ทั่วไป

สมาชิกรัฐสภาอาเซียนฯ ออกแถลงการณ์ผิดหวังต่อคําตัดสินให้ “ธนาธร” พ้นจาก ส.ส.

TODAY
อัพเดต 20 พ.ย. 2562 เวลา 10.46 น. • เผยแพร่ 20 พ.ย. 2562 เวลา 10.44 น. • Workpoint News

https://www.facebook.com/WorkpointNews/photos/a.153956988306921/1103127436723200/?type=3&theater

สมาชิกรัฐสภาอาเซียนเพื่อสิทธิมนุษยชน แสดงความผิดหวังต่อคําตัดสินของศาล หลังริบที่นั่ง 'ธนาธร' ในรัฐสภาของผู้นําพรรคฝ่ายค้านไทย

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

วันนี้ (20 พ.ย.2562) ที่จาการ์ตา อินโดนีเซีย สมาชิกรัฐสภาอาเซียนเพื่อสิทธิมนุษยชนASEAN Parliamentarians for Human Rights (APHR) แสดงความผิดหวังต่อคําตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญในวันนี้ กรณีเพิกถอนสถานะสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ของนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคฝ่ายค้าน และเรียกร้องให้หยุดนํา กฎหมายมาเป็นเครื่องมือกลั่นแกล้งสมาชิกพรรคฝ่ายค้านและนักปกป้องสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย โดยระบุว่า

“ธนาธร” หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ ถูกตัดสินว่ามีความผิดตามมาตรา 98 (3) ตามรัฐธรรมนูญ ในข้อหามีหุ้นสื่อ ขณะที่ลงสมัครเลือกตั้งในเดือนมีนาคม ในวันที่ 23 พฤษภาคม ศาลรัฐธรรมนูญตัดสินให้ ธนาธร หยุดพักการ ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะสมาชิกรัฐสภาระหว่างการพิจารณาคดี แต่ตอนนี้สถานะการเป็นสมาชิกรัฐสภาของเขาถูกเพิกถอน ธนาธร กล่าวว่าเขาขายหุ้นสื่อไปเมื่อเดือนมกราคม 2562

“การตัดสินในวันนี้เป็นเครื่องบ่งชี้ว่า ถึงแม้จะมีการเลือกตั้งในปีนี้ ผู้มีอํานาจของไทยก็ยังไม่พร้อมจะมี ประชาธิปไตยที่โปร่งใสและเป็นอิสระ” Charles Santiago สมาชิกรัฐสภามาเลเซียและประธานกลุ่มสมาชิก รัฐสภาอาเซียนเพื่อสิทธิมนุษยชน (APHR) กล่าว

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

“คดีนี้ควรได้รับการพิจารณาจากบริบทที่กว้างกว่า ที่สมาชิกรัฐสภาฝ่ายค้านและพรรคฝ่ายค้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พรรคอนาคตใหม่ ถูกเลือกปฏิบัติโดยสถาบันที่ว่ากันว่าเป็นอิสระ สัญญาณทุกอย่างบ่งชี้ว่านี่คือความพยายามของ หลายฝ่ายในการปิดปากพรรคการเมืองที่สั่นคลอนสถานการณ์ที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน เนื่องจากพรรคพยายามจะ แก้ไขรัฐธรรมนูญ”

พรรคอนาคตใหม่ชนะการเลือกตั้งมาเป็นลําดับที่สามในการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 24 มีนาคมที่ผ่านมา และได้ที่นั่ง 80 ที่ในรัฐสภา ในฐานะฝ่ายค้าน พรรคได้ตั้งคําถามอย่างสม่ำเสมอต่อบทบาทของทหารในการเมืองไทย ตั้งแต่นั้นมาผู้มีอํานาจก็ใช้กฎหมายกลั่นแกล้งพรรคและสมาชิกพรรค

ณ ปัจจุบัน สมาชิกพรรคอนาคตใหม่ถูกฟ้องกว่า 27 คดี ซึ่งรวมถึงคดีที่ฟ้อง “พรรณิการ์ วานิช” โฆษกพรรค และ “ปิยบุตร แสงกนกกุล” เลขาธิการของพรรค คดีที่อยู่ระหว่างการฟ้องเหล่านี้รวมถึงคดีหมิ่นศาล ตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์และข้อหายุยงปลุกปั้น หนึ่งในคดีเหล่านี้อาจนําไปสู่การยุบพรรคได้

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

คดีที่ศาลรัฐธรรมนูญรับพิจารณาก็เป็นเหตุมาจากคําร้องของคณะกรรมการเลือกตั้งซึ่งถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างมาก ต่อการจัดการการเลือกตั้งในเดือนมีนาคม องค์กรภาคประชาสังคมก็ตั้งคําถามกับความเป็นอิสระของศาล รัฐธรรมนูญเช่นกัน เพราะมีคําสั่งคสช.ซึ่งขยายเวลาการดํารงตําแหน่งของผู้พิพากษาศาลรัฐธรรมนูญ การตัดสิน ของศาลรัฐธรรมนูญเองก็ถูกมองว่าลําเอียงต่อทหารและพันธมิตรของทหาร ซึ่งรวมถึงข้อเท็จจริงที่เมื่อพรรคอนาคตใหม่ยื่นคําร้องต่อสมาชิกรัฐสภาคนอื่นๆ 41 คน ซึ่งต่างมีหุ้นในสื่อ กลับไม่มีสมาชิกรัฐภาคนใดถูกสั่งพัก การปฏิบัติหน้าที่

APHR กล่าวว่า ถึงแม้ว่าจะมีการกล่าวอ้างว่าการปกครองของรัฐบาลทหารได้สิ้นสุดไปแล้ว คดีความจํานวนมาก ที่ดําเนินต่อสมาชิกฝ่ายค้านแสดงให้เห็นว่ายังคงมีการจํากัดเสรีภาพในการแสดงออกและความไม่อดทนอดกลั้น ต่อเสียงวิพากษ์วิจารณ์ต่อรัฐบาลและอิทธิพลของทหาร

“ภายใต้การแสดงตนว่าเป็นประชาธิปไตย ระบอบการปกครองซึ่งกดขี่ของไทยยังคงโจมตีสมาชิกฝ่ายค้านด้วยคดี ความเป็นที่ชัดเจนว่าพรรคอนาคตใหม่ตกเป็นเป้า เพราะผลเลือกตั้งที่น่าตกใจของพรรคและการต่อต้านทหารซึ่ง มีอํานาจ การริบที่นั่งในสภาของหัวหน้าพรรคอนาคตใหม่คือการริบเสียงของผู้ที่ไปเลือกตั้ง การโจมตีพรรคฝ่าย ค้านพรรคใดก็ตามคือการโจมตีโดยตรงต่อเสรีภาพในการพูดและประชาธิปไตย” Eva Sundari อดีตสมาชิก รัฐสภาอินโดนีเซียและสมาชิก APHR กล่าว

ทั้งนี้ ในเดือนสิงหาคม APHR ออกข้อเสนอแนะต่อรัฐบาลไทย เรียกร้องให้ผู้มีอํานาจฟื้นคืนประชาธิปไตยและเคารพ เสรีภาพขั้นพื้นฐาน

APHR กังวลว่าการตัดสินในวันนี้เป็นตัวอย่างชัดเจนของแนวโน้มและความเป็นไปที่น่ากังวลในระดับภูมิภาคที่ ผู้มีอํานาจพยายามปิดปากสมาชิกพรรคฝ่ายค้านโดยใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือและใช้ตอบโต้ในรูปแบบต่างๆ และ วันนี้ยังเป็นวันครบรอบ 1,000 วันที่สมาชิกวุฒิสภา Leila de Lima ถูกกักตัว

“ข้อหาต่อสมาชิกวุฒิสภา Leila de Lima เป็นข้อหาที่เกิดจากแรงจูงใจทางการเมืองและเป็นผลมาจากการ ทํางานของเธอในการหยุดสงครามต้านยาเสพติดอันกระหายเลือดของ Duterte ข้อหาทุกอย่างควรถูกยกฟ้อง เธอต้องได้รับการปล่อยตัวทันทีและต้องได้รับอนุญาติให้ทําหน้าที่ในฐานะวุฒิสภาที่มาจากการเลือกตั้งในสภา ของชาติ” Mu Sochua อดีตสมาชิกรัฐสภากัมพูชาและสมาชิก APHR กล่าว

“สมาชิกรัฐสภากําลังถูกไล่ล่าและจําคุกเพียงเพราะทํางานเพื่อตรวจสอบและถ่วงดุลอํานาจบริหาร และนี่เป็น ภยันตรายต่อทุกคน ในฐานะสมาชิกรัฐสภาด้วยกัน เราจะดําเนินการสนับสนุนในทุกระดับต่อไป เพื่อให้แน่ใจว่า เพื่อนร่วมงานของเราในระดับภูมิภาคสามารถทํางานโดยปราศจากความกลัวและการถูกโต้กลับ”

 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง:

ดูข่าวต้นฉบับ
ความเห็น 11
  • Pongsak
    ลองวิจารณ์ เขมร ฮุนเซน และมาเลเซีย สมัยนาย ราจิบ จำคุก นายอันวา ดิ ไม่เห็นองการที่ว่า แสดงความผิดหวัง
    20 พ.ย. 2562 เวลา 12.52 น.
  • Vuthiphong
    ยุ่งอีก​ เรื่องคนนอกเอาเข้าตลอด​ เผือกจริงๆทำเป็นรู้ดีเนาะ​ ประเทศคนอื่นอย่ายุ่งเถอะ
    20 พ.ย. 2562 เวลา 12.10 น.
  • tamtam
    องค์กรนอกคอก กล้าตั้งชื่อให้คล้าย แต่ไม่ใช่องค์กรจริงๆ แค่ตั้งไว้รับตังค์ ใครรับรองเปนสภาอาเขียนมิทราบปัญญาอ่อน555
    20 พ.ย. 2562 เวลา 12.20 น.
  • คนผักไห่
    ใครจะคิดยังงัยไม่รู้ แต่กูรู้ว่าลำเอียงตั้งแต่กกต.แล้ว คิดคะแนนก็ลำเอียง สรุปแล้วไม่มีความน่าเชื่อถือ ดูคดีอื่นซิ นาฬิา เรือดำน้ำและอีกมากมายจะเงินภาษีทั้งนั้นครับท่าน555 ประเทศไทยจงเจริญ
    20 พ.ย. 2562 เวลา 15.33 น.
  • wi@jj
    ส่วนตัว คิดว่าไอ้ตี๋มันคงเตรียมการเรื่องนี้ไว้แล้ว อยากรู้จริงๆ ก่อนสมาชิกสภาบ้าบอนี้มันจะออกมายุ่งเรื่องชาวบ้านเขานี้มันศึกษาข้อมูลมาดีแล้วเหรอ
    20 พ.ย. 2562 เวลา 16.07 น.
ดูทั้งหมด