SMEs-การเกษตร

หนุ่มสิงห์บุรี เลี้ยงปูนาขาย ทำรายได้หลักล้าน

เทคโนโลยีชาวบ้าน
อัพเดต 16 ธ.ค. 2563 เวลา 04.25 น. • เผยแพร่ 16 ธ.ค. 2563 เวลา 04.25 น.

อำเภอค่ายบางระจัน เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดสิงห์บุรี ที่ตั้งอยู่ห่างจากตัวจังหวัด 25 กิโลเมตร ประชากรส่วนใหญ่ของอำเภอค่ายบางระจัน ประกอบอาชีพเกษตรกร ดั่งเช่น คุณปานศิริ ปาดกุล หรือ คุณตูมตาม ที่ผันตัวมาทำฟาร์มปู

ย้อนกลับไปเมื่อ 7 ปีที่แล้ว พ.ศ. 2556 คุณปานศิริ ปาดกุล วัย 22 ปี (คุณตูมตาม) ได้เกิดเหตุการณ์พลิกผันในชีวิตครั้งใหญ่ เมื่อคุณพ่อประสบอุบัติเหตุหนัก จึงทำให้คุณปานศิริ ต้องกลับมาที่บ้านเกิดเพื่อมาดูแลคุณพ่อที่จังหวัดสิงห์บุรี เนื่องด้วย คุณปานศิริ เกิดมาในครอบครัวที่ค่อนข้างยากจนและมีหนี้สิน หลังจากที่คุณพ่อประสบอุบัติเหตุก็ไม่สามารถทำงานได้ ทำให้ในช่วงนั้นครอบครัวไม่มีรายได้เข้ามา ประจวบเหมาะกับช่วงนั้น คุณปานศิริ อยากกินปู แต่ใน จังหวัดสิงห์บุรี หาปูกินค่อนข้างยาก ทำให้คุณปานศิริ เกิดความคิดที่อยากจะทำฟาร์มปูเป็นของตนเอง โดยเริ่มศึกษาข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต ทั้งเรื่องสายพันธุ์ปู การเลี้ยงดู และตลาดที่รองรับปูในแต่ละสายพันธุ์ ลองผิดลองถูก เริ่มจากเลี้ยงปูนา มาทดลองสายพันธุ์ดูว่า แต่ละสายพันธุ์มีความแตกต่างกันอย่างไรบ้าง จนท้ายที่สุดแล้ว คุณปานศิริ ก็ได้เลือกปูนาสายพันธุ์กำแพง และเริ่มมองเป็นอาชีพ จากสิ่งที่ตนเองชอบ

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

“ถ้าทำฟาร์มปูก็น่าสนใจนะ ลงทุนไม่สูง ได้ผลผลิตไว มีรายได้เข้ามาในทุกๆ เดือน และด้วยที่ในอำเภอค่ายบางระจัน ยังไม่มีผู้ที่ทำฟาร์มปูนา อาจเป็นอาชีพอีกหนึ่งอย่างที่เราสามารถหารายได้เพื่อดูแลครอบครัวได้”

คุณปานศิริ บอกว่า เนื่องจากคุณพ่อประสบอุบัติเหตุ ทำให้ต้องเป็นเสาหลักให้แก่ครอบครัว เมื่อมองหาช่องทางของอาชีพในการทำฟาร์มปูแล้ว จึงได้ศึกษาข้อมูลต่างๆ เพิ่มมากขึ้น ทั้งในอินเตอร์เน็ต และผู้ที่ประสบความสำเร็จในการทำฟาร์มปู คุณปานศิริ จึงเริ่มต้นจากการทำฟาร์มปูนาสายพันธุ์กำแพง และค่อยๆ ขยับขยายฟาร์มให้ใหญ่ขึ้น มีหลายบ่อขึ้น และมีปูหลากหลายสายพันธุ์มากขึ้น

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ปัจจจุบัน คุณปานศิริ มีฟาร์มปูเป็นของตนเอง โดยประสบความสำเร็จมากว่า 7 ปี

คุณปานศิริ กล่าวว่า เหตุผลที่เลือกเพาะปูนาสายพันธุ์กำแพงเป็นหลัก เพราะขายง่าย ให้ผลผลิตไว เป็นที่ต้องการของตลาด ปูนาสายพันธุ์กำแพงมีลักษณะพิเศษกว่าปูนาประเภทอื่น จุดเด่นของปูนาสายพันธุ์กำแพง จะมีลักษณะคือ ตัวใหญ่ เนื้อแน่น ให้มันได้ดี เนื้อไม่ฝ่อ เมื่อกินแล้วเนื้อจะอร่อยกว่าปูนาสายพันธุ์อื่นๆ

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

“ถึงปูนาจะมีสายพันธุ์ที่ดีแค่ไหน แต่ถ้าหากดูแลเอาใจใส่ผิดวิธี ก็ทำให้ได้ผลผลิตที่ไม่คุ้มค่า ดังนั้น ควรเลี้ยงดูอย่างเอาใจใส่ในทุกๆ เรื่อง เพื่อผลผลิตที่ดีและความคุ้มค่าแก่การลงทุน”

ในฟาร์มปูนาของ คุณปานศิริ จะมีบ่อเลี้ยงทั้งหมด 4 ขนาด ประกอบไปด้วย ขนาด 1×3, 1.5×3, 2×3, 3×3 เมตร โดยใช้อิฐบล็อคในการทำบ่อเลี้ยงปูนา เพื่อที่ปูนาสามารถเข้าไปหลบซ่อนตัวได้ตามรูของอิฐบล็อค และด้วยอิฐบล็อคมีขนาดที่หนาและมีรู ทำให้ปูนาสามารถอยู่ได้โดยที่ไม่มีดิน ในบ่อเลี้ยงทุกขนาด จะเฉลี่ยปล่อยปูนาลงในบ่อ จำนวน 100-150 คู่ โดยน้ำที่ใช้ในบ่อจะเป็นน้ำประปาทั่วไป และจะมีผักตบชวา เพื่อช่วยสร้างออกซิเจนในน้ำและควบคุมอุณหภูมิในน้ำเพื่อให้ปูนาสามารถอยู่รอดได้

อาหารที่ใช้สำหรับการเลี้ยงปูนาสายพันธุ์กำแพง ประกอบไปด้วย ไฮเกรด 9961 อาหารลูกอ๊อด, โปรฟีด อาหารปู โดยเฉพาะไรแดงอบแห้ง, รำข้าวผสมวิตามิน, โดยจะให้อาหาร 1 ครั้ง ต่อวัน ช่วงระยะเวลาในการให้อาหารจะอยู่ที่ 5 โมงเย็น ถึง 5 ทุ่ม เวลาใดก็ได้

คุณปานศิริ กล่าวว่า ปูนาของตนเองสามารถขายได้ตั้งแต่ 45 วัน โดย 45 วัน ส่วนใหญ่จะเป็นปูที่นำไปทอด ราคา 180 บาท/กิโลกรัม ราคาปูดอง อยู่ที่ 120-150 บาท/กิโลกรัม ปูตัวใหญ่ ราคาอยู่ที่ 100-120 บาท/กิโลกรัม อกปูที่แปรรูป ราคาอยู่ที่ 350 บาท/กิโลกรัม เนื้อปูเเกะ ราคาอยู่ที่ 450 บาท/กิโลกรัม มันปู ราคาอยู่ที่ 700 บาท/กิโลกรัม ก้ามปู ราคาอยู่ที่ 1,000 บาท/กิโลกรัม ผลิตภัณฑ์แปรรูปน้ำพริกที่ทำจากเนื้อปูและมันปู ราคา 3 กระปุก 100 บาท

“หลังจากที่ทำฟาร์มปู ชีวิตก็ดีขึ้น มีรายได้เข้ามาเดือนละล้านกว่าบาท สามารถปลดหนี้ให้กับครอบครัวและปลดหนี้ให้กับตนเอง มีชีวิตที่ดีขึ้นและไม่กลับไม่เป็นหนี้อีก ถือว่าเป็นอีกหนึ่งอาชีพที่มั่นคงและมีรายได้เข้ามาตลอด สามารถเลี้ยงดูตนเองและครอบครัวได้”

สำหรับท่านใดที่สนใจ สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ บ้านบ่อคู่ เลขที่ 71/2 หมู่ที่ 3 ตำบลโพทะเล อำเภอค่ายบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี โทร. (085) 420-38135, (062) 336-5408 หรือติมตามความเคลื่อนไหวได้ทางเฟซบุ๊ก ฟาร์มปูนา นายตูมตาม

ดูข่าวต้นฉบับ