ไลฟ์สไตล์

8 อาการ ‘ฮีทสโตรก’ อันตรายถึงตาย

The Bangkok Insight
อัพเดต 20 เม.ย. 2562 เวลา 10.13 น. • เผยแพร่ 20 เม.ย. 2562 เวลา 10.08 น. • The Bangkok Insight

อากาศร้อนขึ้นทุกวัน พยากรณ์อากาศ 12.00 น. วันนี้ (20 เม.ย.) จนถึงเวลา 12.00 น.ของวันพรุ่งนี้ ภาคเหนืออุณหภูมิสูงสุด 40-44 องศาเซลเซียส ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  39-41 องศาเซลเซียส ภาคกลาง 39-42 องศาเซลเซียส ภาคตะวันออก 34-40 องศาเซลเซียส ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก) 34-38 องศาเซลเซียส ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก) 34-37 องศาเซลเซียส กรุงเทพฯ และปริมณฑล 36-40 องศาเซลเซียส

ส่วนกรุงเทพต้องรอลุ้นวันที่ 27 เมษายนนี้ว่า ดวงอาทิตย์ที่จะโคจรมาตั้งฉากกับประเทศไทย เวลา 12.16 น. ในพื้นที่กรุงเทพฯ จะเป็นวันทำลายสถิติอุณหภูมิสูงสุดหรือไม่

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

อุณหภูมิสูงอย่างนี้ ก็ต้องออกโรงเตือนกันบ่อยๆ โดยเฉพาะผู้ที่ต้องทำงานกลางแจ้งเป็นเวลานาน ให้ระวังโรคลมแดด หรือฮีทสโตรก (Heat Stroke) เพราะอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ฮีทสโตรก มีลักษณะอย่างไร ข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุข ระบุว่า เป็นกลุ่มอาการเจ็บป่วยที่รุนแรง เกิดจากการอยู่ หรือออกกำลังกาย หรือทำงานในที่อากาศร้อนจัดเป็นเวลานาน จนร่างกายไม่สามารถปรับตัว หรือควบคุมระดับความร้อนในร่างกายได้ มีผลกับการทำงานของระบบหัวใจ และหลอดเลือด รวมทั้งระบบประสาท ส่งผลทำให้เสียชีวิตจากอวัยวะต่างๆทำงานล้มเหลวได้

8 สัญญาณ ของผู้ที่ถูกฮีทสโตรก ได้แก่

  • อ่อนเพลีย
  • คลื่นไส้อาเจียน
  • ไม่มีเหงื่อออก
  • รู้สึกกระหายน้ำมาก
  • ตัวร้อนขึ้นเรื่อยๆ จนทำให้ความร้อนในร่างกายสูงกว่า 40 องศาเซลเซียล
  • ปวดศีรษะ
  • ความดันโลหิตต่ำ
  • หัวใจเต้นเร็ว หายใจเร็ว เพ้อ ชัก มึนงง หน้ามืด

อาการเหล่านี้หากไม่ได้รับการดูแลอย่างทันท่วงที อาจทำให้หมดสติ และเสียชีวิตได้

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

หากพบผู้มีอาการฮีทสโตรกขอให้ผู้พบเห็นปฏิบัติ ดังนี้

  • รีบนำเข้าที่ร่ม อากาศถ่ายเทสะดวก
  • ให้นอนราบยกเท้าทั้งสองข้างขึ้นสูง เพื่อเพิ่มการไหลเวียน
  • ถอดเสื้อผ้าให้เหลือน้อยชิ้น คลายชุดชั้นใน
  • ใช้ผ้าชุบน้ำเย็น น้ำแข็งประคบตามซอกคอ หน้าผาก รักแร้ ขาหนีบร่วมกับใช้พัดลมเป่า เพื่อระบายความร้อนและลดอุณหภูมิ
  • ร่างกายให้ต่ำลงอย่างรวดเร็วที่สุด
  • หากไม่หมดสติให้ดื่มน้ำเปล่ามากๆ และนำส่งโรงพยาบาลโดยเร็ว หรือโทรสายด่วน 1669

แต่การป้องกันตัวเอง หลีกเลี่ยงฮีทสโตรกไว้ก่อนย่อมดีกว่า ข้อแนะนำสำหรับป้องกัน ได้แก่

  • พยายามหลีกเลี่ยงการอยู่กลางแดดจัด
  • ควรอยู่ในที่ที่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก
  • ไม่ออกกำลังกาย หรือทำงานกลางแดดเป็นเวลานาน
  • สวมเสื้อผ้าที่โปร่งสบาย สีอ่อน ระบายอากาศได้ดี ไม่รัดรูป
  • สวมแว่นกันแดด กางร่ม ทาโลชั่น
  • ควรดื่มน้ำให้เพียงพอ อย่าปล่อยให้ร่างกายขาดน้ำ จนรู้สึกกระหาย หรือริมฝีปากแห้ง ควรดื่มน้ำ 1-2 แก้ว ก่อนออกบ้านในวันที่อากาศร้อน
  • เลือกออกกำลังกายการช่วงเช้าหรือเย็น
  • หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
  • ดูแลไม่ให้เด็ก ผู้สูงอายุ อยู่กลางแดด หรือในรถที่จอดตากแดด
  • ผู้มีโรคเรื้อรังให้รับประทานยาตามแพทย์สั่ง

 

ส่วนกลุ่มเสี่ยงที่ต้องดูแล และป้องกันฮีทสโตรกเป็นพิเศษ มี 6 กลุ่มเสี่ยง ประกอบด้วย

  • ผู้ที่ทำงาน หรือทำกิจกรรมกลางแดด เช่น ออกกำลังกาย คนงานก่อสร้าง เกษตรกร
  • เด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี และผู้สูงอายุ
  • ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคความดันโลหิตสูง
  • คนอ้วน
  • ผู้ที่พักผ่อนไม่เพียงพอ
  • ผู้ที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

หากผู้ที่ต้องทำงานกลางแจ้ง เลี่ยงไม่ได้ที่ต้องอยู่กลางแดดจ้าเป็นเวลานานให้ปฏิบ้ติ ดังนี้

  • ดื่มน้ำชั่วโมงละ 1 ลิตร
  • สังเกตหากตัวร้อนจัด แต่ไม่มีเหงื่อ อ่อนเพลีย หัวใจเต้นเร็ว ให้รีบเข้าที่ร่มทันที
  • หลังเข้าที่ร่ม ให้ระบายความร้อนในร่างกาย โดยใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดตัว แช่ตัวในน้ำ ฉีดพรมน้ำแล้วเป่าด้วยลม ประคบน้ำแข็ง จิบน้ำบ่อยๆ
นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย

ส่วนกรณีการเสียชีวิตของชายจังหวัดสุพรรณบุรี ที่บ่นอากาศร้อน และหักดิบหยุดดื่มเหล้า นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมควบโรค อธิบายว่า กรณีดังกล่าว กรมควบคุมโรคขอให้ข้อมูลเบื้องต้นว่า การหักดิบหยุดดื่มเหล้ากะทันหัน ไม่ได้ทำให้เสียชีวิตแต่อย่างใด แต่อาจเกิดจากโรคแทรกซ้อนที่เป็นอยู่ ส่วนในรายที่ติดเหล้าขั้นรุนแรง ร่างกายอาจปรับสภาพไม่ทัน หากจะเลิกดื่ม ควรเข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์ก่อน เพื่อวางแผนในการเลิกดื่มเหล้า

ดูข่าวต้นฉบับ
ความเห็น 1
  • Dee Dee
    👍👍👍ขอบคุณสำหรับข้อมูลที่เป็นประโยชน์นี้ครับ👍👍👍
    20 เม.ย. 2562 เวลา 12.36 น.
ดูทั้งหมด