ภัยเงียบใกล้ตัว! ชายเป็นกลากมา 2 ปี ทายารักษาไม่หายสักที ไปโรงพยาบาลตรวจซ้ำอีกที ช็อกเจอมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ที่ผิวหนัง
โรคบางชนิดเป็นภัยเงียบไม่แสดงอาการ ซ่อนเร้นอำพรางอยู่ภายในร่างกาย โดยสามารถแสดงอาการให้รู้ได้ แต่ใครจะคาดคิดว่าการมีผื่นแดง กลากเกลื้อน สะเก็ดบาง ๆ ขาว ๆ เพียงเล็กน้อยกลับพบว่าเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลือง
นพ. ช่าย อี้ซาน แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านผิวหนัง อธิบายผ่านทางยูทูบ Health 2.0 ชี้ให้เห็นว่ามะเร็งผิวหนังบางชนิดก็ไม่ต่างจากโรคเรื้อนหรือกลากทั่วไป พร้อมกล่าวเตือนว่า ในบางครั้งอาจมีอาการเหมือนกันทุกประการ นอกจากนี้ ยังมีอาการคันอย่างมาก, รอยแดง, เป็นไข้ และมีการตอบสนองเล็กน้อยระหว่างการรักษา แต่ไม่หายขาด
ผู้ป่วยบางรายมีอาการกลากซ้ำหลายครั้งเป็นเวลา 2 ปี สุดท้ายกลับได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลืองทีเซลล์ที่ผิวหนัง โดยแพทย์เคยเจอเคสนี้มาก่อน คือ ผู้ป่วยฮ่องกงอายุ 70 ปี ซึ่งอาศัยอยู่ที่ไต้หวันมาระยะหนึ่งและเป็นโรคเรื้อนกวางหรือโรคสะเก็ดเงินเป็นเวลาสองปี
โดยแรกเริ่มผู้ป่วยรู้สึกกังวลมาก เพราะในการรักษามีการบรรเทาอาการเพียงครั้งเดียว ดังนั้น เขาจึงตัดสินใจไปรักษาที่โรงพยาบาลใหญ่ ในเวลานั้น แพทย์ได้ทำการตัดผิวหนังชิ้นเล็ก ๆ เพื่อทำการตรวจชิ้นเนื้อของผู้ป่วย และผลที่ได้ก็เกินความคาดหมายของแพทย์ ถึงกับประหลาดใจ เพราะจริง ๆ แล้วมันคือ มะเร็งต่อมน้ำเหลืองทีเซลล์ของผิวหนัง ที่มีลักษณะเหมือนกลาก
ผู้ป่วยยังค่อนข้างตื่นตระหนก โดยไม่รู้ว่าตนเองเป็นโรคเรื้อนกวางหรือมะเร็ง นพ. ช่าย อี้ซาน กล่าวว่ามีตัวบ่งชี้ 2 ตัวที่สามารถตัดสินเพิ่มเติมได้ อย่างแรกคือ อายุ การแก่ตัวหรือมีอายุมากกว่า 65 ปีจะทำให้ความสามารถในการซ่อมแซมผิวลดลง
ประการที่สองคือ การตอบสนองการรักษาไม่ได้ผล ซึ่งตรงกับเคสผู้ป่วยฮ่องกงที่ที่วินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดทีเซลล์เนื่องจากการใช้สเตียรอยด์ซ้ำ ๆ แต่อาการไม่ดีขึ้น พร้อมย้ำว่า ควรตื่นตัวและสังเกตตัวเอง หากเป็นกลากทั่วไป เมื่อทายาผื่นต่าง ๆ จะหายไป ทว่าถ้าทายาไม่หายขาดหรือไม่รับการรักษาจนมีอาการรุนแรงอาจไม่ใช่กลากธรรมดา แนะนำให้สังเกตอย่างน้อย 3 ถึง 5 วันแล้ว ไปพบแพทย์ผิวหนังเพื่อทำการตรวจชิ้นเนื้อ
สมาคมโลหิตวิทยาแห่งประเทศไทย โดยรศ.พญ. จันทนา ผลประเสริฐ อธิบายถึงโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองที่ผิวหนังว่า มะเร็งต่อมน้ำเหลืองที่ผิวหนังมี 2 รูปแบบคือ มะเร็งต่อมน้ำเหลืองที่เกิดขึ้นที่ตำแหน่งต่าง ๆ โดยเฉพาะที่ต่อมน้ำเหลืองและลามมายังผิวหนัง ลักษณะนี้เรียกว่ามะเร็งต่อมน้ำเหลืองระยะที่ 4 คือระยะลุกลามไปยังผิวหนัง
อีกรูปแบบหนึ่งคือ ลักษณะที่มะเร็งต่อมน้ำเหลืองเกิดขึ้นที่ผิวหนังเท่านั้น การพยากรณ์ของโรคและการรักษาจะแตกต่างจากกลุ่มแรก ซึ่งจะเป็นกลุ่มที่พูดถึงในบทความนี้เป็นหลัก ซึ่งมะเร็งต่อมน้ำเหลืองที่ผิวหนังพบได้ทั้งชนิดบีและทีเซลล์ แต่จะพบชนิดทีเซลล์บ่อยกว่า
ได้แก่ มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิด mycosis fungoides (MF) อาการโดยทั่วไปมักเป็นผื่นนูนแดง มีบางส่วนเป็นก้อนเนื้อที่ผิวหนังบนผื่นราบ อาจมีแผลที่ก้อนเนื้อได้ โดยทั่วไปถ้ารอยโรคเป็นผื่นนูนและผื่นราบเฉพาะที่จะมีการพยากรณ์โรคที่ดี มีอัตราการรอดชีวิตที่ 5 และ 10 ปี มากกว่าร้อยละ 90
มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิด subcutaneous panniculitis-like T-cell lymphoma (SPTCL) เป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลืองทีเซลล์ชนิดซีดี 8 อาการที่พบมักเป็นตุ่มนูนจากชั้นไขมันใต้ผิวหนังตามตำแหน่งต่างๆ ได้แก่ แขน ขา ลำตัว เป็นต้น ส่วนใหญ่อาการเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป บางคนมีไข้ร่วมด้วยได้ มีส่วนน้อยที่มีอาการรุนแรงเกิดภาวะเม็ดเลือดทำลายกันในไขกระดูก ซึ่งเป็นภาวะที่รุนแรงเป็นอันตรายแก่ชีวิตได้
ปัจจุบันมีข้อมูลว่าโรคนี้เกิดจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรมชนิดยีนด้อย โดยเกิดจากการกลายพันธุ์ของยีน HAVCR2 ที่ได้รับจากพ่อและแม่ เป็นปัจจัยเสี่ยงและมีปัจจัยที่มากระตุ้นให้เกิดโรคได้แก่ การติดเชื้อ, การกลายพันธุ์ของยีนอื่นๆ ร่วมด้วยทำให้ภูมิคุ้มกันผิดปกติไป เป็นต้น
นอกจากนี้ นพ. ช่าย อี้ซาน กล่าวว่า กลากแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ กลากเฉียบพลัน ซึ่งจะทำให้เกิดแผลพุพองขนาดเล็ก มีเลือดคั่งขนาดเล็ก และอาการคันรุนแรงเมื่อมีอาการอาจพัฒนาเป็นกลากกึ่งเฉียบพลัน และ ผิวจะเริ่มหนาขึ้น โดยมีอาการตั้งแต่ 3 - 6 เดือน ในบางครั้งอาจมีอาการ 3 - 6 ปี ซึ่งกลากเรื้อรังจะทำให้ผิวดูหนาขึ้น
โรงพยาบาลพญาไท เผย ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งต่อมน้ำเหลือง โดยส่วนมากจะเกิดขึ้นกับ “เพศชาย” มากกว่าเพศหญิง ช่วงอายุประมาณ 60 – 70 ปี รวมไปถึงผู้ที่เกิดการติดเชื้อแบคทีเรีย Helicobacter pylori และการติดเชื้อไวรัส EBV การสัมผัสสารเคมี เช่น ยาฆ่าแมลง ตลอดจนผู้ป่วยที่เป็นโรค SLE หรือในผู้ป่วยติดเชื้อ HIV
ปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดมะเร็งต่อมน้ำเหลือง มาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต โดยมีปัจจัยเสี่ยงมาจากการชอบทานอาหารจำพวกช็อกโกแลต เนย หรือชีส การชอบดื่มเครื่องแอลกอฮอล์เป็นประจำ การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน ตลอดจนการอดนอน พักผ่อนไม่เพียงพอ การใช้ชีวิตท่ามกลางสภาพแวดล้อมที่มีกลิ่นควันบุหรี่ กลิ่นน้ำหอม และอากาศร้อนจัด
ขอบคุณที่มาจาก Youtube โรงพยาบาลพญาไท สมาคมโลหิตวิทยาแห่งประเทศไทย
🌅hj 🌅 น่ากลัว
31 ส.ค. 2565 เวลา 04.54 น.
ดูทั้งหมด