ไอที ธุรกิจ

สปส. ให้สถานประกอบการแจ้งเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงเรื่องหยุดงานลูกจ้าง

ฐานเศรษฐกิจ
อัพเดต 30 พ.ค. 2563 เวลา 02.36 น. • เผยแพร่ 30 พ.ค. 2563 เวลา 01.21 น. • Thansettakij

 

นายทศพล กฤตวงศ์วิมาน เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม (สปส.) กระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า จากการที่สำนักงานประกันสังคมจ่ายสิทธิประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานเนื่องจากเหตุสุดวิสัย โดยให้นายจ้าง รีบดำเนินการยื่นหนังสือรับรองการขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานเนื่องจากมีเหตุสุดวิสัยให้แก่ ลูกจ้าง ผู้ประกันตน เพื่อประกอบการพิจารณาวินิจฉัยรับเงินว่างงานฯ ต่อสำนักงานประกันสังคม นั้น

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

เนื่องจากสถานการณ์แพร่ระบาดของโรควิด-19 ในประเทศไทยได้คลี่คลายลง รัฐบาลได้มีมาตรการผ่อนคลายให้ดำเนินการหรือทำกิจกรรมบางอย่าง เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกของประชาชน และขับเคลื่อนกิจกรรมบางอย่าง ทำให้สถานประกอบการบางประเภทสามารถเปิดดำเนินการได้ จากผลสืบเนื่องดังกล่าว สำนักงานประกันสังคมขอความร่วมมือนายจ้างแจ้งการเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริง ในเรื่องการหยุดงานของลูกจ้าง ผู้ประกันตน ในหนังสือรับรองการขอรับประโยชน์ในกรณีว่างงานเนื่องจาก มีเหตุสุดวิสัยต่อสำนักงานประกันสังคม ในกรณีดังนี้
         

 - กรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างกลับเข้าทำงานก่อนวันที่รับรองไว้แล้ว ให้ยื่นหนังสือรับรองแจ้งวัน กลับเข้าทำงานของลูกจ้าง
 - กรณียังไม่สามารถให้ลูกจ้างทำงานได้ และต้องให้ลูกจ้างหยุดงานต่อหลังจากคำสั่งรัฐ สั่งเปิดแล้ว ให้ยื่นหนังสือรับรองแจ้งเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงตามที่นายจ้างมีคำสั่งให้ลูกจ้างหยุดงานจนถึงวันที่สิ้นสุดการหยุดงาน
 - กรณีเปลี่ยนแปลงสาเหตุการหยุดงานเนื่องจากมีเหตุสุดวิสัยของลูกจ้างให้ยื่นหนังสือรับรองใหม่ โดยระบุสาเหตุการหยุดงาน วันที่เริ่มต้น และวันที่สิ้นสุด

ทั้งนี้ ขอความร่วมมือให้นายจ้างรีบดำเนินการภายใน 7 วัน นับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลง โดยสามารถแจ้งเปลี่ยนแปลงข้อมูลได้ในระบบ e-service บนเว็บไซต์สำนักงานประกันสังคม www.sso.go.th สำหรับนายจ้างที่ไม่ได้ยื่นผ่านระบบ e-service สามารถดาวโหลดแบบฟอร์มในแบบแจ้งการกลับเข้าทำงานของลูกจ้างที่เป็นผู้ประกันตน กรณีว่างงานเนื่องจากมีเหตุสุดวิสัย ได้ที่เว็บไซต์สำนักงานประกันสังคม www.sso.go.th เมนู ดาวน์โหลด เลือกแบบฟอร์มที่ต้องใช้กรณีว่างงาน โดยสามารถยื่นแบบได้ที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ทั้ง 12 แห่ง/จังหวัด/สาขา อย่างไรก็ตามขอให้นายจ้างเห็นความสำคัญ หากไม่ดำเนินการแจ้งเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงอาจมีผลกระทบต่อสิทธิประโยชน์ของผู้ประกันตนในกรณีอื่นๆ ได้

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

 

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง
ดูข่าวต้นฉบับ
ความเห็น 1
  • James Rin
    แล้วที่นายจ้าง ยังไม่ยอมเซ็นใบรับรองการเลิกจ้างละ ก.แรงงาน จะช่วยลูกจ้างอย่าง (ก็เขายังไม่ยอมออกใบรับรองเลิกจ้างนะ) โดยทักท่วงนายจ้างไปหลายครั้งแล้วก็ยังเมินเฉย จะให้ทำอย่างไงครับ (เดือนร้อนมาเป็นเดือนแล้ว)
    30 พ.ค. 2563 เวลา 03.04 น.
ดูทั้งหมด