ทั่วไป

กลุ่มชาวพุทธยื่นกองปราบ กรณีเพิกถอนฮาลาล แต่พงส.ไม่มีอำนาจรับคดี

Thairath - ไทยรัฐออนไลน์
อัพเดต 19 ก.ย 2562 เวลา 11.59 น. • เผยแพร่ 19 ก.ย 2562 เวลา 08.23 น.
ภาพไฮไลต์

กลุ่มชาวพุทธพลังแผ่นดิน ยื่นกองปราบฯ กรณีเอาผิด 8 ผู้พิพากษาศาลปกครอง หลังไปยื่นศาลให้เพิกถอนเครื่องหมายฮาลาลออกจากสินค้า แล้วศาลไม่รับคำร้อง แต่พงส.ไม่มีอำนาจรับคดี 

เมื่อเวลา 11.00 น. วันที่ 19 ก.ย. ที่ กองบังคับการปราบปราม (บก.ป.) นายจรูญ วรรณกสิณานนท์ และทนายพงศ์นรินทร์ อมรรัตนา พร้อมกลุ่มชาวพุทธพลังแผ่นดิน เข้าพบ ร.ต.อ.รัถย์ศานต์ ประจิตร์ รอง สว.สอบสวน กก.3 บก.ป. เพื่อแจ้งความดำเนินคดีกับผู้พิพากษาศาลปกครอง จำนวน 8 คน แบ่งเป็นผู้พิพากษาศาลปกครองสูงสุด 5 คน คือ 1.นายมนูญ ปุญญกริยากร 2.นายสมรรถชัย วิศาลาภรณ์ 3.นายประวิตร บุญเทียม 4.นายสมชัย วัฒนการุณ และ 5.นายไพบูลย์ วราหะไพฑูรย์ และผู้พิพากษาศาลปกครองกลาง 3 คน คือ 1.นายนิทัศน์ แช่มช้อย 2.นายสัมฤทธิ์ อ่อนคำ และ 3.นายคม บูรณวรศิลป์ ฐานร่วมกันปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ฐานวินิจฉัยคดีโดยไร้ความสามารถ และในลักษณะช่วยเหลือผู้กระทำผิด

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

นายจรูญ กล่าวว่า สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 10 มี.ค. 2560 ตนและกลุ่มชาวพุทธพลังแผ่นดินได้ยื่นฟ้องจุฬาราชมนตรีและคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยจำนวน 16 คน ในข้อหาเป็นเจ้าพนักงานผู้ใช้อำนาจทางการปกครองตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ 5/2543 ได้ออกระเบียบเก็บเงินฮาลาลโดยมิชอบ โดยไม่มีอำนาจและเป็นการทุจริตโดยขอให้ศาลมีคำสั่งว่า ตรารับรองฮาลาลเป็นสิ่งผิดกฎหมาย ขอให้เพิกถอนเครื่องหมายฮาลาลดังกล่าวออกจากสินค้าทั่วราชอาณาจักร และขอให้เรียกเก็บคืนสินค้าฮาลาลทั้งหมดออกจากตลาดภายในเวลา 3 เดือน รวมทั้งขอให้ชดใช้ค่าเสียหายแก่ผู้ผลิตสินค้าผู้ประกอบการหรือผู้บริโภคที่ได้รับความเสียหายตลอดระยะเวลาที่กระทำความผิดพร้อมดอกเบี้ยในอัตรา 7.5 ต่อปี นับตั้งแต่วันมีการออกระเบียบโดยมิชอบ และขอให้ศาลมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวห้ามมิให้ใช้เครื่องหมายฮาลาลจนกว่าคดีจะถึงที่สุด

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

นายจรูญ กล่าวต่อว่า เรื่องนี้ศาลปกครองชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องไว้พิจารณา โดยให้เหตุผลว่า ไม่ใช่คำสั่งทางปกครอง แต่เป็นคำสั่งทางศาสนา ตนจึงได้ยื่นฟ้องอุทธรณ์ต่อ ซึ่งศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยว่าอยู่ในอำนาจของศาลปกครอง แต่ผู้ฟ้องไม่มีสิทธิ์ฟ้องตามมาตรา 42 เพราะไม่ใช่ผู้เสียหายโดยตรง จึงเห็นว่าเป็นการวินิจฉัยที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะมาตรา 42 กำหนดว่า ผู้ใดได้รับความเดือดร้อนเสียหายโดยมิอาจหลีกเลี่ยงได้ อันเนื่องมาจากกระทำของหน่วยงานทางปกครอง ผู้นั้นมีสิทธิ์ฟ้องคดีต่อศาลปกครองได้ ซึ่งตนเป็นผู้เสียหายโดยตรงที่เป็นผู้บริโภคสินค้าที่มีตราฮาลาล ที่ผู้ประกอบการได้รวมค่าธรรมเนียมตราฮาลาลในต้นทุนการผลิตแล้ว โดยไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ จึงถือได้ว่าการไม่รับคำร้องดังกล่าวเพื่อพิจารณา ทำให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชนคนไทยทุกคน และหน่วยงานรัฐกว่าหมื่นล้านบาท

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ด้านพนักงานสอบสวนตรวจสอบเอกสารและข้อมูลแล้ว พบว่าไม่เข้าหลักเกณฑ์การรับคดีของกองปราบปราม.

ข่าวอื่นที่เกี่ยวข้อง

ตามข่าวก่อนใครได้ที่
- Website : www.thairath.co.th
- LINE Official : Thairath

ดูข่าวต้นฉบับ
ความเห็น 7
  • T.cho
    กรู ว่าพวกมึงไปศรีธัญญาจะดีกว่า
    19 ก.ย 2562 เวลา 10.11 น.
  • หน่อง.55
    ไอ่พวกเพี้ยน.อยากดัง.กลุ่ม(จะมีซักกี่คนวะ?)ของเอ็งแหละจะทำให้ศาสนาและชาวพุทธแปดเปื้อนหม่นหมอง😎
    19 ก.ย 2562 เวลา 10.17 น.
  • ปุ๊
    ทีสำนักจานบินแม่งเงียบกริบ ชิตังเม โป๊กๆ
    19 ก.ย 2562 เวลา 10.28 น.
  • Yut
    เค้ามีไว้คนอิสลามแดกจะได้สบายใจ เอาออกแล้วคนอิสลามจะกล้าแดกไหม กล้าทำธุรกิจไหม ยิ่งคนศาสนาอื่นจะทำธุรกิจกับคนมุสลิมเค้าจะทำไง ไม่เห็นด้วยกรณีเดียวตรวจฮาลามแล้วก็เก็บตังค์ แต่มาตรวจทุกปีเก็บทุกปีอันนี้ไม่ควรเหมือนไปไถ่ตังค์ชาวบ้าน
    19 ก.ย 2562 เวลา 10.17 น.
  • ธีระพงษ์
    ส่วนท้ายสุดของฝ่าเท้า คือส้นตีน เอาไปเลยมึงกลุ่มนี้ เอาเรื่องไม่เป็นเรื่องมาเป็นเรื่องรกประเ ทศไทย
    19 ก.ย 2562 เวลา 10.31 น.
ดูทั้งหมด