ทั่วไป

คำสารภาพของ (อดีต) นักศึกษา “สลิ่ม” ในการชุมนุมที่มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ

The Momentum
อัพเดต 27 ก.พ. 2563 เวลา 10.41 น. • เผยแพร่ 26 ก.พ. 2563 เวลา 14.49 น. • THE MOMENTUM TEAM
โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง
โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง
โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

หลังการชุมนุมของนักเรียน และศิษย์เก่าสตรีวิทยาที่บริเวณหน้าโรงเรียนสตรีวิทยา กลุ่มผู้ชุมนุมมีการเคลื่อนขบวนไปสมทบกับการชุมนุมของนักศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตวังท่าพระ ซึ่งวันนี้มีการนัดรวมตัวเช่นเดียวกัน ภายใต้แฮชแท็ก #วังท่าพระไม่สายลมแสงแดด

ทางฝั่งมหาวิทยาลัยศิลปากรท่าพระ มีผู้เข้าร่วมจำนวนมาก พร้อมชูป้ายจำนวนหนึ่ง อาทิ Dance Against Dictatorship , ธีสิสก็ต้องทำ คนระยำก็ต้องไล่ , ซึ่งผู้นำกิจกรรมกล่าวว่าผู้ที่มาเข้าร่วมเกินกว่าที่คาดหมายไว้มาก โดยกลุ่มนักศึกษาที่ร่วมชุมนุมเสนอ #แก้รัฐธรรมนูญ โดยมีข้อเรียกร้อง 3 ข้อ คือ

  •  ให้มีการเลือกตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.)
  • ร่างรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ
  • ให้ประชาชนลงประชามติ

หนึ่งในนักศึกษาที่ขึ้นปราศรัย กล่าวว่าในอดีตตนเองเคยเป็นสลิ่มมาก่อน ทั้งยังกล่าวว่า

“จุดเปลี่ยนการเป็นสลิ่มของผมคือ ตอนเด็กการเสพสื่อ เราเสพแค่ด้านเดียวมาตลอด เราชอบที่จะเสพอะไรที่เข้ากับอารมณ์ตัวเอง แต่จุดที่ทำให้ผมเปลี่ยนก็คือ ความจริง ที่ปรากฏกับสังคม การรัฐประหารมันไม่ได้ทำให้สังคมมันดีขึ้นอย่างที่พูด นี่คือจุดเปลี่ยน เราไม่อายที่จะพูดว่าเราเป็นสลิ่ม เพราะทุกคนเคยมีอดีตที่ผิดพลาดกันหมด ไม่ใช่ว่าตราบาปมันจะปั๊มตราบาปให้ติดตัวคุณจนวันตาย “

นอกจากนี้เขายังกล่าวถึงกรณีการชุมนุมของนักเรียนสตรีวิทยาว่า “ผมรู้สึกดีใจมากๆ เพราะตอนที่เราเป็นเด็กมัธยมเราไม่ได้รู้สึกอะไรกับการเมืองมาก แต่พอมาตรงนี้เรารู้สึกว่ายุคสมัยมันเปลี่ยนไป เด็กมัธยมกล้าที่จะแสดงความคิดเห็นกล้าที่จะแสดงความเห็นถึงความอยุติธรรม ในสังคม ผมรู้สึกว่านี่คือพลังที่ทรงพลังมากๆ”

ในขณะที่นักศึกษาชั้นปีที่หนึ่งที่มาร่วมชุมนุมในครั้งนี้กล่าวถึงการออกมาเคลื่อนไหวของศิลปากรครั้งนี้ว่า

“รู้สึกดีใจมากๆ ที่ศิลปากรออกมาเคลื่อนไหว เพราะคนข้างนอกจะชอบมองว่า มหาวิทยาลัยศิลปะ คนที่เรียนศิลปะไม่ได้สนใจการเมือง ชีวิตเขามีแค่ศิลปะแต่จริงๆ แล้วศิลปะเชื่อมโยงกับคน เชื่อมโยงกับคุณค่าของคน “

“การเมืองเป็นเรื่องของทุกคนเป็นเรื่องที่อยู่กับเราตั้งแต่เกิดจนถึงโตอย่างเรื่องการศึกษา ระบบขนส่งสาธารณะ เรื่องต่างๆ รอบตัวเราอยู่แล้วค่ะ เราจะไม่สนใจไม่ได้ เราไม่ได้อินการเมืองเกินไปแต่ผู้ใหญ่ต่างหากที่เพิกเฉยเกินไป”

นักศึกษาที่ขึ้นกล่าวปราศรัยอีกคนกล่าวว่า “จริงๆ เราคาดหวังว่าคนจะน้อยกว่านี้ด้วย ด้วยธรรมชาติของมหาวิทยาลัยเรา เราไม่ค่อยแสดงความคิดเห็นจริงจัง คนจะคุ้นเคยว่าศิลปากรแสดงออกผ่านศิลปะ แสดงออกผ่านพู่กัน เราไม่ค่อยมารวมตัวกันมากนัก นี่เป็นครั้งแรก รู้สึกดีใจ”

“ประวัติศาสตร์การเมืองที่ผ่านมา หรือ movement การเมืองที่นักศึกษาเข้ามามีส่วนร่วมไม่ค่อยมีชื่อศิลปากรมาก่อน นี่เป็นครั้งแรก อย่างที่เรากล่าวบนเวทีไปแล้วว่า อยากให้คนที่อยู่ตรงนี้ภูมิใจว่าเรายืนอยู่บนหน้าประวัติศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยเรามีบทบาทบ้าง อยากให้ทุกคนภาคภูมิใจกับการที่มาอยู่ตรงนี้ วันนี้เป็นประวัติศาสตร์ เป็นก้าวแรกๆ ก้าวเล็กๆ ที่เราไม่ยอมและออกมาต่อสู้”

“ปัญหาคือในประเทศไทย เราโตมากับแนวคิดที่ว่าการเมืองคือความขัดแย้ง คือความไม่สงบ ถ้าต่อสู้ก็ต้องสูญเสีย การเมืองเลยเป็นภาพที่น่ากลัว การเมืองเป็นเรื่องสกปรก ถ้ามีคนบอกว่าเด็กรุ่นใหม่อินการเมืองมากเกินไป ให้ถือว่าเป็นคำชม มันแปลว่าเราใส่ใจปัญหาบ้านเมือง เรามีการเคลื่อนไหว เรารู้ว่าเราถูกปกครองด้วยอะไรอยู่”

“ตอนนี้เรามีแฟลชม็อบเกือบทุกมหาวิทยาลัย มีการเคลื่อนไหวในระยะที่ใกล้เคียงกันถือว่าหายากมากเลยนะ ชื่อมันก็บอกอยู่แล้วว่านี่คือการเคลื่อนไหว เพราะฉะนั้นอย่าให้มันเป็นพลุที่จุดครั้งเดียวแล้วจบ”

 

ดูข่าวต้นฉบับ
ความเห็น 79
  • ถ้าออกสิทธ์ออกเสียงไม่ได้จะเรียกว่าประเทศที่ปกครองด้วยประชาธิปไตย ไรเด็กๆเค้าทำถูกแล้วเพราะผุ้ใหญ่กลัวอำนาจจนหัวหด...สุ้ๆนะน้องๆเอาใจช่วยครับ..ประเทศจะล่มจม แล้วครับท่าน
    27 ก.พ. 2563 เวลา 00.32 น.
  • Guru Chillaxi
    ทำมาหากินยากอยู่แล้ว ให้ทำหน้าที่ก่อนนะแล้วออกมาใช้สิทธิ หากไทยไม่ช่วยไทย แล้วใครจะมาช่วยเรา
    27 ก.พ. 2563 เวลา 00.26 น.
  • กีรติสุนทร
    กล้าเหมือนปี16 ไหมล่ะ เด็กเอ้ยเรียนสิ ใหญ่เมื่อไร ก็แก่แล้ว ผอ ชั่วๆ เยอะแยะ สรุปผลชั่วเหมือนกันทุกตัว เล็กทำซ่า พอใหญ่ก็หลงบ้้าอำนาจ ประเทศไทยขี้ข้าหลวงอัปรียทุกตัว แล้วพวกมึงเรียนจบทำงานหลวง ก็เหี้ยจนได้แหละ สัตว
    27 ก.พ. 2563 เวลา 00.07 น.
  • ต้นน้ำ246
    ควรจะเรียกร้องให้้้ฝ่ายค้านกับรัฐบาลร่วมมือกันแก้ปัญหาให้ประเทศก้าวหน้าจะดีกว่านะเพราะคนที่เดือดร้อนคือภาคประชาชนถ้ายังทะเลาะกันไปมาแบบนี้จะได้แก้ปัญหาพวกนี้เมื่อไหร่เรียกร้องให้ทั้งสองฝ่ายร่วมมือกันแก้ปัญหาบ้านเถอะครับความแตกแยกยังไงก็ไม่ทำให้บ้านเมืองดีขึ้นหรอกความสามัคคีครับคือพลังที่จะพาให้ประเทศผ่านพ้นปัญหาไปได้แล้วบ้านเมืองจะสงบสุขประชาชนก็จะมีความสุข
    26 ก.พ. 2563 เวลา 23.34 น.
  • Oakey
    ดีใจที่น้องหายจากโรคสลิ่มได้ แต่ที่น่าเสียใจผู้ใหญ่หลายท่านในคอมเม้นท์ดูแล้วไม่มีทางรักษา
    26 ก.พ. 2563 เวลา 23.23 น.
ดูทั้งหมด