ไลฟ์สไตล์

5 ขนมอันตราย แต่เด็กชอบกิน พ่อแม่ต้องระวัง

Motherhood.co.th
เผยแพร่ 18 พ.ย. 2562 เวลา 03.00 น. • Motherhood.co.th Blog

4 ขนมอันตราย แต่เด็กชอบกิน พ่อแม่ต้องระวัง

ทุกวันนี้สารเคมีที่ใช้ผสมลงในอาหารหรือขนมมีมากมาย และสารเคมีบางตัวก็มีความอันตราย จึงทำให้ขนมบางชนิดกลายเป็น "ขนมอันตราย" สำหรับเด็ก ๆ ในจุดนี้พ่อแม่ต้องเพิ่มความระมัดระวังกับขนมที่ลูกชอบกินกันมากขึ้น วันนี้ Motherhood มีขนม 5 อย่างที่มีส่วนผสมของสีผสมอาหารที่สามารถก่ออันตรายกับเด็กได้มาฝากกันค่ะ

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

สีผสมอาหารทำมาจากอะไร

สีผสมอาหารมักถูกเติมลงในอาหารเพื่อเติมแต่งสีและทำให้อาหารดูมีชีวิตชีวา สีผสมอาหารเหล่านี้ทำจากปิโตรเลียม ซึ่งเป็นของเหลวสีเหลืองที่ขุดขึ้นมาจากพื้นโลกเพื่อใช้ในการผลิตน้ำมันเครื่องและน้ำมันเบนซิน

สีผสมอาหารส่วนหนึ่งผลิตจากปิโตรเลียม
โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ในขณะนี้องค์การอาหารและยา (FDA) ไม่ได้กังวลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์จากปิโตรเลียมที่ใช้ในอาหารอเมริกัน แต่ส่วนใหญ่ของอาหารที่มีผลิตภัณฑ์จากปิโตรเลียมจะผิดกฎหมายในประเทศอื่น ๆ ทั่วโลก เพราะพวกมันก่อความเสี่ยงต่อสุขภาพที่ร้ายแรง มีการศึกษาวิจันที่แสดงความเชื่อมโยงของสีผสมอาหารกับอาการแพ้ โรคสมาธิสั้น และแม้กระทั่งมะเร็ง โดยเฉพาะมะเร็งในเด็ก

นอกจากนี้ ยังมีความกังวลว่าพวกมันอาจมีผลข้างเคียงอื่น ๆ ที่อาจเป็นอันตรายเช่นกัน จากการศึกษาพบว่าสีผสมอาหารมีแนวโน้มที่จะก่อให้เกิดผลกระทบดังต่อไปนี้

  • สมาธิสั้น
  • มะเร็ง
  • อาการแพ้
  • ภาวะน้ำหนักเกิน
  • โรคหอบหืด
  • โรคเบาหวาน
  • ความเสียหายของโครโมโซม
  • ภาวะน้ำตาลในเลือด
  • อวัยวะเกิดความเสียหาย
  • ความผิดปกติตั้งแต่แรกคลอด

นอกจากนี้ สีผสมอาหารยังมีสิ่งสกปรกที่ไม่ทราบที่มาและไม่คาดคิดปะปนอยู่ ความจริงแล้วสิ่งเจือปนเหล่านี้มีพิษร้ายแรงจนสหภาพยุโรปและรัฐบาลอังกฤษได้ยุติการใช้สีผสมอาหารทั่วทั้งยุโรปตั้งแต่ปีพ.ศ. 2552

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ในบทความนี้ เราจะเปิดเผยการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวกับอันตรายที่อาจเกิดจากสีผสมอาหาร นอกจากนี้ในตอนท้ายของบทความ เราจะเปิดเผยถึงผลิตภัณฑ์ยอดนิยมที่มีสีผสมอาหาร

สีผสมอาหารที่ใช้กันมาในยุคปัจจุบัน

สีผสมอาหารที่มาจากสารเคมีที่พบมากที่สุดคือสีเหลือง 5 สีเหลือง 6 และสีแดง 40 อย่างไรก็ตาม สีผสมจากเคมีที่เป็นที่นิยมสำหรับอาหาร ได้แก่ สีฟ้า 1 สีฟ้า 2 และสีแดง 3 สีผสมอาหารจะรวมตัวกับอาหารเพื่อสร้างสีที่เหมาะสมสำหรับอาหารและทำให้อาหารมีความน่าสนใจยิ่งขึ้น

สีผสมอาหารสามารถทำอันตรายต่อสุขภาพได้มากกว่าที่พ่อแม่คิด

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา (FDA) ระบุว่าต้องมีการทดสอบและรับรองสีผสมอาหารก่อนนำไปใช้กับอาหารและเครื่องดื่ม แม้ว่าสีผสมอาหารที่ใช้ในกระบวนการแปรรูปอาหารต้องผ่านการทดสอบอย่างเข้มงวดว่าด้วยความเป็นพิษจาก FDA แต่งานวิจัยบางชิ้นแสดงให้เห็นว่าสีผสมอาหารอาจมีสารเคมีที่ก่อให้เกิดมะเร็ง ได้แก่ Benzidine 4-aminobiphenyl และ 4-aminoazobenzene

ข้อกังวลอีกประการเกี่ยวกับอันตรายของสีย้อมอาหารเทียมคือผลกระทบที่มีต่อเด็ก ตัวอย่างเช่น เด็ก ๆ มักจะบริโภคเครื่องดื่มและอาหารที่มีสีผสมอาหารมากกว่าผู้ใหญ่ นอกจากนี้น้ำหนักตัวที่น้อยกว่าของพวกเขาบ่งบอกว่าเด็ก ๆ รับเอาสีย้อมอาหารไว้ได้มากกว่าผู้ใหญ่ นอกจากนี้ร่างกายของเด็กมีความไวต่อสารก่อมะเร็งมากกว่าผู้ใหญ่อีกด้วย

ที่ยิ่งไปกว่านั้นคือ อาจมีอันตรายเมื่อผสมสีจากเคมีที่ใช้ในอาหารเข้าด้วยกัน ตัวอย่างเช่น การศึกษาวิตัยหนึ่งพบว่าการรวมกันของสีแดง 40 สีเหลือง 4 สีเหลือง 5 สีแดง 2 และสีผสมอาหารอื่น ๆ สามารถส่งผลเสียต่อระบบประสาทส่วนกลาง น่าเสียดายที่มีการศึกษาไม่มากนักที่พูดถึงผลกระทบจากการรวมกันของสีผสมอาหาร

นอกจากนี้ยังมีการศึกษาจำนวนมากที่แสดงให้เห็นถึงความเชื่อมโยงระหว่างสีผสมอาหารและอาการแพ้ มะเร็ง และสมาธิสั้น (ADHD) ซึ่งการศึกษาบางชิ้นพบว่าสีผสมอาหารอาจปนเปื้อนด้วยสารเคมีที่ก่อให้เกิดมะเร็ง

ประมาณ 90 เปอร์เซ็นต์ของสีผสมอาหารที่ใช้ในอาหารคือสีแดง 40 เหลือง 5 และเหลือง 6 แม้จะมีกรณีที่ใช้ส้มสดจุ่มลงในสีผสมอาหารเพื่อเพิ่มความสว่างและให้สีที่สม่ำเสมอ

ฝั่งยุโรปจริงจังกับเรื่องสีผสมอาหารเป็นอย่างมาก

อันตรายของสีผสมอาหาร

สีแดง 40: นี่คือหนึ่งในสีผสมอาหารสังเคราะห์ที่พบมากที่สุดในการแปรรูปอาหาร จากการศึกษาพบว่าสีแดง 40 นั้นสามารถมี p-Cresidine ซึ่งจัดเป็นสารก่อมะเร็งที่มีศักยภาพมาก นอกจากนี้ยังได้รับการพิสูจน์แล้วว่าทำให้เกิดเนื้องอกในระบบภูมิคุ้มกันของสัตว์ รวมถึงอาการแพ้และสมาธิสั้นในเด็ก

สีแดง 3: จากการศึกษาพบว่าอาหารที่ย้อมด้วยสีแดง 3 อาจมีผลต่อการทำงานของต่อมไทรอยด์ และเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านมและมะเร็งต่อมไทรอยด์ ในการศึกษาวิจัยชิ้นอื่นพบว่าสีแดง 3 มีการทำงานคล้ายฮอร์โมนเอสโตรเจนในร่างกาย ซึ่งอาจเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเต้านม

สีเหลือง 5: จากการศึกษาพบว่าสีเหลือง 5 สามารถปนเปื้อนด้วยสารก่อมะเร็ง Benzidine สีผสมอาหารตัวนี้ยังเชื่อมโยงกับความเสียหายของอวัยวะและส่งผลต่อเยื่อบุกระเพาะอาหารในสัตว์ทดลอง

สีเหลือง 6: ผลการทดสอบพบว่าสีเหลือง 6 อาจปนเปื้อนด้วย Benzidine และ 4-aminobiphenyl ซึ่งสารทั้งสองมีการทำงานที่เพิ่มความเสี่ยงของเนื้องอกอัณฑะและต่อมหมวกไต งานวิจัยชิ้นหนึ่งที่ตีพิมพ์ในวารสารพิษวิทยาพบว่าสีเหลือง 6 มีฤทธิ์คล้ายฮอร์โมนเอสโตรเจนในร่างกาย ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเต้านมและโรคตับแข็ง

สีฟ้า 1: สีผสมอาหารนี้มีผลต่อการตอบสนองของร่างกายต่อการอักเสบและความเสถียรของการพัฒนาเซลล์ จากการศึกษาวิจัยในปีพ.ศ. 2559 สีฟ้า 1 เพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดการพัฒนาของมะเร็ง และยังส่งผลต่อระบบประสาท

สีฟ้า 2: สีผสมอาหารนี้พบได้ทั่วไปในน้ำอัดลม ลูกอมที่มีสี และอาหารอื่น ๆ บางการศึกษาวิจัยระบุว่าสีฟ้า 2 เพิ่มเนื้องอกเต้านมและเนื้องอกกลิโอมาในหนูทดลอง

4 ขนมยอดนิยมของเด็กที่คุณพ่อคุณแม่ควรหลีกเลี่ยง

ขนมอันตราย -M&M
  • ช็อกโกแลตเคลือบน้ำตาลหลากสี: ผู้ผลิตเหล่านี้ใช้สีแดง 40 สีเหลือง 6 สีเหลือง 5 และสีฟ้า 2 ซึ่งเป็นที่รู้กันว่าทำให้เกิดเนื้องอกในสมองและกระเพาะปัสสาวะ นอกจากนี้ยังมีสีฟ้า 2 ที่สามารถยับยั้งการพัฒนาของเซลล์ประสาท เนื่องจากสีผสมอาหารเหล่านี้ทำมาจากปิโตรเลียม พวกมันยังสามารถทำให้เกิดอาการสมาธิสั้นและอาการแพ้ได้
ขนมอันตราย - pop tarts

2. Pop Tarts: ขนมอบพวกนี้มีน้ำเชื่อมข้าวโพด น้ำตาลฟรุกโตสสูงจากน้ำเชื่อมข้าวโพด เดกซ์โทรส และน้ำตาลอยู่ใน 7 ส่วนผสมแรก ผลิตภัณฑ์ที่มีน้ำตาลเหล่านี้ล้วนเกี่ยวข้องกับโรคเบาหวานในเด็ก ปัญหาตับ และอาการติดน้ำตาล Pop Tarts ยังมี สาร TBHQ ซึ่งมาจากปิโตรเลียม ซึ่งทำลาย DNA ของมนุษย์และทำให้เกิดความผิดปกติของเซลล์

ขนมอันตราย - ขนมไส้แยม

3. ขนมที่มีส่วนผสมของแยมผลไม้เทียม: ขนมขบเคี้ยวหลายชนิด เช่น ซีเรียลบาร์ที่มีส่วนผสมของแยมผลไม้ที่อุปโลกน์ว่าเป็นทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ แท้จริงกลับเต็มไปด้วยสีผสมอาหารเพื่อให้มีสีสันน่าสนใจยิ่งขึ้น มักใช้สีแดง 3 (หรือที่เรียกว่า E127) ที่ถูกห้ามใช้ในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง เพราะก่อให้เกิดเนื้องอกที่ต่อมไทรอยด์

ขนมอันตราย - ข้าวโพดอบกรอบ

4. ขนมข้าวโพดอบกรอบปรุงรส: ขนมประเภทนี้มีสีเหลือง 6 ซึ่งมาจากปิโตรเลียม และยังมีการแต่งรสเทียม เช่น Methyl benzoate และ Ethyl methylphenidate ซึ่งสารเคมีเหล่านี้ก่อให้เกิดโรคทางเดินอาหาร โรคกระเพาะ และอาการเสพติดเหมือนกันทั้งในเด็กและผู้ใหญ่

เมื่อได้ทราบอย่างนี้แล้ว คุณพ่อคุณแม่ต้องใส่ใจเรื่องขนมที่ลูกรับประทานให้มากขึ้นนะคะ เพราะในไทยเรายังไม่มีมาตรการอะไรที่เคร่งกับเรื่องนี้มากนัก พ่อแม่ผู้ปกครองจึงต้องระวังบุตรหลานกันเอง

 

อ่านบทความสำหรับแม่และเด็กอื่นๆที่น่าสนใจได้ที่นี่ >> story.motherhood.co.th

มองหาสินค้าสำหรับแม่และเด็กในราคาสุดพิเศษได้เลยที่ >> Motherhood.co.th

ดูข่าวต้นฉบับ
ความเห็น 7
  • Yui😋51
    ทำไมไม่ควบคุมไปเลย ผ่าน อย มาทำไม ขอเสียเยอะกว่าข้อดี ผปค บางคนก็ไม่ได้มีความรู้ทุกคน เห็นมีขายในห้างบางคนก็คิดว่าปลอดภัย
    18 พ.ย. 2562 เวลา 04.51 น.
  • คุ ณิ ต า
    เราแก่แล้ว ยังชอบ
    18 พ.ย. 2562 เวลา 04.39 น.
  • สุจินต์ กันยาวงค์
    อย.คงจะคุมอยากมันคงมีเบื่องหน้าเบื่องหลังที่กลืนไม่เข้าคลายไม่ออกก็เลยได้แค่เตือน!!
    19 พ.ย. 2562 เวลา 01.17 น.
  • . V D C .๑/๖๔
    ให้ อย จัดการสิ่
    18 พ.ย. 2562 เวลา 07.34 น.
  • 💰💰💰💰💰💰💰💰💰💰💰💰 💰💰💰💰💰💰💰💰💰💰💰💰 ‼️ด่วนครับ‼️🙎🏻‍♂️🙍🏻‍♀️ตามหาคนอยากทำงานพาทไทม์ เรียนก็ทำได้ อยากทำเป็นรายได้เสริมก็ทำได้ คนทำงานประจำก็ทำได้ ด่วน!!!!!📌📌📌📌📌 - คอนเฟิร์มลูกค้าทางไลน์ (ทำผ่านมือถือ📱) - รับอายุ 18-60 ปี - อยู่กรุงเทพปริมณฑลรับเป็นพิเศษ 💰รายได้ 3,000-5,000 ต่อสัปดาห์ 20,000/เดือน💰 สนใจงานแอดไลน์ @gmt9811n (มี @ ด้วยครับ) 💰💰💰💰💰💰💰💰💰💰💰💰 💰💰💰💰💰💰💰💰💰💰💰💰
    19 พ.ย. 2562 เวลา 02.12 น.
ดูทั้งหมด