ไลฟ์สไตล์

สำเนียง "เหน่อ" ของสุพรรณ ที่เรียกว่า "เหน่อสุพรรณ" มาจากไหน?

ศิลปวัฒนธรรม
อัพเดต 14 ธ.ค. 2565 เวลา 10.58 น. • เผยแพร่ 14 ธ.ค. 2565 เวลา 10.16 น.
เมื่อภัยโจรลามไปทั่วสุพรรณ แม้แต่ที่ตลาดเก้าห้อง อำเภอบางปลาม้า ยังมีหอดูโจร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2477

เหน่อ หมายถึง เสียงพูดเพี้ยนไปจากสำเนียงที่ถูกถือว่าเป็นมาตรฐาน เช่น เสียงเหน่อ, พูดเหน่อ [สรุปจากพจนานุกรม ฉบับมติชน พ.ศ.2547 หน้า 933] ลาวเรียก เหน้อ เช่น เสียงเหน้อ พูดเหน้อ [สรุปจากสารานุกรมภาษาอีสาน-ไทย-อังกฤษโดย ปรีชา พิณทอง พ.ศ.2532 หน้า 894]

เหน่อสุพรรณ หมายถึง เสียงพูดของชาวสุพรรณบุรี เพี้ยนไปจากสำเนียงที่ถูกถือว่ามาตรฐาน สำเนียงมาตรฐาน ของยุคปัจจุบัน คือสำเนียงบางกอก เริ่มอย่างกว้างๆ ตั้งแต่หลังสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานี พ.ศ. 2325

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

“เหน่อ” สุพรรณมาจากไหน?

มีร่องรอยหลายอย่างที่ชวนให้เชื่อว่า มาจากสำเนียงลาวลุ่มน้ำโขง ซึ่งเคลื่อนที่ไปตามเส้นทางคมนาคมการค้าเข้าลุ่มน้ำน่าน-ยม (ภาคตอนบน) แล้วลงฟากตะวันตกแม่น้ำเจ้าพระยา (ภาคกลาง ตอนล่าง) ดังนี้

1. สำเนียงชาวหลวงพระบางปัจจุบันใกล้เคียงมากกับสำเนียงเหน่อสุพรรณ

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

2. เส้นทางคมนาคมจากลุ่มน้ำโขง ลงฟากตะวันตกแม่น้ำเจ้าพระยา ผ่านลุ่มน้ำเลย (จ.เลย) ลุ่มน้ำน่าน (จ.อุตรดิตถ์-พิษณุโลก) ลุ่มน้ำยม (จ.สุโขทัย) ปัจจุบันท้องถิ่นเหล่านี้พูดสำเนียงเหน่อ โดยเฉพาะ จ.เลย ใกล้ทางหลวงพระบาง

3. นิทานขุนบรม มีลูกชาย 7 คน แยกย้ายไปก่อบ้านสร้างเมือง คนโตไปอยู่เมืองหลวงพระบาง คนที่ห้าไปอยู่เมืองอโยธยา หมายถึงลุ่มน้ำเจ้าพระยา บริเวณสุพรรณภูมิถึงอโยธยา

เป็นสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมว่าอำนาจของภาษาและวัฒนธรรมไต – ไท เคลื่อนที่จากลุ่มน้ำโขงลงลุ่มน้ำเจ้าพระยา

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

อ่านเพิ่มเติม :

สำหรับผู้ชื่นชอบประวัติศาสตร์ ศิลปะ และวัฒนธรรม แง่มุมต่าง ๆ ทั้งอดีตและร่วมสมัย พลาดไม่ได้กับสิทธิพิเศษ เมื่อสมัครสมาชิกนิตยสารศิลปวัฒนธรรม 12 ฉบับ (1 ปี) ส่งความรู้ถึงบ้านแล้ววันนี้!! สมัครสมาชิกคลิกที่นี่

เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรกเมื่อ 23 มกราคม 2561

ดูข่าวต้นฉบับ
ความเห็น 2
  • Chan
    ไม่ได้สาระ
    04 มี.ค. 2564 เวลา 10.04 น.
  • Tom
    มาจากนิวยอร์กมั้ง
    04 มี.ค. 2564 เวลา 09.47 น.
ดูทั้งหมด