ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ จ่อขอ อย. ขึ้นทะเบียนฉีดวัคซีนซิโนฟาร์ม ในเด็ก ป้องกันโควิด-19 หลังเริ่มมีผลวิจัยยืนยัน พร้อมจับมือคณะเภสัชฯ จุฬาฯ พัฒนาสูตรตำรับยาน้ำเชื่อมฟาวิพิราเวียร์
ศ.นพ.นิธิ มหานนท์ เลขาธิการาชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ กล่าวว่า ราชวิทยาลัยฯ กำลังเร่งรวมรวมเอกสารวัคซีนซิโนฟาร์ม ให้ครบถ้วน เพื่อยื่นต่อ คณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ในการขึ้นทะเบียนการให้บริการฉีดในกลุ่มเด็กในเร็ว ๆ นี้ เนื่องจากแม้ว่า กลุ่มเด็กที่ติดเชื้อ จะมีอาการน้อย แต่เป็นกลุ่มสำคัญที่แพร่เชื้อไปสู่คนอื่นได้เช่นกัน
นอกจากนี้ กลุ่มเด็กยังมีความสำคัญเช่นเดียวกับกลุ่มอื่น ซึ่งหลักการให้วัคซีน ต้องให้โดยเร็ว และปริมาณมากที่สุด ให้กว้างขวางอย่างเพียงพอ ถึงจะไปรอด
"จากข้อมูลในต่างประเทศ พบคนที่มีการติดเชื้อหลังได้รับวัคซีนไปแล้ว เกิดจากคนที่ไม่ได้รับวัคซีน ดังนั้น เราคนใดคนหนึ่งได้วัคซีน ไปไม่รอด ทุกคนต้องได้รับวัคซีนทั้งหมด"ศ.นพ.นิธิ กล่าว
ขณะเดียวกัน ยังมีการศึกษาวัคซีนหลายชนิด ที่กระบวนการวิจัยลดอายุไปเรื่อยๆ ตั้งแต่เด็กอายุ 12 ปี ลงไปเรื่อย ๆ และบางที่ลงไปถึง 3 เดือน ขณะที่การดำเนินการต้องเร็ว เพราะคนที่ได้วัคซีนแล้ว ผลจากวัคซีนจะค่อย ๆ ลดลง จึงต้องได้รับวัคซีนให้มาก เพื่อป้องกันการเกิดเชื้อพันธุ์ใหม่
ขณะที่สถานการณ์การระบาดระลอกนี้ และส่วนหนึ่งเป็นผู้ติดเชื้อเด็กค่อนข้างมาก ภาพรวมพบเด็กติดเชื้อ 10% จากคนไข้ทั้งหมด โดยเมื่อติดเชื้อแล้วการรักษาไม่ให้อาการหนักก็จะต้องได้รับยาต้านไวรัส ฟาวิพิราเวียร์ ภายใน 4 วันหลังเริ่มมีอาการ ก็จะช่วยลดความรุนแรง และลดการเสียชีวิตได้
จับมือเภลัช จุฬาฯ พัฒนายาน้ำฟาวิพิราเวียร์
ล่าสุด ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ยังได้ร่วมกับคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พัฒนาและคิดค้นสูตรตำรับยาน้ำเชื่อม ฟาวิพิราเวียร์ สำหรับผลิตในโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ เพื่อต้านเชื้อไวรัสโควิดสำหรับเด็ก และผู้ป่วยที่มีความลำบากในการกลืนยาเม็ด ตำรับแรกในประเทศไทย
ปัจจุบันการให้ยาฟาวิพิราเวียร์ในเด็ก ต้องใช้วิธีการบดยาละลายน้ำ มีข้อจำกัดยามีตะกอน ปริมาณยาที่ได้รับไม่แน่นอน มีรสชาติขม ติดลิ้น ทำให้เด็กกลืนยาก จึงคิดค้นและพัฒนายาน้ำเชื่อมที่ผลิตขึ้น ให้ใช้ได้ง่าย ปริมาณยาคงที่ และมีปริมาตรยามากกว่ายาทั่วไป
สำหรับยาน้ำเชื่อมฟาวิพิราเวียร์ สามารถใชัในเด็กอายุต่ำกว่า 5-7 ปี หรือผู้สูงอายุ ที่ไม่สามารถกลืนยาเม็ดได้ โดยการให้ยาจะให้วันละ 2 ครั้ง ห่างครั้งละ 12 ชั่วโมง ส่วนปริมาณที่ให้จะขึ้นอยู่กับน้ำหนักของเด็ก และเฉลี่ยการใช้ยาจะอยู่ที่ 5 – 10 วัน ตามวิจารณญานของแพทย์ผู้รักษา
โดยก่อนหน้านี้ได้มีการทดลองใช้ยาน้ำเชื่อมฟาวิพิราเวียร์ ในคนไข้เด็กของโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ช่วงอายุ 8 เดือนถึง 5 ปี จำนวน 12 ราย จากการติดตามการรักษา พบว่าผลตอบสนองต่อการรักษาได้ดี และไม่พบผลข้างเคียงร้ายแรง
ขณะนี้ กำลังการผลิตยาน้ำเชื่อมฟาวิพิราเวียร์ของโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ สามารถผลิตและแจกจ่ายให้ผู้ป่วยประมาณ 300 คนต่อสัปดาห์ ในอนาคตหากโรงพยาบาลใดที่มีความพร้อมในการผลิต สามารถขอสูตรตำรับยาดังกล่าวไปผลิตได้ แต่ต้องอยู่ภายใต้การกำกับดูแลเรื่องคุณภาพ ส่วนแพทย์ หรือสถานพยาบาล สามารถขอรับยาได้ผ่านทางช่องทาง www.favipiravir.cra.ac.th
อ่านข่าวเพิ่มเติม
humหนิ้งหน่อง ดีมากเลยครับ อยากให้เด็กได้ฉีด
05 ส.ค. 2564 เวลา 08.46 น.
สโรชิน เติมวรรธนภัทร ดีมากๆเลยค่ะ
06 ส.ค. 2564 เวลา 05.30 น.
mam_Tantima ฟรีหรือเสียเงิน
05 ส.ค. 2564 เวลา 09.17 น.
Chanwit หนักแน่นในหลักวิชาการ โชคดีมีสถาบันแบบนี้คอยเป็นเสาหลักให้ประเทศ
05 ส.ค. 2564 เวลา 09.15 น.
Lion ka 89 เห็นด้วยกับคุณหมอเด็กๆควรได้รับการฉีด เพราะจะต้องไปโรงเรียนได้เสียที อยากให้ไฟเซอร์ที่ได้มาและซิโนแวคที่มีอยู่แบ่งทยอยฉีดให้เด็กได้บ้าง โดยเร่งในพื้นที่เสี่ยงก่อนยิ่งดี
05 ส.ค. 2564 เวลา 09.06 น.
ดูทั้งหมด