกัน รวมทั้งผู้อุปถัมภ์ทั้งหลาย ทุกคนทำเพื่อคนไทย ทำเพื่อประเทศไทย ตนขอขอบคุณในนามรัฐบาลอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งตนทราบมาว่ามีความต้องการให้เราขยายไปทุกจังหวัด และจะได้นำไปดำเนินการในต่างจังหวัดให้เป็น One Stop Service เพื่อบริการผู้ที่ยังไม่มีโอกาสได้ฉีดวัคซีนโควิด-19"  

"ทั้งนี้ ตนขอขอบคุณ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ รวมถึงกระทรวงสาธารณสุขที่ได้ดูแลในส่วนนี้ เราทุกคนทำงานอย่างเต็มที่ด้วยความสุจริตใจ สำหรับ วัคซีนโควิด-19 ไม่ได้ป้องกันการติดเชื้อ แต่ช่วยให้เราลดความเสี่ยงจากการเสียชีวิตหรือป่วยหนัก ดังนั้น หลังการฉีดวัคซีนโควิด-19 แล้ว ขอให้ทุกท่านยังคงรักษาระยะห่าง ล้างมือ ใส่หน้ากากอนามัย และตนขอให้ทุกคนอยู่ด้วยความไม่ประมาท ขอให้ปลอดภัยทุกท่าน" นายจุติ กล่าวเพิ่มเติม

ดูข่าวต้นฉบับ
ความเห็น 1
  • กฤตพงศ์
    โปร่งใสเปล่านะ....​
    29 ก.ค. 2564 เวลา 08.37 น.
ดูทั้งหมด