อสังหาริมทรัพย์

หาตารางเมตร ตารางวา 2 หน่วยวัดพื้นที่ใช้สอยบ้าน-คอนโดด้วยตัวเอง

DDproperty
เผยแพร่ 10 พ.ค. 2564 เวลา 19.07 น.
หาตารางเมตร ตารางวา 2 หน่วยวัดพื้นที่ใช้สอยบ้าน-คอนโดด้วยตัวเอง

HIGHLIGHTS: 

  • วิธีการคำนวณพื้นที่นั้นมีทั้งใช้หน่วยตารางเมตรและตารางวา

  • ก่อนจะใช้วิธีการคำนวณพื้นที่ใด ๆ ห้ามลืมค่าส่วนกลาง

จะซื้อที่อยู่อาศัย ไม่ว่าจะเป็นบ้าน คอนโดมิเนียม ทาวน์เฮ้าส์ หรือ อพาร์ทเมนท์ ก็ต้องเข้าใจเรื่อง “วิธีคำนวณพื้นที่ใช้สอยแบบเป็นตารางเมตร” เพราะถ้ารู้พื้นที่ใช้สอย คำนวณพื้นที่ใช้สอยเป็น ก็จะรู้ต้นทุนในการซื้อที่อยู่อาศัย รู้ค่าใช้จ่ายทั้งหมดเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย ก่อนตัดสินใจว่าจะผ่อนไหว ไม่ไหว จ่ายไหวไหม นั่นเอง

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

 

ทำความรู้จักหน่วยวัดและการคำนวณพื้นที่ใช้สอย

 

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ทำความรู้จักหน่วยวัดและการคำนวณพื้นที่ใช้สอย

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

 

โดยปกติแล้วเวลาที่เราไปซื้อที่อยู่อาศัย เราอาจจะไม่ต้องคำนวณพื้นที่เอง ทางโครงการจะแจ้งว่า บ้านหลังนี้ ห้องชุดห้องนี้ พื้นที่ใช้สอยเท่าไหร่ แต่ถ้าเรารู้วิธีการคำนวณพื้นที่ไว้ก่อน ก็จะเป็นประโยชน์กับเรามากที่สุด อย่างน้อยก็จะได้รู้ว่าพื้นที่ใช้สอยจริง ๆ ที่เราคำนวณได้ ตรงกับตัวเลขที่โครงการแจ้งหรือไม่

ก่อนจะมาถึงวิธีการคำนวณพื้นที่ มาทำความรู้จักกับหน่วยในการคำนวณพื้นที่ก่อน 

แต่ก่อนที่เราจะรู้วิธีการคำนวณ เรามาทำความเข้าใจกับ “หน่วย” ของพื้นที่กันก่อน โดยหน่วยของพื้นที่ที่อยู่อาศัยจะมีด้วยกัน 2 หน่วยหลัก ๆ คือ ตารางวา (ตร.ว.) และตารางเมตร (ตร.ม.) ซึ่งแต่ละหน่วยจะใช้แตกต่างกัน โดย

  • ตารางวา จะใช้กับการพูดถึง “ที่ดิน”
  • ตารางเมตร จะใช้กับการพูดถึงพื้นที่ใช้สอยทั้งหมด

มีอีกหน่วยที่มักใช้กับที่ดิน ก็คือ ไร่ งาน แต่อาจจะไม่ค่อยเห็นมากนัก ยกเว้นบ้านหลังไร่ พื้นที่ 1 ไร่ หรือพื้นที่โครงการรวมทั้งหมด 30 ไร่ เราจึงจะได้ยินหน่วยนี้

ส่วนวิธีการเทียบค่าระหว่างหน่วย ตารางวา กับ ตารางเมตรนั้น ง่าย ๆ ดังนี้

1 ตารางวา = 4 ตารางเมตร
1 ไร่ = 4 งาน = 400 ตารางวา

ตัวอย่างที่ 1

ทาวน์เฮ้าส์ A มีพื้นที่ที่ดิน 30 ตารางวา คำนวณพื้นที่ดินเป็นตารางเมตร เท่ากับ 30 x 4 = 120 ตารางเมตร ถ้าทาวน์เฮ้าส์ A มี 2 ชั้น ก็มีความเป็นไปได้ว่าจะมีพื้นที่ใช้สอยรวม 240 ตารางเมตร (เป็นวิธีการคำนวณพื้นที่แบบคร่าว ๆ แต่ในความเป็นจริง ถ้าทาวน์เฮ้าส์ชั้น 2 ไม่ได้มีพื้นที่เท่ากับชั้น 1 อาจจะมีพื้นที่ใช้สอยน้อยกว่านี้)

วิธีการวัดพื้นที่ แบบตารางเมตร

Space Calculation_2

เมื่อรู้หน่วยในการคำนวณพื้นที่แล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่ต้องรู้ นั่นก็คือ วิธีการคำนวณพื้นที่ ซึ่งไม่ได้ซับซ้อนเลย เพียงมีอุปกรณ์ช่วยเล็กน้อยอย่าง “ตลับเมตร” ก็เป็นตัวช่วยให้คำนวณพื้นที่ได้แล้ว โดยเริ่มจาก

  • วัดพื้นที่ฝั่งด้านกว้าง และฝั่งด้านยาวของพื้นที่
  • นำตัวเลข “กว้าง” มาคูณ กับตัวเลข “ยาว” ซึ่งตัวเลขกว้าง กับ ตัวเลขยาว จะมีหน่วยเป็น “เมตร” เมื่อ “เมตร” คูณกับ “เมตร” ก็จะกลายเป็น “ตารางเมตร” นั่นเอง
  • เมื่อเราได้ตัวเลขที่เป็นหน่วย ตารางเมตร แล้ว ยังสามารถนำหน่วยตารางเมตร คิดกลับเป็นหน่วย ตารางวา ได้อีกด้วย 

โดยกรณีที่เราสนใจที่ดินแปลงหนึ่ง ไม่ได้ใหญ่มาก เราสามารถใช้ตลับเมตร วัดที่ดินแล้วคำนวณพื้นที่ด้วยวิธีการคำนวณพื้นที่แบบ กว้าง คูณ ยาว แล้วคิดกลับมาเป็นตารางวาได้

ตัวอย่างการคำนวณพื้นที่ดิน
วัดพื้นที่ดินฝั่งกว้าง = 5 เมตร
วัดพื้นที่ดินฝั่งยาว = 24 เมตร
กว้าง คูณ ยาว 5 x 24 = 120 ตารางเมตร
คิดกลับเป็นตารางวา 120 หาร 4 (1 ตารางวา = 4 ตารางเมตร) เท่ากับ 30 ตารางวา
สรุปว่า ที่ดินแปลงนี้มีพื้นที่ 30 ตารางวา

แต่แน่นอนว่า ถ้าที่ดินแปลงใหญ่ ๆ เราคงไม่สามารถนำตลับเมตรมาเดินวัดได้ และในความเป็นจริงที่ดินส่วนใหญ่ไม่ได้มีรูปร่างเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส หรือสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่ใช้วิธีการคำนวณพื้นที่ได้ง่าย ๆ แบบกว้างคูณยาว ส่วนใหญ่จะเป็นพื้นที่ด้านไม่เท่า หากต้องวัดที่ดินขนาดใหญ่จริง ๆ เจ้าหน้าที่วัด หรือผู้เชี่ยวชาญด้านที่ดิน เช่น บริษัทนายหน้า ก็จะมีเครื่องมือวัดและโปรแกรมคำนวณพื้นที่แบบอัตโนมัติ (ใส่ตัวเลขของแต่ละด้านลงไป ก็คำนวณพื้นที่ตารางเมตรมาให้เลย) เราเพียงเรียนรู้วิธีการคำนวณพื้นที่ไว้เป็นพื้นฐานให้เข้าใจเรื่องของพื้นที่ได้ง่ายขึ้น

ตัวอย่างวิธีการคำนวณพื้นที่ (ตารางเมตร)

กรณีที่เป็นพื้นที่ใช้สอยภายในบ้าน หรือภายในห้องชุด เราสามารถคำนวณพื้นที่ได้ไม่ยาก เช่น พื้นที่ห้องนั่งเล่น กว้าง 3.5 เมตร ยาว 4 เมตร ก็เท่ากับว่า

ห้องนั่งเล่น คำนวณพื้นที่ได้ 3.5 x 4 = 14 ตารางเมตร

การวัดขนาดพื้นที่

 

 

 

 

 

 

หน่วยในการคำนวณพื้นที่ ตารางวา กับ ตารางเมตร

หน่วยในการคำนวณพื้นที่ ตารางวา กับ ตารางเมตร

 

ในการซื้อที่อยู่อาศัย ถ้าเป็นบ้านแนวราบ เช่น บ้านเดี่ยว ทาวน์เฮ้าส์ อาคารพาณิชย์ โฮมออฟฟิศ ฯลฯ ก็จะมีตัวเลขพื้นที่ที่เกี่ยวข้องกับเรามาก ๆ 2 ตัวเลข คือ บ้านหลังนั้นตั้งอยู่บนที่ดินกี่ตารางวา และมีพื้นที่ใช้สอยกี่ตารางเมตร เช่น บ้านเดี่ยว 2 ชั้น พื้นที่ดิน 50 ตารางวา พื้นที่ใช้สอยทั้งหมดภายในบ้าน 165 ตารางเมตร

หลายคนอาจจะตั้งคำถามว่า ทำไม พื้นที่ดิน 50 ตารางวา แล้วพื้นที่ใช้สอยถึงไม่ใช่ 50 x 4 (แปลงเป็นตารางเมตร) = 200 ตารางเมตร คูณ 2 ชั้น เป็น 400 ตารางเมตร เหมือนกับตัวอย่างที่ 1 เพราะตัวอย่างที่ 1 เป็นกำลังคำนวณคร่าว ๆ

แต่ในความเป็นจริง บ้านเดี่ยวบนที่ดิน 50 ตารางวาก็จริง แต่ส่วนใหญ่แล้วก็ไม่ได้สร้างเต็มพื้นที่ทั้งหมด 2 ชั้น จะมีพื้นที่ดินรอบตัวบ้าน อาจจะเป็นสวนหน้าบ้าน ที่จอดรถ พื้นที่หลังบ้าน ที่เป็นพื้นที่เพียงชั้นเดียว มีเพียงพื้นที่ตัวบ้านเท่านั้นที่เป็นพื้นที่ 2 ชั้น เมื่อรวมกันทั้งหมดแล้ว จึงไม่ใช่การนำพื้นที่ดิน มาคูณ 4 ตารางเมตรได้เลย

แต่เราสามารถคำนวณพื้นที่ได้จากการวัดพื้นที่รอบบ้าน กับ พื้นที่ภายในบ้านที่เป็น 2 ชั้น แล้วใช้วิธีการคำนวณพื้นที่ใช้สอยทั้งหมดเองได้ ซึ่งอาจจะวัดแยกเป็นรายห้อง เพื่อง่ายแก่การคำนวณพื้นที่ เช่น แบ่งเป็นพื้นที่ด้านนอกเท่าไหร่ พื้นที่ในบ้าน ซึ่งพื้นที่ห้องนั่งเล่น พื้นที่ห้องครัว พื้นที่ห้องน้ำ พื้นที่ห้องนอน ทั้งหมดรวมแล้วเท่าไหร่

ราคาของบ้านแนวราบที่ซื้อในโครงการจัดสรร ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นราคารวม เช่น บ้านเดี่ยว 2 ชั้น พื้นที่ดิน 50 ตารางวา พื้นที่ใช้สอย 165 ตารางเมตร ราคา 3.5 ล้านบาท น้อยมากที่จะแจ้งเป็นราคาตารางเมตร หรือราคาตารางวา ยกเว้นซื้อเป็นที่ดินจัดสรร แล้วนำไปปลูกสร้างบ้านเอง โครงการจะเสนอขายเป็นราคาตารางวา เช่น ที่ดินจัดสรรแปลง A ราคา 50,000 บาท/ตารางวา ถ้ามีเนื้อที่ทั้งหมด 50 ตารางวา ก็เท่ากับ 2.5 ล้านบาท

สร้างบ้านหลังแรก ใช้งบเท่าไหร่

 

ก่อนจะใช้วิธีการคำนวณพื้นที่ ห้ามลืมค่าส่วนกลาง 

นอกจากราคาบ้านแล้ว อีกหนึ่งต้นทุนที่ลืมไม่ได้ คือ ค่าส่วนกลางของโครงการจัดสรร ก็จะนำพื้นที่บ้านที่เราซื้อมาคำนวณเป็นค่าใช้จ่าย ซึ่งทั้งบ้านแนวราบและแนวสูงจะมีความแตกต่างกันอยู่

  • ค่าส่วนกลางของบ้านแนวราบ จะคำนวณพื้นที่จากตัวเลขพื้นที่ดิน นั่นก็คือ

ตัวเลขตารางวา เช่น ค่าส่วนกลาง 15 บาท/ตารางวา/เดือน บ้านเดี่ยว 50 ตารางวา ค่าส่วนกลางก็อยู่ที่ 50x15 =  750 บาท/เดือน

มีน้อยมากที่จะคิดจากพื้นที่ใช้สอย เพราะถ้าคิดจากพื้นที่ใช้สอยทั้งหมด ค่าส่วนกลางคงจะสูงมาก

ดังนั้น ก่อนตัดสินใจซื้อบ้าน นอกจากเงินผ่อนบ้านแล้ว อย่าลืมคำนวณค่าส่วนกลางเป็นต้นทุนประจำที่จะเกิดขึ้นทุกเดือนด้วย

  • คอนโดมิเนียม ส่วนใหญ่แล้ว ตัวเลขที่เกี่ยวกับเราโดยตรง ก็คือ ตัวตารางเมตรของพื้นที่ใช้สอยในห้องชุด

เช่น ห้องชุด B พื้นที่ใช้สอยรวม 35 ตารางเมตร ส่วนตัวเลขที่ดินของโครงการคอนโดมิเนียม ก็จะมีทั้งตัวเลขที่มีหน่วยเป็นตารางวา และมีหน่วยเป็นไร่ เช่น โครงการ AA ตั้งอยู่บนพื้นที่ดินรวมกว่า 3 ไร่ (ถ้าหน่วยที่ดินของโครงการรวมเป็นตารางวา ส่วนใหญ่จะเป็นที่ดินขนาดเล็กมาก ๆ)

สำหรับค่าส่วนกลางคอนโดมิเนียมนั้น จะมีวิธีการคำนวณจากพื้นที่ใช้สอยตารางเมตร เช่น

ค่าส่วนกลาง 35 บาท/ตารางเมตร/เดือน ห้องชุด B พื้นที่ใช้สอยรวม 35 ตารางเมตร ค่าส่วนกลางเท่ากับ 35x35 = 1,225 บาท/เดือน

 

และเช่นกัน ก่อนตัดสินใจซื้อคอนโดมิเนียม นอกจากเงินผ่อนห้องชุดแล้ว อย่าลืมคำนวณค่าส่วนกลางเป็นต้นทุนประจำที่จะเกิดขึ้นทุกเดือนด้วย

 

พื้นที่ที่ใช้ในการคำนวณ

บ้าน-คอนโด จะนำพื้นที่มาใช้ในวิธีการคำนวณพื้นที่แตกต่างกัน

สำหรับพื้นที่ที่ใช้ในการคำนวณ จะนำพื้นที่ใดมาใช้ในวิธีการคำนวณพื้นที่บ้าง ขอแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ

1. บ้านแนวราบ

ได้แก่ บ้านเดี่ยว ทาวน์เฮ้าส์ บ้านแฝด ในส่วนนี้ หากนับบ้านทั้งหลัง อยู่บนพื้นที่ดินเท่าไหร่ จะนำทุกพื้นที่ที่ถือว่าเป็นเขตของตัวเองเรามาคำนวณ ตั้งแต่หน้าประตูบ้าน (ถ้าก่อนถึงหน้าประตู มีทางเข้าบ้านเล็ก ๆ อันนี้ก็ต้องนับ เพราะถือเป็นเขตพื้นที่ของตัวเอง) ลานจอดรถ จนถึงพื้นที่หลังบ้าน แต่จะนับเฉพาะพื้นดิน ถ้าตัวบ้านที่มีชั้นสอง ชั้นสาม ไม่ได้นับ ซึ่งส่วนนี้จะนับเป็นตารางวา แต่ถ้าพูดถึง พื้นที่ใช้สอยทั้งหมด ก็จะหมายถึง พื้นที่ที่ใช้งานได้ทั้งหมด ลานจอดรถ ตัวบ้านในแต่ละชั้น มีพื้นที่ใช้สอยรวมเท่าไหร่ ตรงส่วนนี้จะนับเป็นตารางเมตร

เวลานับมาคิดต้นทุนบ้าน จะคิดจากพื้นที่ใช้สอยทั้งหมด ส่วนการคิดค่าส่วนกลาง ขึ้นอยู่กับโครงการ บางโครงการขึ้นจากพื้นที่ดิน เช่น

  • ค่าส่วนกลาง 20 บาท/ตร.ว./เดือน มีบ้านพื้นที่ 50 ตร.ว. ก็ 20x50 = 1,000 บาท/เดือน
  • บางโครงการคิดจากตารางเมตร เช่น ค่าส่วนกลาง 10 บาท/ตร.ม. ถ้าบ้านมีพื้นที่ 200 ตารางเมตร ก็ 10x200 = 2,000 บาท/เดือน

ต้องสอบถามจากโครงการ หรือนิติบุคคลให้ชัดเจน 

2. คอนโดมิเนียม

มักจะมีวิธีการคำนวณพื้นที่ใช้สอยจากพื้นที่ภายในห้องชุด ตั้งแต่หน้าประตูจนถึงระเบียง แต่บางโครงการที่ทำพื้นที่ตั้งคอมเพรสเซอร์แอร์แยกจากระเบียงห้อง กรณีที่แยกจากกันโดยเด็ดขาดในลักษณะที่เจ้าของห้องใช้พื้นที่นี้ไม่ได้เลย ส่วนใหญ่โครงการจะไม่ได้คิดราคาพื้นที่ส่วนนี้ และพื้นที่ส่วนนี้จะไม่ถูกกำหนดอยู่ในโฉนด ไม่ถูกคิดค่าส่วนกลาง

เช่น ห้องชุด 35 ตร.ม. มีพื้นที่แยกวางคอมเพรสเซอร์แอร์อีก 4 ตร.ม. ก็จะไม่ถูกนำมาใช้ในวิธีการคำนวณพื้นที่

 

แต่บางโครงการก็ออกแบบไว้ลักษณะกันพื้นที่ไว้ให้คอมเพรสเซอร์แอร์ และเจ้าของห้องยังใช้งานพื้นที่ส่วนนี้ได้ ก็จะคิดราคาพื้นที่ส่วนนี้รวมเข้าไปด้วย เช่น พื้นที่ห้อง 30 ตร.ม. พื้นที่ระเบียง 5 ตร.ม. พื้นที่เอนกประสงค์ (จะเลี่ยงใช้คำว่าพื้นที่วางคอมเพรสเซอร์แอร์) อีก 4 ตร.ม. ก็รวมทั้งหมด 39 ตร.ม. เป็นต้น

 

การคำนวณพื้นที่ให้เป็น รู้จักวิธีการคำนวณพื้นที่ นอกจากจะนำมาใช้กับเรื่องต้นทุนต่าง ๆ แล้ว สิ่งสำคัญยังทำให้เรารู้พื้นที่ใช้สอยที่เราได้จริง ๆ นั้น ตรงกับที่โครงการแจ้งไว้ หรือระบุไว้ในโบรชัวร์การขายหรือไม่ เราถูกเอาเปรียบหรือไม่ ในฐานะผู้บริโภครุ่นใหม่ รู้รอบด้าน ไม่เสียเปรียบ

 

สนใจรับบทความดีดี อัปเดต ข่าวอสังหาริมทรัพย์ และ อ่านคู่มือซื้อขาย พร้อม รีวิวโครงการคอนโดฯ ใหม่ บ้านใหม่ หลากหลายทำเลและราคา รวมถึง ทำความรู้จักกับทำเลฮอตทั่วกรุง เพื่อเพิ่มความมั่นใจในการซื้อ-ขาย-เช่า

ดูข่าวต้นฉบับ