ไอที ธุรกิจ

ผลวิจัย: ตระกูลเศรษฐีไทย รวยชนะสภาวะเศรษฐกิจ ยิ่งนานวันยิ่งรวย สวนทางคนจนชัดเจน

TODAY
อัพเดต 24 ส.ค. 2562 เวลา 04.08 น. • เผยแพร่ 23 ส.ค. 2562 เวลา 13.24 น. • Workpoint News

อาจจะไม่ใช่เรื่องแปลกที่เรามักจะได้ยินว่า คนรวยมักเอาเงินต่อเงิน แต่ในสภาพเศรษฐกิจปัจจุบันที่แม้จะตกสะเก็ด อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจนั้นไม่ดีก็จริง แต่เชื่อหรือไม่ว่าในบรรดาครอบครัวเศรษฐี 50 อันดับแรกนั้น กลับยังสามารถรวยเอาชนะสภาวะเศรษฐกิจได้

งานวิชาการล่าสุดจาก เควิน เฮวิสัน (Kevin Hewison) ศาสตราจารย์กิตติคุณด้านเอเชียศึกษา มหาวิทยาลัยนอร์ทแคโรไรนาที่แชปเปลฮิลล์ (University of North Carolina at Chapel Hill) และอาจารย์พิเศษที่ศูนย์ศึกษามาเก๊า มหาวิทยาลัยมาเก๊า ที่มีชื่อว่า “Crazy Rich Thais: Thailand’s Capitalist Class, 1980–2019” ทำการศึกษาครอบครัวเศรษฐี 30-50 ตระกูลดังของไทย ระบุว่าครอบครัวเหล่านี้สามารถเติบโตเอาชนะสภาวะเศรษฐกิจได้เป็นอย่างดี

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

งานชิ้นนี้ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการด้านเอเชียร่วมสมัย (Journal of Contemporary Asia) อาศัยการวิเคราะห์อันดับจากนิตยสารฟอบส์ของสหรัฐอเมริกาตั้งแต่ปี 2523 มาจนถึงปัจจุบัน (2562) เป็นหลัก โดยมองความเปลี่ยนแปลงทั้งในเรื่องการดำเนินธุรกิจ วิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ และเรื่องอื่นๆ นำมาเป็นปัจจัยประกอบเพิ่มเติม

ความรวยของครอบครัวเหล่านี้ รวยเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และเอาชนะการเติบโตทางเศรษฐกิจในทุกสภาพ ไม่ว่าจะชะลอตัวหรือไม่ โดยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 ถึง พ.ศ. 2562 ครอบครัวเหล่านี้รวยมากขึ้นถึง 7 เท่า และสำหรับครอบครัวในอันดับที่ 31-40 ของฟอบส์ รวยมากขึ้นถึง 9.3 เท่า ในขณะที่การเติบโตของเศรษฐกิจในประเทศ (GDP) ช่วงเดียวกัน เติบโตเพียง 2.2 เท่า ส่วนค่าแรงขั้นต่ำเติบโตเพียง 1.8 เท่า

สาเหตุส่วนหนึ่งเกิดจากการลงทุนที่ต่อเนื่องและอยู่ในหลากหลายอุตสาหกรรม แม้ว่าจะมีกิจการหลักเพียงอันเดียวก็ตาม ยกเว้นในกลุ่มครอบครัวเช่น โสภณพนิช รัตนรักษ์ และล่ำซำ ที่ความร่ำรวยลดลงหลังวิกฤตการณ์เศรษฐกิจเมื่อปี พ.ศ. 2540 ก่อนที่จะกลับคืนมาได้ในภายหลัง (ยกเว้นในกรณีของธนาคารกรุงเทพ ที่เดิมเป็นธนาคารอันดับ 1 กลายเป็นธนาคารอันดับ 3) ส่วนเตชะไพบูลย์ ซึ่งแต่เดิมเคยอยู่ในรายชื่อนี้ กลับหลุดออกไปเพราะการสูญเสียธนาคารมหานคร

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

นอกจากการลงทุนที่หลากหลายในหลากอุตสาหกรรมแล้ว กิจการของครอบครัวเหล่านี้ยังปรับเปลี่ยนไปตามสภาพเศรษฐกิจด้วย อย่างเช่น เครือเจริญโภคภัณฑ์ของเจียรวนนท์ ที่เปลี่ยนไปลงทุนในประเทศจีนมากขึ้น รวมถึงลงทุนในกิจการค้าปลีก การขนส่ง และอื่นๆ อีกจำนวนมาก จากเดิมที่ลงทุนเฉพาะในด้านเกษตรกรรมภายในประเทศเพียงอย่างเดียว ซึ่งไม่เติบโตมากในระยะหลัง รวมถึงการเป็นเจ้าของที่ดินด้วย ซึ่งตระกูลสิริวัฒนภักดีมีที่ดินครอบครองมากถึง 630,000 ไร่

ประเทศไทยติดอันดับความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจเป็นอันดับต้นๆ ของโลก

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

สิ่งที่น่าสนใจก็คือ ในบรรดารายชื่อครอบครัวเศรษฐีเหล่านี้ ถ้ารวม 5 อันดับเข้าด้วยกัน ความมั่งคั่งและความรวยจะเท่ากับอีก 25 ตระกูลรวมกัน และรายชื่อของตระกูลเหล่านี้ไม่มีการเปลี่ยนแปลงมากนักตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ยกเว้นในช่วงหลังที่ประเทศไทยเปิดเสรีมากขึ้น รวมถึงการขยายอันดับจาก 30 ตระกูล เป็น 50 ตระกูล ทำให้มีตระกูลใหม่ๆ เข้ามาอยู่ในรายชื่อเหล่านี้ด้วย

ตัวเลขในปี 2559 ระบุว่า ตระกูลเหล่าร่ำรวยนี้ ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มคนที่ร่ำรวยที่สุด 1% ในประเทศ ครอบครองทรัพย์สินและความมั่งคั่ง 58% ของทั้งประเทศ แพ้อินเดียไป 0.4% เท่านั้น

ดูข่าวต้นฉบับ
ความเห็น 254
  • NIK
    นี้แหละที่เขาเรียกเศรษฐกิจผูกขาด....แต่กม.ทำอะไรไม่ได้
    23 ส.ค. 2562 เวลา 17.28 น.
  • เงินในประเทศจำนวนมากไปกองอยู่กับคนไม่กี่คน และคนเหล่านี้ไม่ยอมจ่ายให้คนจนฟรีๆแน่ แต่มีกำไร เงินในตลาดผลิตมาเท่าไร ส่วนมากคนเหล่านี้ก็จะได้ไปอยู่ดี ควรมีวิชาการเงินเป็นภาคบังคับในระบบการศึกษา
    23 ส.ค. 2562 เวลา 18.59 น.
  • PUnakhonbelieve
    กม.มันเอื้อประโยชน์ เปิดห้างกลางเมือง ขายของ24ชม. ยื่นขอ ได้สัมปทานมาง่ายๆ ช่วยออกกฎหมายสนับสนุนทุกทาง กม.รอห้างเสร็จก่อนค่อยประกาศ สัญญารัฐเสียเปรียบตลอด ที่กล่าวมาคือพวกข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ที่ฉ้อโกงทั้งนั้น ปัจจุบันถ้ามรึงอ่านยุ ยังสุขสบายดีกันยุนะ
    23 ส.ค. 2562 เวลา 22.22 น.
  • เห็นแก่ตัว.ความสุขสบายเข้าตัวและลูกหลาน.จนลืมความเป็นคน.
    23 ส.ค. 2562 เวลา 18.40 น.
  • รวยไปเลยตายแล้วเอาไปไม่ได้ มีแต่คนด่าตาม
    23 ส.ค. 2562 เวลา 22.22 น.
ดูทั้งหมด