ไลฟ์สไตล์

คนไทยป่วยเบาหวาน 5 ล้านคน

NATIONTV
อัพเดต 19 ต.ค. 2562 เวลา 14.00 น. • เผยแพร่ 20 ต.ค. 2562 เวลา 00.00 น. • Nation TV
คนไทยป่วยเบาหวาน 5 ล้านคน

คนไทยป่วยเบาหวาน 5 ล้านคน แนวโน้มเพิ่มจำนวน-รุนแรงขึ้น ควบคุมระดับน้ำตาลเพียง 40% ตายจากเบาหวาน-ภาวะแทรกซ้อน 21.96% สูญเสียค่าใช้จ่ายรักษาเบาหวานและ 3 โรคร่วม ปีละถึง 3 แสนล้านบาท

นพ.ณรงค์ อภิกุลวณิช รองอธิบดีกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข กล่าวในการเป็นประธานเปิดการเสวนา "การแลกเปลี่ยนเรียนรู้การสร้างเครือข่ายและชมรมเบาหวานของประเทศไทย" จัดโดยสมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทยว่า ปัจจุบันคนไทยป่วยเป็นเบาหวานประมาณ 5 ล้านคนและมีแนวโน้มเป็นเบาหวานเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆจากปีพ.ศ. 2534 คนไทยเป็นเบาหวาน 2.3% และปี 2557 เพิ่มขึ้นเป็น 8.9 % ซึ่งถือเป็นสิ่งที่น่ากังวล

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

โดยจากการสำรวจสุขภาพประชาชนในประเทศไทยพบว่าประชากรเสียชีวิตจากโรคเบาหวานและภาวะแทรกซ้อนถึง 21.96% และยังควบคุมระดับน้ำตาลได้น้อยมากประมาณ 40 % ในขณะที่สามารถควบคุมทั้ง 3 อย่าง คือ ระดับน้ำตาล ไขมัน และความดันโลหิตได้ประมาณ 12 %เท่านั้น ทำให้ประเทศไทยต้องสูญเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาโรคเบาหวานเฉลี่ยสูงถึง 47,596 ล้านบาทต่อปี และหากมี 3 โรคร่วมด้วย ได้แก่โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและโรคหลอดเลือดสมอง ทำให้ต้องสูญเสียค่าใช้จ่ายประมาณ 3 แสนล้านบาทต่อปี

"แนวโนัมผู้ป่วยเบาหวานเพิ่มขึ้นทั้งจำนวนผู้ป่วยและความรุนแรง จากภาวะแทรกซ้อนจนทำให้ต้องสูญเสียอวัยวะและเสียชีวิต ซึ่งแผนยุทธศาสตร์แผนยุทธศาสตร์ชาติด้านสาธารณสุขในระยะ 5 ปีแรก ตั้งแต่พ.ศ. 2560 -2564 มีแผนงานเพื่อให้มีผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่ลดลง 5% ต่อปี รวมถึงผู้ป่วยความดันรายใหม่ลดลง 2.5% ต่อปีด้วยเช่นกัน ในฐานะกรมการแพทย์มีเป้าหมายการทำงานที่จะมุ่งพัฒนางานเพื่อให้ประชาชนได้รับบริการทางการแพทย์ที่มีคุณภาพและมาตรฐานวิชาชีพอย่างเสมอภาคภายในพ.ศ. 2564 ภายใต้ภารกิจการสร้างและถ่ายทอดองค์ความรู้เทคโนโลยีทางการแพทย์ที่สมคุณค่า เสริมสร้างความร่วมมือทางวิชาการและบริการทางการแพทย์ในทุกภาคส่วน"นพ.ณรงค์กล่าว

นพ.สมเกียรติ ลลิตวงศา ผู้อำนวยการรพ.ราชวิถี กล่าวว่า ประเทศไทยต้องการลดอัตราการเกิดเบาหวาน ซึ่งขณะนี้คือเป็นปัญหาด้านสาธารณสุขระดับประเทศโดยต้องทำความเข้าใจว่าเบาหวานเป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของการหลั่งฮอร์โมนอินซูลินหรือการออกฤทธิ์ของฮอร์โมนอินซูลินหรือร่วมกันทั้งสองอย่างส่งผลให้ร่างกายไม่สามารถเปลี่ยนน้ำตาลที่ได้รับมาจากอาหารเป็นพลังงานจนทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติแต่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ใกล้เคียงค่าปกติคือประมาณ 80-130 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร(มก./ดล.) แต่หากผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวานในระยะเวลานานๆ จะมีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดสูงกว่าปกติ เพราะโรคเบาหวานจะทำให้เกิดภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง หลอดเลือดแดงตีบหรืออุดตันในส่วนต่างๆของร่างกาย โดยเฉพาะที่พบบ่อย คือ หัวใจ สมองไต ตา และเท้า

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

"ส่งผลให้ผู้ป่วยเกิดโรคอัมพฤกษ์อัมพาต ไตวายเรื้อรังตาบอดและโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันอันตรายถึงชีวิตนอกจากนี้ ควรเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ในปริมาณที่เหมาะสม ลดหวาน มัน เค็ม รักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ดัชนีมวลกายไม่ควรเกิน 23 ออกกำลังกายสม่ำเสมอและปฏิบัติตนตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด เพื่อลดความรุนแรงของโลกและป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน"นพ.สมเกียรติกล่าว

ดูข่าวต้นฉบับ
ความเห็น 2
  • 𝄢
    แล้วไง ใครสน ฮ่าคนโง่ มันนึกว่า แค่ไม่แดกน้ำตาล แล้วจะรอด พวกตะวันออกกลาง เป็นเท้าเบาหวาน เยอะแยะ ต้องตัดขา เพราะ! มันแดกแป้งเยอะ ครับพี่น้อง แป้ง ก่อนดูดซึม แม่งย่อยเป็นน้ำตาลหมด ไม่แดกแป้งไม่ขัดสี แดกแป้งเยอะ แดกแต่ข้าวเหนียว ขนมปังขาว เสร็จทุกราย ควายเอ้ย โง่ เตือนแล้ว ไม่ฟังว่า ทำไม ต้องแดกข้าว ไม่ขัดสี ข้องใจ ไปตรวจปริมาณ น้ำตาลในเลือด ก่อนเถอะ ก่อนจะสาย
    20 ต.ค. 2562 เวลา 02.34 น.
  • ทัศน์
    ฟ้องร้องโรงงานน้ำตาลได้แม๊ะ!
    20 ต.ค. 2562 เวลา 10.58 น.
ดูทั้งหมด