บันเทิง

“เสรี รุ่งสว่าง” เผยสั่งเสียสุดท้ายของ “ไวพจน์” 

daradaily
อัพเดต 12 ม.ค. 2565 เวลา 10.28 น. • เผยแพร่ 12 ม.ค. 2565 เวลา 10.10 น.

“เสรี รุ่งสว่าง” เผยสั่งเสียสุดท้ายของ “ไวพจน์” 

       “เสรี รุ่งสว่าง” ลูกทุ่งชื่อดังชาวสุพรรณบุรี เผยแก่ดาราเดลี่ถึงการเสียชีวิตของ “ไวพจน์ เพชรสุพรรณ”ศิลปินแห่งชาติว่า วันก่อนวันโทรคุยกับแกอยู่เลย แกนอนที่รพ. ตากสินแกก็ไม่ได้คิดอะไร ไม่ได้บอกไรนะ แกบอกว่า เดี๋ยวจะออกไปแล้ว สองวันก่อนนี่เอง ผมโทรหาอาไวพจน์ แกบอกว่า เอ้ยตอนนี้ยังออกไม่ได้ ปอดเป็นฝ้า ขอนอนต่อ 

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

อ่านข่าวต่อ: แถลงทั้งน้ำตา “เสรี รุ่งสว่าง” ผมมีหลักฐานทั้งหมดที่ครูเซ็นไว้

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

         “เสรี รุ่งสว่าง” เผยอีกว่าเขาก็ยังเสียงดี กำลังใจดีอยู่ ไม่ได้บอกอะไรมากมาย ผมโทรหายังหัวเราะคุยกับผมอยู่เลย เขาไม่ได้ห่วงอะไร เรื่องเพลง ลูกหลานเขาก็ดูแลอยู่  ที่คุยกันเมื่อสองวันก่อนก็คือจะออกไปแล้วนะ รอหน่อย ผมก็บอก พ่อนอนให้หมอรักษาก่อน อย่าคิดมากไม่ได้คิดว่าจะไปในวันนี้เลย แกไม่ได้สั่งอะไรมากมาย
พ่อไวพจน์บอกว่า สู้ พ่อสู้นะ หายแล้วก็จะออกไปหากัน ผมก็บอกว่าจะไปเยี่ยมเลย แต่แกก็บอกว่าปอดเป็นฝ้า ก็บอกแค่นั้น 

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

      สำหรับ “ไวพจน์ เพชรสุพรรณ” ชื่อเดิมคือ “พาน สกุลณี” เกิดเมื่อวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2485 ที่จ.สุพรรณบุรีและเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (นักร้องเพลงลูกทุ่ง) ปีพ.ศ. 2540 เป็นนักร้องเพลงลูกทุ่งชื่อดังระดับตำนานของเมืองไทยโลดเล่นอยู่ในวงการมาหลายสิบปีโดยเริ่มหัดร้องเพลงอีแซวเพลงพื้นบ้านของ จ.สุพรรณบุรี ตั้งแต่อายุ 2 ขวบละเพลงแหล่ได้เมื่ออายุ 14 ปี จากนั้นได้หัดร้องลิเกกับคณะลิเกประทีป แสงกระจ่าง เมื่ออายุ 16 ปีได้เข้าประกวดร้องเพลงครั้งแรกที่วัดท่าตลาด ต.วัดโบสถ์ อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี เพลงที่ร้องเป็นเพลงแหล่ของ พร ภิรมย์ ชื่อเพลง “จันทโครพ” ปรากฏว่าได้รางวัลที่ 1และทาง “ชัยชนะ บุญนะโชติ” ได้มีการชักชวนให้เข้าสู่วงการเพลงลูกทุ่งและตั้งชื่อให้ใหม่ว่า “ไวพจน์ เพชรสุพรรณ” 
       ทั้งนี้ได้สร้างผลงานเพลงน่าจดจำคือเรื่องการแหล่อันดับหนึ่งของไทยไม่ว่าจะเป็นเพลงฮิตทั้ง “ให้พี่บวชเสียก่อน,แตงเถาตาย,แบ่งสมบัติ” และ “21 มิถุนา ขอลาบวช” เป็นต้นรวมถึงยังได้เป็นผู้สร้างราชินีลูกทุ่งคนอย่าง “พุ่มพวง ดวงจันทร์” อีกด้วย

 

ดูข่าวต้นฉบับ
ความเห็น 1
  • ช่าง สมจิตต์
    ขอแสดงความเสียใจด้วยนะครับ
    12 ม.ค. 2565 เวลา 21.45 น.
ดูทั้งหมด