ไอที ธุรกิจ

เลือกประกันชีวิตอย่างไรดี?​ สบายใจถึงคนข้างหลัง

Checkraka
เผยแพร่ 24 ต.ค. 2562 เวลา 03.31 น. • เช็คราคา.คอม

เลือกประกันชีวิตอย่างไรดี? สบายใจถึงคนข้างหลัง

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

คำว่า "ประกันชีวิต" หลายคนพอได้ยินแล้ว อาจเมินหน้าหนีเพราะคิดว่าเป็นเรื่องไกลตัวที่ "ยังไม่จำเป็น" ซึ่งการคิดแบบนี้ไม่แปลกแต่อาจจะ "ประมาท" ไปสักนิด เพราะถ้าลองคิดให้ไกลและรอบด้านขึ้น เราจะเห็นว่าหลายๆ สิ่งที่เกิดขึ้นรอบตัวเราหรือกับคนที่เรารู้จัก เช่น อุบัติเหตุ การเจ็บป่วย และโรคร้ายแรง มักจะเกิดขึ้นโดยไม่คาดคิด ซึ่งถ้าเกิดขึ้นแล้ว สิ่งที่ตามมาคือความสูญเสีย ไม่ว่าจะเป็นรายได้ เวลา หรือความสามารถ เกิดเป็นภาระทั้งต่อตัวเอง และครอบครัว โดยเฉพาะภาระค่าใช้จ่ายเพื่อการรักษาและดำรงชีวิต หรือหากถึงขั้นเสียชีวิต คนที่อยู่ข้างหลังอย่างครอบครัว ลูก พ่อแม่ อาจจะต้องลำบากจากการสูญเสียผู้ที่เป็นเสาหลักในการหารายได้ ประกันชีวิตจึงเป็นสิ่งจำเป็นในการช่วย "ปกป้องคุณค่าชีวิต" เพราะคนเราตั้งแต่เกิดจนชราล้วนมีภาระหน้าที่ต่อตนเองและคนรอบข้าง ยิ่งภาระหน้าที่มาก ก็ยิ่งมีคุณค่ามากต่อผู้ที่พึ่งพาเรา ประกันชีวิตช่วยแบ่งเบาภาระนี้ในรูปแบบของเงินทุนเพื่อนำไปใช้ในการดำเนินชีวิตตามเป้าหมายที่วางไว้ พร้อมดูแลชีวิตของคนที่รักให้มีชีวิตที่ดีต่อไปได้แม้วันที่เราจะไม่อยู่แล้วก็ตาม คำถามที่มักจะมีแฟนเพจหลายท่านถามกันเข้ามาตลอดก็คือ ถ้าตัดสินใจจะทำประกันชีวิตแล้วจะเลือกประกันชีวิตแบบไหนดีล่ะ? แบบไหนเหมาะกับวัยเราที่สุด? วันนี้เรามีคำตอบค่ะ 

ประกันชีวิตมีให้เลือกกี่แบบ ?

ประกันชีวิตโดยทั่วไปแบ่งได้เป็น 4 ประเภทหลัก ซึ่งในแต่ละแบบก็อาจมีการแบ่งย่อยลงไปได้อีกค่ะ ขึ้นอยู่กับรายละเอียด และเงื่อนไข  

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ข้อพิจารณาง่ายๆ ว่าจะเลือกประกันชีวิตยังไงดี?

 ปัจจัยที่ต้องคำนึง  ตัวอย่าง หรือหลักการพิจารณา 1. วัตถุประสงค์ของการประกัน  "ทำประกันเพื่ออะไร" คือเรื่องแรกที่ต้องคิด เช่น

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง
  • เพื่อคุ้มครองครอบครัวไม่ให้เดือดร้อนหากเราต้องจากไปก่อนวัยอันควร 
  • เพื่อเป็นเงินออมให้กับตัวเองและครอบครัว 
  • เพื่อคุ้มครองโรคร้าย
  • เพื่อประหยัดภาษี
  • จำนวนเงินเอาประกันภัยและเบี้ยประกันภัย  หลักง่ายๆ โดยทั่วไปในการกำหนดจำนวนเงินเอาประกันภัย คือ ถ้ามองจาก "รายได้" จำนวนเงินเอาประกันภัยที่เหมาะสมควรต้องมากกว่า 3 เท่าของรายได้ต่อปี หากมองจาก "รายจ่าย" ควรมากกว่า 5 เท่าของรายจ่ายต่อปี สำหรับค่าเบี้ยประกันควรพิจารณาให้สอดคล้องกับความสามารถในการจ่ายของเราด้วยเช่นกัน เลือกจ่ายเป็นรายงวดหรือรายปีได้ ตามที่บริษัทกำหนด  3. ความคุ้มครอง   "คุ้มครองอะไรบ้าง" เช่น สุขภาพทั่วไป โรคร้ายแรง อุบัติเหตุ ทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง ชีวิต เป็นต้น   4. ระยะเวลาการคุ้มครอง เลือกคุ้มครองตลอดชีวิต หรือเฉพาะช่วงเวลาที่ต้องการความคุ้มครองมากเป็นพิเศษ เช่น เลี้ยงดูลูก ดูแลธุรกิจ ผ่อนบ้าน ผ่อนรถ เพื่อช่วยแบ่งเบาความเสี่ยงในช่วงที่มีภาระสูง สามารถเลือกระยะเวลาได้ตามต้องการ เช่น 5, 10, 15, 20, และ 25 ปี   5. ผลประโยชน์อื่นๆ  เช่น ประกันแบบสะสมทรัพย์จะให้ผลตอบแทนเป็นเงินคืนตามระยะเวลาที่กำหนดหรือเป็นเงินก้อนเมื่อครบกำหนดสัญญาตามที่ระบุไว้ หรือสิทธิประโยชน์ในการลดหย่อนภาษี สำหรับประกันชีวิตที่มีความคุ้มครอง 10 ปีขึ้นไป เบี้ยประกันชีวิตสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 100,000 บาทต่อปี และสำหรับประกันชีวิตแบบบำนาญ เบี้ยประกันชีวิตสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 200,000 บาทต่อปี ตามหลักเกณฑ์ที่กรมสรรพากรกำหนด   6. เลือกบริษัทประกันไหนดี  หลักสำคัญคือต้องเลือกบริษัทประกันที่มีความมั่นคงทางการเงิน ดำเนินธุรกิจโปร่งใส จริงใจ มีผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย มีผู้ให้บริการที่มีความรู้ความสามารถ ไม่ว่าจะเป็นตัวแทนประกันชีวิตหรือที่ปรึกษาการเงินที่มีความเชี่ยวชาญช่วยแนะนำผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมกับความต้องการ และมีการบริการหลังการขายที่ดี 

อายุประมาณนี้ เลือกประกันชีวิตประมาณไหนดี ? 

จากข้อมูลข้างต้นจะเห็นได้ว่า ในแต่ละช่วงชีวิตของเรานั้นมีคุณค่าและภาระหน้าที่แตกต่างกันไป ยิ่งภาระมากก็ต้องยิ่งมีตัวช่วยเพื่อรองรับความเสี่ยงเอาไว้ หากเกิดเรื่องไม่คาดฝันขึ้นมาวันใด "คนที่อยู่ข้างหลัง" จะได้ไม่เดือดร้อน แม้ในวันที่เราไม่อยู่ ก็ยังอุ่นใจได้ว่าพวกเขาสามารถใช้ชีวิตต่อไปได้โดยไม่ต้องลำบาก แต่ถ้าเหตุการณ์ไม่คาดฝันนั้นร้ายแรงแต่ไม่ถึงชีวิตล่ะ…ในแง่ดีคือ คุณยังมีชีวิตอยู่ ยังได้อยู่กับครอบครัวที่คุณรัก แต่ความจริงอีกด้านหนึ่งล่ะ…ประกันชีวิตส่วนใหญ่จะจ่ายเงินให้กับผู้รับผลประโยชน์ ในกรณีที่ผู้เอาประกันเสียชีวิตตามเงื่อนไขการรับประกัน แต่ไม่ครอบคลุมถึงการตกเป็นบุคคลทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง ซึ่งนอกจากจะไม่สามารถประกอบอาชีพการงานหาเลี้ยงครอบครัวได้ดังเดิมแล้ว ยังเกิดภาระค่าใช้จ่ายจำนวนมากที่เพิ่มขึ้น ทั้งค่ารักษาพยาบาลส่วนแรกและค่าดูแลผู้ป่วยต่อเนื่อง และหากมีภาระหนี้ระยะยาวอยู่ เช่น ค่าผ่อนบ้าน ผ่อนรถ สินเชื่อธุรกิจ เงินกู้ต่างๆ ชีวิตของคุณและครอบครัวจะเป็นอย่างไรต่อไป… Case Study … ชีวิตพลิกผัน … ประกันชีวิตช่วยแบ่งเบาท่านได้ 

Paul Williams นักมวยแชมเปี้ยนโลกรุ่นเวลเตอร์เวท ของสหรัฐอเมริกา ประสบอุบัติเหตุเมื่อวันที่ 27 พ.ค. 55 ขณะขี่รถจักรยานยนต์ข้ามแยก และถูกรถยนต์ชนเข้าอย่างจัง ส่งผลให้เส้นประสาทกระดูกสันหลังฉีกขาด ไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายตั้งแต่ช่วงเอวลงไป ต้องนั่งรถเข็น Wheelchair ไปตลอดชีวิต และไม่สามารถชกมวยได้อีกต่อไป…ไม่มีใครอยากให้เหตุการณ์เหล่านี้เกิดขึ้น…หากแต่หลีกเลี่ยงไม่ได้ และภาระทั้งหมดก็จะต้องตกไปอยู่กับคนข้างหลัง นั่นก็คือ "ครอบครัว" 

ตัวอย่างแผนคุ้มครองความเสี่ยงที่ให้ความคุ้มครองมากกว่า สำหรับเสาหลักของครอบครัว - บีแอลเอ คุ้มครอง 2 พลัส

จากกรณีตัวอย่างของนักมวย หรือเรื่องราวอื่นๆ ของผู้ที่ตกเป็นบุคคลทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง แสดงให้เห็นว่าความคุ้มครองที่ครอบคลุมนั้นเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อตัวเองและคนข้างหลัง โดยเฉพาะผู้ที่เป็นเสาหลักของครอบครัว หรือผู้ที่มีภาระหน้าที่รับผิดชอบมาก เช่น เจ้าของธุรกิจ มีแบบประกันชีวิตในตลาดผลิตภัณฑ์หนึ่งที่น่าสนใจ เหมาะกับคนกลุ่มดังกล่าวเพื่อเป็นเงินก้อนสำรองไว้ให้ตัวเองและครอบครัวหากเกิดเรื่องไม่คาดฝันขึ้น โดยเบี้ยประกันไม่สูงมาก คือ "แบบประกัน บีแอลเอ คุ้มครอง 2 พลัส (BLA Protect 2 Plus)" จากกรุงเทพประกันชีวิต

  • เป็นประกันชีวิตคุ้มครองความเสี่่ยงแบบ "กำหนดระยะเวลา" (Term Life Insurance) รับประกันอายุ 20 - 70 ปี สูงสุดถึงอายุ 75 ปี
  • คุ้มครองทั้งกรณีเสียชีวิต และทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง โดยจำนวนเงินเอาประกันภัยสำหรับกรณีทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง จะเป็น 3 เท่าของจำนวนเงินเอาประกันภัยในสัญญาชีวิต สามารถเลือกแผนได้ตามต้องการคุ้มครองสูงสุดถึง 30 ล้านบาท (สำหรับแผน 5)
  • เหมาะสำหรับคุ้มครองภาระค่าใช้จ่ายเพื่อตนเอง คนข้างหลัง และเป็นเงินทุนสำหรับครอบครัวในอนาคต
  • มี 5 แผนความคุ้มครองให้เลือก โดยระยะเวลาเอาประกันภัย และระยะเวลาชำระเบี้ยประกันภัย เลือกได้ตั้งแต่ 5 ปี (ช่วงอายุที่รับประกัน 20-70 ปี), 10 ปี (ช่วงอายุที่รับประกัน 20-65 ปี), 15 ปี (ช่วงอายุที่รับประกัน 20-60 ปี) และ 20 ปี (ช่วงอายุที่รับประกัน 20-55 ปี)
  • การจ่ายเบี้ยประกันภัย สามารถเลือกชำระเป็นรายปี ราย 6 เดือน ราย 3 เดือน และรายเดือน และชำระด้วยบัตรเครดิตได้ (มีค่าธรรมเนียมสำหรับบัตร Diner และ Amex)
  • หากเกิดเหตุไม่คาดฝันทำให้ตกเป็นบุคคลทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิงในระหว่างที่กรมธรรม์มีผลบังคับใช้ บริษัทจะยกเว้นการชำระเบี้ยของสัญญาชีวิต โดยผู้เอาประกันภัยยังคงได้รับสิทธิประโยชน์ตามเงื่อนไขของกรมธรรม์ (เฉพาะภัยมาตรฐานและผู้เอาประกันภัยมีอายุไม่เกิน 60 ปี) ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในแง่คุ้มครองภาระค่าใช้จ่ายเพื่อตนเอง คนข้างหลัง และเป็นเงินทุนสำหรับครอบครัวในอนาคตได้ และในกรณีที่เสียชีวิตในเวลาต่อมา ภายในระยะเวลาคุ้มครองผู้รับประโยชน์ก็จะได้เงินประกันอีกก้อนหนึ่งตามสัญญาชีวิต
  • หากไม่มีการทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิงเกิดขึ้น แต่เสียชีวิตภายในระยะเวลาที่กรมธรรม์มีความคุ้มครอง ผู้รับประโยชน์จะได้รับ 100% ของจำนวนเงินเอาประกันภัยของสัญญาชีวิต
  • สำหรับกรมธรรม์ที่มีระยะเวลาความคุ้มครอง 10 ปีขึ้นไป สามารถนำเบี้ยประกันภัยของสัญญาชีวิตไปลดหย่อนภาษีได้ตามหลักเกณฑ์ที่กรมสรรพากรกำหนด สูงสุด 100,000 บาท/ปี* ทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง หมายถึง ทุพพลภาพทั้งหมดอย่างถาวร มาจากการเจ็บป่วยหรือการบาดเจ็บโดยไม่สามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้ด้วยตนเองอย่างถาวรตั้งแต่ 3 อย่างขึ้นไป และไม่สามารถทำงานหรือประกอบอาชีพใดๆ การทุพพลภาพดังกล่าวต้องเป็นต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 180 วัน รวมถึง
      1) สูญเสียสายตาทั้งสองข้าง
    2) สูญเสียมือสองข้าง หรือเท้าสองข้าง หรือมือหนึ่งข้างและเท้าหนึ่งข้าง
    3) สูญเสียสายตาหนึ่งข้างและสูญเสียมือหนึ่งข้าง หรือสูญเสียสายตาหนึ่งข้างและเท้าหนึ่งข้าง แผนความคุ้มครองของ BLA Protect 2 Plus

ตัวอย่าง:  เบี้ยประกันรวมรายปี สำหรับ "บีแอลเอ คุ้มครอง 2 พลัส" แผน 3 (ระยะเวลาเอาประกันภัยและระยะเวลาชำระเบี้ยประกันภัย 15 ปี)

*เบี้ยประกันภัยรวมรายปี ประกอบด้วยเบี้ยประกันภัยของสัญญาชีวิต บีแอลเอ คุ้มครองสูง 2
และเบี้ยประกันภัยของสัญญาเพิ่มเติม บีแอลเอ คุ้มครองทุพพลภาพ 2
หมายเหตุ
1) เบี้ยประกันภัยขึ้นอยู่กับอายุ เพศ ระยะเวลาเอาประกัน ระยะเวลาชำระเบี้ยประกันภัย และจำนวนเงินเอาประกันภัยของแต่ละแผน
2) ข้อมูลนี้เป็นเพียงตัวอย่างเบื้องต้น เงื่อนไขและความคุ้มครองของท่านโปรดศึกษารายละเอียดในกรมธรรม์ ตัวอย่าง: ผู้ชายอายุ 30 ปี ทำธุรกิจส่วนตัว รายได้ต่อเดือน 38,000 บาท สถานภาพโสด ดูแลคุณพ่อคุณแม่ มีภาระผูกพันระยะยาวเป็นสินเชื่อบ้าน 1 หลัง 2,000,000 บาท จะเลือกบีแอลเอ คุ้มครอง 2 พลัส แผนใด จึงจะครอบคลุมภาระที่มี เพื่อดูแลตัวเองและคนข้างหลัง

*เบี้ยประกันภัยรวมรายปี ประกอบด้วยเบี้ยประกันภัยของสัญญาชีวิต บีแอลเอ คุ้มครองสูง 2
และเบี้ยประกันภัยของสัญญาเพิ่มเติม บีแอลเอ คุ้มครองทุพพลภาพ 2
**เฉพาะเบี้ยประกันของสัญญาชีวิตเท่านั้นที่สามารถลดหย่อนภาษีได้ ตามหลักเกณฑ์ที่กรมสรรพากรกำหนด จากตัวอย่างข้างบนจะเห็นได้ว่า บีแอลเอ คุ้มครอง 2 พลัส เป็นทางเลือกการทำประกันที่น่าสนใจ ให้ความคุ้มครองที่ครอบคลุม จำนวนเงินเอาประกันภัยสูง ค่าเบี้ยต่ำ หากเกิดเหตุการณ์ที่ทำให้ตกเป็นบุคคลทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง และ/หรือเสียชีวิตลง เราจะได้เงินก้อนมาจำนวนที่ไม่น้อย ซึ่งก็น่าจะเพียงพอในระดับหนึ่งให้ลูก หรือคนในครอบครัวเราใช้ชีวิตยังชีพต่อเนื่องไปได้แบบไม่ลำบาก หากใครสนใจแบบประกัน "บีแอลเอ คุ้มครอง 2 พลัส" (BLA Protect 2 Plus) ตัวนี้ ก็ลองเข้าไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ของ กรุงเทพประกันชีวิต ตามนี้ได้เลยค่ะ (ดูรายละเอียดเพิ่มเติม) สุดท้ายนี้หวังว่าเนื้อหาทั้งหมดนี้จะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อยสำหรับคนที่กำลังมองหาประกันชีวิตดีๆ อยู่เพื่อมอบสิ่งที่ดีที่สุดให้กับตัวเอง และคนที่เรารักนะคะ

ดูข่าวต้นฉบับ
ความเห็น 2
  • Mr. SaW
    หัวข่าว เรียกแขก ไหนบัญชีเงินฝาก
    25 ต.ค. 2562 เวลา 02.10 น.
  • milk_minnie
    เราทำประกันเพื่อลูก และลดหย่อนภาษีได้ด้วย 😎
    24 ต.ค. 2562 เวลา 15.41 น.
ดูทั้งหมด