ทั่วไป

'บีบีซีไทย'โต้ถูกทักษิณซื้อ ยันโลโก้สีแดงไม่เกี่ยวการเมือง ปลื้มผลงานสัมภาษณ์'แม้ว'

ไทยโพสต์
อัพเดต 16 ก.ค. 2562 เวลา 01.26 น. • เผยแพร่ 16 ก.ค. 2562 เวลา 01.25 น. • ไทยโพสต์

16 ก.ค.62- เมื่อวันที่ 9 ก.ค.ที่ผ่านมาเว็บไซต์บีบีซีไทย เผยแพร่บทความ ครบรอบ 5 ปี ของบีบีซีไทยโฉมใหม่ กับ 5 เรื่องที่คุณอาจยังไม่รู้ มีเนื้อหาที่น่าสนใจระบุว่า นำเสนอข่าวสารที่หาอ่านจากที่อื่นไม่ได้ บทสัมภาษณ์พิเศษ นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ในฮ่องกง เผยแพร่ทางเว็บไซต์บีบีซีไทย และทางยูทิวบ์ 2 วัน หลังการเลือกตั้ง 24 มี.ค. 2562 กลายเป็นบทความข่าวและวิดีโอที่มีคนพูดถึงทั่วประเทศ สื่อมวลชนทุกแขนงต่างนำมาอ้างอิง ได้รับความสนใจมากมายจนกลายเป็นวิดีโอที่มีผู้ชมมากที่สุดทางช่อง ยูทิวบ์ ของบีบีซีไทย

นอกจากนี้ยังมีประเด็น บีบีซีไทยได้เงินจากไหน โดยมีเนื้อหาระบุว่า "บีบีซีไทย ถูกทักษิณซื้อไปแล้ว" ความเห็นลักษณะนี้มักปรากฏขึ้นมาหลายครั้งใต้โพสต์ข่าวการเมือง ทางเพจเฟซบุ๊กของบีบีซีไทย โดยล้อเลียนหรือกล่าวหาว่านายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีของไทย ที่ลี้ภัยอยู่ในต่างประเทศ คือผู้ให้การอุดหนุนทางการเงินแก่บีบีซีไทย

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

แล้วแท้จริงแล้ว บีบีซีไทยได้เงินมาจากไหน

บีบีซีไทย คือ ส่วนหนึ่งของ บรรษัทกระจายเสียงสาธารณะของอังกฤษ (บีบีซี) และเป็นต้นแบบของสื่อสาธารณะหลายแห่งทั่วโลก งบประมาณส่วนใหญ่ที่บีบีซีได้รับ มาจากค่าธรรมเนียมโทรทัศน์ที่ทุกครัวเรือนที่มีโทรทัศน์ในสหราชอาณาจักรต้องจ่ายเป็นจำนวน 154.50 ปอนด์ต่อปีหรือราว 5,900 บาท (อัตราแลกเปลี่ยนปัจจุบัน 1 ปอนด์อยู่ที่ราว 38.49 บาท)

บีบีซี นำงบประมาณนี้มาจัดสรรให้กับแผนกต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นแผนกข่าว แผนกกีฬา สารคดี ละคร และแผนกภาษาต่างประเทศใน บีบีซี เวิลด์ เซอร์วิส หรือ บีบีซี ภาคบริการโลก ซึ่งได้รับเงินสนับสนุนอีกก้อนหนึ่งจากรัฐบาลอังกฤษสำหรับเปิดให้บริการแผนกภาษาต่างประเทศอื่น ๆ

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

สีของตราสัญลักษณ์ของบีบีซี คือสีแดง และสีของทุกแผนกภาษาต่างประเทศ รวมทั้งบีบีซีไทย ก็ใช้สีแดง มีคำว่า บีบีซี นิวส์ เป็นภาษาอังกฤษ และคำว่า ไทย บนพื้นหลังสีแดง ไม่ได้แฝงความหมายใดทางการเมือง ไม่มีจุดยืนทางการเมืองเข้าข้างกลุ่มการเมืองใด หรือกลุ่มเคลื่อนไหวใด ๆ ทั้งสิ้น และบีบีซีไม่มีนโยบายปรับสีตราสัญลักษณ์ให้เข้ากับวาระพิเศษใด ๆ รวมถึง บีบีซีไทยด้วย.

ต้นฉบับ

ดูข่าวต้นฉบับ
ความเห็น 36
  • Kongake
    ไปดูกองบรรณาธิการของ BBC ไทยว่าเป็นใคร เคยทำข่าวบิดเบือนเรื่องพระมหากษัติร์ไทยอย่างไร ลองไปหาข้อมูลดูจะรู้
    16 ก.ค. 2562 เวลา 02.51 น.
  • sarawutssp
    พูดตรงๆ เมืองไทยมีข่าวสารเยอะระดับที่ BBC ที่อังกฤษจะมาตั้งสาขาอยู่ถาวร แล้วคอย subsidize ค่าใช้จ่ายให้ทั้งหมดเหรอครับ มันก็ต้องมีบ้างแหละที่คอยหาคนในพื้นที่ คอย support แค่นี้ความเป็นกลางในการเสนอข่าวก็หมดแล้วล่ะ สำนักข่าวต่างประเทศอื่นไม่เห็นเป็นแบบนี้เลย
    16 ก.ค. 2562 เวลา 02.49 น.
  • 🇹🇭 say3684 🐯
    สื่อห่วยๆ ของฝรั่งขี้นก
    16 ก.ค. 2562 เวลา 02.47 น.
  • prapat
    ชอบจุ้นเรื่องเพื่อน​ อะไรที่ทำแล้วประเทศอื่นมีปัญหา​ ไม่มือเรื่องทางดีของประเทศที่นำเสนอ่านสื่อค่ายนี้​ มันทำเพื่อประโยชน์ประเทศมันเท่านั้นแหละ​ น่าจะไล่ให้พ้นประเทศเรา
    16 ก.ค. 2562 เวลา 02.26 น.
  • thipong
    สือที่เชื่อถือได้ยาก
    16 ก.ค. 2562 เวลา 02.36 น.
ดูทั้งหมด