ทั่วไป

ทำได้เอง“แบตเตอรี่”ทางเลือก จากเหมืองเกลือหินในประเทศ

ฐานเศรษฐกิจ
อัพเดต 27 พ.ย. 2565 เวลา 06.51 น. • เผยแพร่ 27 พ.ย. 2565 เวลา 06.36 น.

พลังงาน (สะอาด) จะมาเต็มแพ็ค คณะนักวิจัยไทยประสบความสำเร็จ ในการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตแบตเตอรี่ ชนิดโซเดียมไอออน ขึ้นใช้ได้เองเป็นแห่งแรกของอาเซียน

โดยมีประสิทธิภาพเทียบเท่าแบตเตอรีชนิดลิเธียมไอออน ผลิตภัณฑ์หลักที่ใช้งานอยู่ในท้องตลาดเวลานี้ ที่ต้องนำเข้า 100%

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

แต่ข้อดีของแบตเตอรีชนิดใหม่คือ ใช้วัตถุดิบตั้งต้นจากแหล่งแร่เกลือหิน ที่กลุ่มแร่โซเดียมมักเกิดควบคู่กับแหล่งโพแทช ที่มีปริมาณสำรองในภาคอีสานมากสุด 18 ล้านล้านตัน

จึงช่วยลดการพึ่งพานำเข้าได้มหาศาล ต้นทุนถูกลง 30-40 % ในสเกลที่เท่ากัน สามารถใช้เข้าไปเสริมในบางแอพพลิเคชั่นได้ดีกว่า แถมปลอดภัยกว่า เพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของไทยในตลาดโลก

โครงการวิจัยนี้มี รศ.ดร.นงลักษณ์ มีทอง อาจารย์ประจำภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.) เป็นหัวหน้าทีมนักวิจัย

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง
รศ.ดร.นงลักษณ์ มีทอง อาจารย์ประจำภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.)

อาจารย์นงลักษณ์ เป็นศิษย์เก่าโรงเรียนสตรีนครสวรรค์

จบปริญญาตรี สาขา Ceramic Engineering จาก Alfred University USA เมื่อปี 2547 และไปจบปริญญาเอกจาก MIT ในปี 2552

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ทำงานสายวิทยาศาสตร์ต่อเนื่อง กวาดรางวัลสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรม อาทิ Thailand New Gen Innovators Award 2020 กลุ่มพลังงาน รางวัลผู้ใช้แสงซินโครตรอนดีเด่น พ.ศ.2558 รางวัลนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ สาขาฟิสิกส์ ประจำปี 2558 จากผลงานวิจัยวัสดุทำขั้วไฟฟ้าในแบตเตอรีลิเทียมไอออน การประกวดนวัตกรรมนาโนเทคโนโลยี เป็นต้น

ก่อนหน้านี้ก็ค้นพบวิธีสังเคราะห์นาโนซิลิกอนจากเถ้าแกลบ ที่สามารถเก็บประจุไฟฟ้าได้ดีกว่าคาร์บอน 12 เท่า

ถ้าพัฒนาสำเร็จต่อไปถ่านไฟฉายเดิมจะมีประสิทธิภาพสูงขึ้น และยังใช้ของเหลือทิ้งการเกษตรมาสร้างประโยชน์สูงสุด

แบตเตอรีคือหัวใจหลักระบบกักเก็บพลังงาน (ESS) เพื่อให้การใช้งานพลังงานหมุนเวียนสะอาด เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มีความยืดหยุ่น สะดวก และใช้งานได้จริง ทดแทนพลังงานจากฟอสซิล

อีกหนึ่งแรงหนุนไทย สู่เป้าหมายปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่สิ่งแวดล้อมสุทธิเป็นศูนย์ (เน็ต ซีโร) ในปี 2065

รศ.ดร.นงลักษณ์ มีทอง
อาจารย์ประจำภาควิชาฟิสิกส์
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คอลัมน์สปอตไลต์ หนัา 4 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 42 ฉบับที่ 3,839 วันที่ 27-30 พฤศจิกายน พ.ศ.2565

ดูข่าวต้นฉบับ