ว๊าว! ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี จะทำให้ประเทศเจริญจริงหรือ?
หลังจาก มีการพูดถึงถกเถียง เปลี่ยนคณะกรรมการ ล้างแผนแล้วล้างอีก ในท่ีสุด ‘ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี’ ได้มีผลประกาศใช้บังคับแล้ว หลังจากที่เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่พระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ใช้ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580 เมื่อวันที่ 13 ตุลาคมที่ผ่านมา พร้อมกับ ‘แผนงาน’ สวยหรู เพื่อนำไปสู่การการปฏิบัติเพื่อบรรลุวิสัยทัศน์ “ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียง”
โดยมุ่งเน้น 6 หัวข้อหลัก ไปที่ 1. ความอยู่ดีมีสุขของคนไทยและสังคมไทย 2. ขีดความสามารถในการแข่งขัน การพัฒนาเศรษฐกิจ และการกระจายรายได้ 3. การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศ 4. ความเท่าเทียมและความเสมอภาคของสังคม 5. ความหลากหลายทางชีวภาพ คุณภาพสิ่งแวดล้อม และความยั่งยืนของทรัพยากรธรรมชาติ 6. ประสิทธิภาพการบริหารจัดการและการเข้าถึงการให้บริการของภาครัฐ ซึ่งแน่นอนว่าถ้าดูแค่เผินๆ นี่ก็คงเป็นแผนที่สวยงามและน่าสนใจ
หากแต่เมื่อพิจารณาในรายละเอียดแบบเจาะลึก จะเห็นว่า ‘ยุทธศาสตร์’ ที่จะเป็นตัวกำหนด ‘อนาคต’ ของประเทศไทยในอีก 20 ปีข้างหน้า นั้นแทบไม่มีเนื้อหาอะไรสักอย่างที่จะบอกได้ว่าต้องทำอย่างไร เพื่อสร้างความ มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ได้อย่างที่รัฐบาลบอกเอาไว้
เราแนะนำให้ลองเข้าไปอ่านแผนงานฉบับเต็มความยาว 74 หน้า A4 ทั้งหมดที่ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/A/082/T_0001.PDF แต่ถ้ามีเวลาไม่ว่างพอ ก็ไม่เป็นไร เพราะเท่าที่เราใช้เวลา 2 ชั่วโมงเต็มเข้าไปอ่านอย่างละเอียด จะพบว่าสาระสำคัญแทบไม่มีอะไรมากกว่าการ ‘ประดิษฐ์’ วาทกรรม ที่ใช้คำว่า ‘มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน สร้างโอกาส รักษาเสถียรภาพ อนุรักษ์ ปลอดภัย เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ฯลฯ’ ซ้ำไปซ้ำมา โดยที่ยังไม่รู้เลยว่า ‘อนาคต’ ของประเทศตามที่กล่าวอ้าง นั้นมีสาระสำคัญอยู่ตรงไหน
แต่นั่นยังไม่ใช่เรื่องที่น่ากังวลที่สุด เพราะที่ผ่านมามีหลายประเทศที่เคยงัดกลยุทธ์แผนยุทธศาสตร์มาใช้ สุดท้ายแทนที่อนาคตจะสดใส กลับกลายเป็นพาประเทศลงเหว แบบที่ต้องเวลาอีกหลายปีเพื่อกอบกูกลับมา ตัวอย่างที่ชัดๆ คือ แผนยุทธศาสตร์ ‘Bolivarian Mission’ ของประธานาธิบดีชาเวซแห่งเวเนซูเอล่า ที่ตอนแรกได้รับความชื่นชมจากประชาชนอย่างท้วมท้น แต่ด้วยโครงสร้างที่ฉาบฉวย สร้างฝันไม่สามารถปฏิบัติได้จริง ทำให้ไม่ถึง 20 ปีให้หลัง จากประเทศที่มั่งคั่งทรัพยากรที่สุด ก็แทบไม่เหลืออะไรให้พูดถึงอีกต่อไป
ที่ชัดกว่านั้น คือ แผนยุทธศาสตร์จากประเทศเพื่อนบ้าน Burmese Way to Socialist ของจอมพลเนวิน ที่ปฏิวัติพม่าในปี พ.ศ. 2505 ที่บอกว่าจะพัฒนาประเทศโดยใช้ สังคมนิยม ชาตินิยม และพุทธศาสนาเป็นหลัก แต่จริงๆ แล้วเป็นการสนับสนุนระบอบ ‘ทหารนิยม’ (คุ้นๆ หรือเปล่านะ) จนรัฐบาลทหารสามารถครองอำนาจยาวนาน จน 40 ปีให้หลัง จากประเทศมั่งคั่ง พม่ากลายเป็นประเทศที่ยากจนอันดับ 2 ของเอเชียไปในที่สุด
ความน่ากังวลที่มากไปกว่านั้นคือ ยุทธศาสตร์ชาติฉบับนี้ จัดทำและพิจารณาโดยคนที่ คสช.แต่งตั้งมาทั้งสิ้น แถมยังปักธงชัดเจนว่า ยุทธศาสตร์นี้จะมี สภาพบังคับให้รัฐบาลชุดต่างๆ ไปต้องจัดทำนโยบายและงบประมาณที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ และหน่วยงานราชการต่างๆ ต้องปฏิบัติตาม ไม่เช่นนั้นอาจส่งให้ ป.ป.ช.เอาผิดหัวหน้าหน่วยงานนั้นๆ ได้ โดยจะมี ส.ว.ที่ คสช.แต่งตั้ง เข้ามาช่วยเร่งรัดการดำเนินการให้เป็นไปตามยุทธศาสตร์ชาติอีกที
พูดง่ายๆ ก็คือ หากคณะส.ว. ที่มีอำนาจเห็นว่าใครไม่ปฏิบัติตามแผนนี้ ก็สามารถตัดสินโทษปลดออกจากตำแหน่งได้ทุกที่ทุกเวลา
ยังไม่นับรวมถึง ‘แผนงาน’ ที่เหล่าผู้ทรงคุณวุฒิจากคสช. มอบหมายให้สร้างขึ้นมานั้นวนเวียนอยู่กับเรื่องเก่าๆ ในขณะที่อีกหลายประเทศทั่วโลกที่มีแผนยุทศาสตร์ชาติระยะยาว เขามองไปที่การวางแผนสำหรับยุคอุตสาหกรรม 4.0 หรือเศรษฐกิจดิจิทัลที่เทคโนโลยีสารสนเทศถูกนำมาผนวกกับอุตสาหกรรมต่างๆ อย่างแยกจากกันไม่ได้ หรือให้ความสำคัญกับการพัฒนาแหล่งพลังงานหมุนเวียนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างแท้จริง
ยกตัวอย่างเช่นจีน ที่วางเป้าว่าต้องขึ้นมาเป็นผู้เล่นหลักในด้าน AI ของโลก ภายในปี 2030 และก็อัดเงินทุนมหาศาล 3.2 แสนล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อคิดค้นนวัตกรรมและสร้างทีมบุคลากรด้านวิศวกรรมจำนวนมากที่พร้อมเข้าสู่สนาม AI
เอสโตเนีย ประเทศที่มีประชากร 1.3 ล้านคน แต่สามารถขึ้นมาเป็นผู้นำด้านบริการสาธารณะด้วยระบบออนไลน์ในยุโรป ด้วยยุทธศาสตร์ที่ชัดเจนจากการกำหนดยุทธศาสตร์ ที่จะเป็นซิลิคอนแวลลีย์แห่งยุโรปหรือศูนย์กลางด้านดิจิทัลในภูมิภาค ทั้งการผลักดันนโยบายพลเมืองอิเล็กทรอนิกส์ (e-Citizenship) สามารถอำนวยความสะดวกให้ประชาชนสามารถทำธุรกรรม หรือติดต่อราชการผ่านทางระบบดิจิทัล ไปจนถึงการพัฒนาแพลตฟอร์มรองรับต่างๆ ที่เปิดทางให้พลเมืองสามารถออกเสียงเลือกตั้งในระบบออนไลน์ รวมถึงลงประชามติ เรียกได้ว่าเข้าสู่ยุครัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (e-Government) เต็มรูปแบบ
และถ้ามองกลับมาที่ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ของประเทศเรา ที่เพิ่งมีภาพนายกรัฐมนตรีที่เพิ่งประกาศตัวว่า จะใช้ช่องทางโซเชียลมีเดีย เพื่อเพิ่มช่องทางการติดต่อกับประชาชนให้มากขึ้น จนถึงขั้นมีแฮชแท็ก #ตู่ดิจิทัล ขึ้นมา แต่ตัดภาพมาอีกที เรายังเห็นนายกของเรา ยังถ่ายรูปตัวเองอ่านคอมเมนต์เฟซบุ๊กผ่าน ‘แผ่นกระดาษ’ อยู่เลย!!!
ยังไม่นับรวมแผนล่าสุด ที่รัฐบาลมอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เป็นหน่วยงานหลักในการสรุปข้อมูลและจัดทำเนื้อหาเกี่ยวกับยุทธศาสตร์ชาติให้นักเรียนรับรู้ ว่ายุทธศาสตร์ชาติมีความเกี่ยวข้องอย่างไรกับนักเรียน โดยต้องจัดทำเป็นหลักสูตรเข้าไปสอดแทรกในการเรียนการสอนปกติ
ซึ่งยังไม่แน่ใจว่า นี่คือการวางรากฐานที่มั่นคงให้กับประเทศชาติ’ หรือเป็นการสร้างรากฐานที่มั่นคงยิ่งกว่าของคณะรัฐบาล โดย ‘ฝัง’ ความคิดบางอย่างให้กับเด็กๆ ที่นับว่าเป็น ‘อนาคตของชาติ’ ตัวจริงกันแน่
เพราะอย่าลืมว่า โมเดลการยัดเยียดแนวคิดของรัฐบาลผ่านโครงสร้างพื้นฐานการศึกษา นั้นจะพบได้ง่ายๆ ในฐานะ ‘Propaganda’ หรือโฆษณาชวนเชื่อในประเทศที่ใช้ระบบการปกครองแบบคอมมิวนิสต์เป็นส่วนใหญ่มากกว่า
แต่มองแบบนี้ก็อาจจะเพราะโลกในแง่ร้ายเกินไปหน่อย เพราะนายกของเราก็ยืนยันอยู่ตลอดเวลาอยู่แล้ว ว่า ถึงแม้จะเลื่อนเลือกตั้งบ่อยไปหน่อย แต่ทุกอย่างที่รัฐบาลทำก็เป็นไปตามกลไกของระบอบประชาธิปไตยจริงจริ๊ง!
อ้างอิง
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/A/082/T_0001.PDF
🐲Np~)NuTtHaPoNg(~qN🐲 ไม่ต้อง20ปีหรอกครับ แค่ 4 ปี ตู่อยู่ตอนเนี้ยดีขนาดไหน เอาคนโง้มาคิดล่วงหน้าตั้ง 20 ปี
23 ต.ค. 2561 เวลา 01.54 น.
Somboon Buakai ถอยหลังลงคลองครับ
23 ต.ค. 2561 เวลา 01.59 น.
ถวิล เอาคนที่ไม่มีความคิดก้าวหน้ามานั่งคิด เอาเต่ามานั่งคิด การวางแผนที่จะพัฒนาชาติต้องมองไกล ไม่ไช่ยุคไช้ดาบฟันกัน ต้องไช้หัวสมองคิด ฉะนั้นผุ้นำต้องมองการไกลกว่าผุ้ตาม ยิ่งเอา สว ลากตั้งขึ้นมาถ่วงความเจริญอีกพวกโง่มึงเอ๋ย ชาติอาจตามพม่าก้อได้
23 ต.ค. 2561 เวลา 03.03 น.
nui ผมขอตั้งข้อหาคุณ "หลอกลวงประชาชน"
23 ต.ค. 2561 เวลา 02.40 น.
ณฐพัฒน์ 341 ปวดตับ
23 ต.ค. 2561 เวลา 02.17 น.
ดูทั้งหมด