ทั่วไป

กรมชลฯ เพิ่มการระบายน้ำเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ เตรียมรับมืออิทธิพลจากพายุ 'มังคุด'

JS100 - Post&Share
เผยแพร่ 16 ก.ย 2561 เวลา 05.30 น. • JS100:จส.100
กรมชลฯ เพิ่มการระบายน้ำเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ เตรียมรับมืออิทธิพลจากพายุ 'มังคุด'

     กรมชลประทานเพิ่มการระบายน้ำท้ายเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ เนื่องจากมีฝนตกหนักและน้ำไหลเข้าเขื่อนเป็นปริมาณมาก เร่งพร่องน้ำรองรับฝนจากอิทธิพลของพายุมังคุด ที่จะทำให้ฝนตกต่อเนื่องตั้งแต่ 16 - 18 กันยายนนี้      ดร.ทองเปลว กองจันทร์ อธิบดีกรมชลประทานกล่าวว่า จากอิทธิพลของพายุบารีจัตและพายุมังคุด ทำให้มีฝนตกหนักในพื้นที่ลุ่มน้ำป่าสัก จ.เพชรบูรณ์ ส่งผลให้มีปริมาณไหลลงสู่เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จ.ลพบุรี ในช่วง 2-3 วันที่ผ่านมา วันละประมาณ 50 ล้านลูกบาศก์เมตร ทำให้ปริมาณน้ำในอ่างฯเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 507 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 53 ของความจุอ่างฯ ยังอยู่ในเกณฑ์ควบคุม

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

     ทั้งนี้ ได้สั่งการให้สำนักชลประทานที่ 10 บริหารจัดการน้ำ โดยเพิ่มการระบายน้ำท้ายเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ เป็นขั้นบันไดจากเวลา 12.00 น. ของวานนี้ (15 กันยายน) ระบาย 420 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที แล้วปรับเพิ่มขึ้นเป็น 450 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ส่วนเวลา 06.00 น.ของวันนี้(16 กันยายน) ระบายอยู่ที่ 451 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที หรือวันละ 39 ล้านลูกบาศก์เมตร เพื่อลดระดับน้ำหน้าเขื่อนป่าสักฯ ให้มีพื้นที่รองรับน้ำจากฝนที่จะตกลงมาต่อเนื่องตามการคาดการณ์ของกรมอุตุนิยมวิทยาว่า ยังจะมีฝนชุกต่อเนื่องระหว่างวันที่ 16-18 กันยายนนี้จากอิทธิพลของพายุไต้ฝุ่นมังคุด ซึ่งจะเคลื่อนที่สู่จีนตอนใต้ค่ำวันนี้

     อย่างไรก็ตาม ปริมาณน้ำที่ระบายจากเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จะไหลมายังเขื่อนพระราม 6 อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งได้บริหารจัดการโดยรับน้ำเข้าคลองระพีพัฒน์ 51.50 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที แล้วระบายผ่านเขื่อนพระรามหก 490 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ยังไม่ส่งผลกระทบต่อพื้นที่ทั้งเหนือเขื่อนและท้ายเขื่อนพระราม6 โดยเฉพาะในพื้นที่อำเภอท่าเรือ

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

     ดร.ทองเปลวฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า แม้จะมีฝนตกลงมาเพิ่ม แต่กรมชลประทานจะบริหารจัดการน้ำให้สอดคล้องกับสถานการณ์ฝนและปริมาณน้ำในเขื่อน โดยได้วางมาตรการรับน้ำเข้าระบบรับน้ำและระบายน้ำของชลประทาน จากนั้นจะใช้เขื่อนพระราม 6 เป็นเครื่องมือหน่วงน้ำ ซึ่งจะควบคุมอัตราการระบายไม่ให้เกินกว่า 500 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที นอกจากนี้ สำนักชลประทานที่ 10 ยังรายงานว่า พื้นที่แก้มลิงรวม 290,130 ไร่ ในความรับผิดชอบของสำนักฯ  เกษตรกรเก็บเกี่ยวข้าวหมดแล้ว พร้อมใช้เป็นพื้นที่รับน้ำหลาก ทำให้ไม่เกิดผลกระทบต่อพื้นที่ลุ่มต่ำทั้งในลุ่มน้ำป่าสักและจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ดูข่าวต้นฉบับ
ความเห็น 6
  • ชอบ คำ ว่าขั้นบันใดช่างสรรหาคำพูดที่สวยๆมากล่อมใจ ปชช.อยู่ท้ายน้ำจัง
    16 ก.ย 2561 เวลา 08.11 น.
  • aaw
    รู้แล้วว่าจะมีพายุแล้วก่อนหน้านั้นไม่ระบาย มาระบายเอาตอนพายุเข้า น้ำเยอะทั้งในเขื่อนและนอกเขื่อน ก็ไม่พ้นท่วม
    16 ก.ย 2561 เวลา 08.56 น.
  • 💔
    เอาใจช่วยเจ้าหน้าที่ทุกฝ่ายที่พยายามรับมือกับสถานการณ์อย่างเต็มที่ และขอให้ดูแลและเยียวยาผู้ที่ได้รับกระทบจากการบริหารจัดการน้ำซึ่งได้รับความเสียหายแทนผู้คนส่วนใหญ่อย่างเต็มที่ด้วยเช่นกัน
    16 ก.ย 2561 เวลา 08.16 น.
  • เหนืออย่าเพิ่งปล่อยมาสบทบนะ
    16 ก.ย 2561 เวลา 07.42 น.
  • Sorawit Suwannarong
    🧐เอาอยู่.. ฮ่ะ
    16 ก.ย 2561 เวลา 07.04 น.
ดูทั้งหมด