ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

ก้าวข้าม Comfort Zone ในตัวคุณ สู่การสร้าง Growth Zone แห่งใหม่

Techsauce
เผยแพร่ 20 ก.ค. 2562 เวลา 17.47 น. • Techsauce

มีโอกาสได้ไปบรรยายเรื่อง Business Model Innovation เมื่อไม่นานมานี้ค่ะ แต่ก่อนที่จะเข้าสู่ช่วงดังกล่าวออนมีโอกาสได้แชร์เรื่องของการก้าวข้าม Comfort Zone เพราะคิดว่าเป็นสิ่งที่สำคัญมากๆ ก่อนที่ใครจะกล้าลุกขึ้นมาทำอะไรสักอย่าง ก็ต้องผ่านจุดนี้ไปให้ได้ จึงเป็นที่มาของ Blog นี้นั่นเอง นั่นคือ แนวคิด เทคนิค และการเตรียมตัวในแต่ละช่วงเวลาของการเดินทางจาก Comfort Zone สู่การสร้าง new Growth Zone หลังจากที่ได้แชร์เรื่องนี้ไปก็มีผู้สนใจเป็นอย่างมาก เลยอยากนำมาแบ่งปันในรูปแบบของออนไลน์ให้กับท่านอื่นๆ ที่ไม่ได้มาในงานสัมมนาวันนั้นด้วย ว่าแล้วไปทำความรู้จักแต่ละ Zone กัน

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

Comfort Zone

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

Comfort Zone คือพื้นที่ปลอดภัยไม่ว่าจะเป็นเรื่องงานหรือว่าเรื่องการดำเนินชีวิต มันเป็นสิ่งที่เราถนัด เคยทำมาแล้วซ้ำๆ บางทีชำนาณถึงขึ้นหลับตาทำแล้วการันตีผลลัพธ์เลยก็ได้ ไม่ต้องทำอะไรเพิ่มมากมาย แค่อยู่เฉยๆหรือทำแบบเดิมๆ ก็ได้ในสิ่งที่เราเคยได้และพอใจอยู่แล้ว

Fail Zone

Fail Zone คือจุดที่ทำให้เราก้าวถอยหลัง สำหรับออน fail zone เราไม่ได้สร้างขึ้นหรอก แต่มันเกิดขึ้นได้เองโดยอัตโนมัติ ถ้าเรายังคงอยู่ใน Comfort Zone เดิมๆ ของเราไปเรื่อยๆ Comfort Zone ของเราก็จะเริ่มเล็กลงไปเรื่อยๆ และจะถูกแทนที่ด้วย Fail Zone นั่นเอง

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ในยุคที่การแข่งขันเข้มข้นอย่างนี้ การอยู่เฉยๆ ก็คือการนับถอยหลังออกจาก comfort zone มาสู่ fail zone เหมือนลูกโป่งลูกใหญ่ๆ ที่ตั้งทิ้งไว้ ลมจะเริ่มออกทีละวันๆ จนแฟบลงในที่สุดแล้วก็ถูกทิ้งลงถังขยะ

Fear Zone

บางทีเราอยากได้อะไร แต่เราก็ไม่ลงมือทำสักทีโดยมีข้ออ้างว่า “ทำไม่เป็น” “ไม่เคยทำ” “ไม่มีความรู้”
แต่ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไรก็ตาม เหตุผลลึกๆจริงๆของเราคือเราไม่ได้อยากได้สิ่งนั้นอย่างแรงกล้าจริงๆ หรือไม่ เราก็กลัวว่าถ้าเราทำสิ่งนั้นไม่สำเร็จแล้วเราก็จะสูญเสียสิ่งที่เรายังเคยมีอยู่ใน Comfort Zone ปัจจุบัน
ถ้าด้วยเหตุผลข้อแรกก็อาจจะยากสักนิด แต่ถ้าเป็นข้อหลัง แสดงว่าเราอยู่ใน Fear Zone คือจุดกลัวความผิดพลาดที่ “อาจ” เกิดขึ้นได้ในอนาคต
ใครๆ ก็กลัวได้ ไม่แปลกหรอก …… แต่ มันมีทางแก้นะ
List ทั้งหมดให้เยอะที่สุดว่าอะไรบ้างที่เป็นอุปสรรคทำให้เราไม่กล้าทำอะไรใหม่สักที เราจะได้มา list มายาวเหยียดเลย จากนั้นเลือกมาเพียงแค่ 3 อันดับสำคัญ ถ้าไม่ถึง 3 ก็ไม่เป็นไรนะ แต่อย่าเกิน 3 แล้วกันค่ะ

Learning Zone

Learning zone คือเข้าสู่ช่วงเวลาที่ “เปลี่ยนจากความกลัวเป็นความรู้”
ออนเริ่มต้นโฟกัสที่จะสร้างความรู้ให้ตัวเองใน 3 สิ่งที่กำหนดไว้ใน Fail Zone
ระยะเวลาที่ใช้ใน learning zone ของแต่ละคนแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับความทุ่มเท ความรู้พิ้นฐานเดิม และ learning speed ของแต่ละคน

Transferring Zone

Transferring Zone เป็นเหมือนช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อว่าจะเราจะได้ไปต่อหรือไม่เดินกลับหันหลัง
ตอนเราเรียนรู้อะไรใหม่ๆ ช่วงแรกๆ ทุกอย่างดูใหม่ ดูตื่นเต้น แต่พอไปสักพักเราต้องเรียนให้ลึกขึ้น ยากขึ้น มันสามารถเกิดเหตุการได้ 2 อย่าง
อย่างแรกคือ มันเริ่มยากจนเราเริ่มรู้สึกกังวลไปหมด อาจจะเครียดจนหยุดทำ และ เดินกลับไปสู่ Comfort Zone เดิม ออนเรียกจังหวะการตัดสินใจนี้ว่า panic timing
แต่ถ้า ความต้องการของเราอย่างแรงกล้า ในความมึนๆ งงๆ กับการเรียนรู้เรื่องยากๆ เราจะก็จะสามารถสร้างความฮึกเหิมที่จะอดทนเพื่อฝึกฝนต่อไป ออนเรียกช่วงเวลานี้ว่า brave timing

Growth Zone

จากความรู้ที่เราได้สะสมมาจาก Learning Zone และ Transferring Zone ก็จะก้าวก้าวสู่ Growth Zone คือการนำความชำนาญนั้นมาสร้างโอกาสและการการเติบโตในเรื่องใหม่ๆให้กับเราได้
ช่วงเวลาใน Growth Zone จะ enjoy ไปซะทุกอย่าง เราเริ่มได้อะไรที่เราหวังไว้ตั้งแต่แรก เป็นเหมือนช่วงเวลาทองคำ หรือ golden time อีกครั้ง
พอระยะเวลาผ่านไปสักพัก เราจะสะสมความชำนาณไปมากๆ แล้วก็จะเริ่มทำอะไรซ้ำๆ เดิมๆ Growth Zone อันนี้ก็จะแปลงมาเป็น comfort zone แล้วเราก็จะกลับเข้ามาสู่วัฎจักรการพัฒนา Growth Zone อันใหม่ขึ้นมาอีกครั้ง

*บทความนี้เป็น guest post ของ ดร. ศรีหทัย พราหมณี หรือ ดร. ออน ผู้ร่วมก่อตั้งศูนย์เรียนรู้เกษตรทฎษฎีใหม่ ไร่ทองหทัย บ้านนายาง อ. ชะอำ จ. เพชรบุรี *

ดูข่าวต้นฉบับ
ความเห็น 1
  • NZ Peter
    ทฤษฎีที่เขาเรียนกันนำมาเล่าต่อ หรือเป็นภูมิปัญญาของผู้เขียนมาต่อยอด Comfort Zone ที่ผมเคยได้ยินมานานแล้ว
    21 ก.ค. 2562 เวลา 11.44 น.
ดูทั้งหมด