ไลฟ์สไตล์

ระวัง ! ชอบกินกระดูกอ่อน น้ำแข็ง ฟันร้าวไม่รู้ตัว

LINE TODAY
เผยแพร่ 07 ต.ค. 2562 เวลา 16.34 น.

เคยอยู่ดี ๆ ก็ปวดฟันตอนเคี้ยวอาหารแบบไม่รู้สาเหตุกันบ้างไหม

ทั้งที่ฟันก็ไม่ผุ ไม่มีเศษอาหารติดตามซอกฟัน แต่ดันปวดทุกครั้งที่เคี้ยว อาการแบบนี้บ่งบอกได้ว่ารากฟันมีปัญหา ซึ่งเกิดจากพฤติกรรมการเคี้ยวและกินของเราเองเป็นส่วนใหญ่

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

รู้หรือไม่..การเคี้ยวอาหารของเรา ส่งผลต่อเหงือก ฟัน และสุขภาพช่องปากของเราโดยตรง โดยเฉพาะคนที่หลงรักกระดูกอ่อนเป็นชีวิตจิตใจ ขอให้เพลา ๆ ลงบ้าง เพราะกระดูกอ่อนอาจเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้ฟันร้าวหรือแตกได้โดยไม่รู้ตัว

นอกจากพฤติกรรมการกินและเคี้ยวแล้ว บางคนยังพยายามเอาฟันไปงัดแงะของแข็ง เช่น ใช้ฟันเป็นที่เปิดขวดบ้าง ใช้ฟันฉีกของ แงะของบ้าง ฯลฯ ซึ่งพฤติกรรมแบบนี้แหละที่ทำร้ายฟันของเราโดยตรง

แม้ฟันจะเป็นส่วนที่แข็งที่สุดในร่างกายมนุษย์ แข็งแรงกว่ากระดูกทั่วไปหลายเท่า เพราะฟันต้องรับบทหนักตลอดชีวิตของเจ้าของฟัน แต่คนเราก็มักใช้ฟันผิดวิธีจนทำให้ฟันร้าว ฟันแตก ฟันสึก ฟันกร่อนก่อนวัยอันควร

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

อย่างที่บอกว่าสาเหตุหลักของฟันร้าว ฟันแตกก็คือการเคี้ยวของแข็งและใช้ฟันผิดหน้าที่ แต่นอกจากนี้ยังอาจเกิดจากฟันผุแล้วไม่รักษา แรงกระแทก หรือการนอนกัดฟันเป็นประจำก็ได้ ดังนั้นต้องสังเกตตัวเองให้ดีว่าเรามีพฤติกรรมแบบไหนที่ทำร้ายฟันของเราเอง

ในกรณีที่ชอบกินอาหารแข็ง ๆ เป็นชีวิตจิตใจ เช่น กระดูกหรือน้ำแข็ง อาจต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินของตัวเองเสียใหม่ เพราะการเคี้ยวของแข็งเป็นประจำ นอกจากจะทำให้ฟันร้าว ฟันแตกได้แล้ว ยังเป็นการกระตุ้นให้สารเคลือบฟันหลุดลอกออกมาทำให้ฟันสึกหรือฟันกร่อนได้ด้วยเช่นกัน

แรกเริ่มเราอาจไม่รู้ตัวว่าฟันของเรามีปัญหา จะมีก็แต่อาการปวดหรือเสียวฟันเมื่อเคี้ยวอาหารเท่านั้น ทำให้หลายคนมักมองข้ามปัญหาเล็ก ๆ น้อย ๆ แบบนี้ จนทำให้ฟันร้าวลุกลามไปถึงโพรงประสาทฟันได้ ซึ่งถ้าฟันร้าวลึกมาก สิ่งที่ทำได้เพียงอย่างเดียวก็คือการถอนฟันเพื่อระงับอาการปวด

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

แต่ก่อนที่จะลุกลากไปใหญ่โตจนถึงขั้นต้องถอนฟัน เมื่อมีอาการปวดฟันเวลาเคี้ยวอาหาร สิ่งที่ต้องทำก่อนไปพบทันตแพทย์ก็คือ ควรรู้ก่อนว่าปวดฟันซี่ไหน ปวดอย่างไร เนื่องจากการตรวจฟันร้าวต้องอาศัยการสังเกตและตรวจอย่างละเอียด ถ้าเจ้าของฟันรู้ว่าฟันซี่ไหนที่ผิดปกติ การตรวจและรักษาก็จะเป็นไปอย่างรวดเร็วขึ้น

เพราะฉะนั้นถ้าไม่อยากให้ฟันร้าว ฟันแตกก็ต้องเข้าใจธรรมชาติของฟันว่าถึงแม้จะแข็งแรง แต่ก็ต้องได้รับการดูแลอย่างดี และนี่คือวิธีเคี้ยวที่ถูกต้อง อย่าลืมว่าฟันมีชุดเดียว ดูแลให้ดีก่อนสายเกินไป

Do’s

- เคี้ยวอาหารให้ละเอียดก่อนกลืน คือใช้ฟันบดเคี้ยวให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ ก่อน

- นับจำนวนการเคี้ยวด้วยยิ่งดี เคี้ยวให้ได้ 20-30 ครั้ง/คำ

- ใช้เวลาในการกินอาหารอย่างน้อย 20 นาที/มื้อ

- ถ้ามีประวัติฟันผุ อุดฟันอยู่แล้ว ยิ่งต้องดูแลฟันให้ดี

Don’ts

- ของแข็งอย่างกระดูกอ่อน น้ำแข็ง ไม่ควรกินบ่อย และต้องระวังให้มากเมื่อต้องการกินของเหล่านี้

- อย่าใช้ฟันผิดหน้าที่ ฟันมีหน้าที่บดเคี้ยวอาหาร ไม่ควรใช้เปิดฝาขวด งัดแงะ หรือใช้ฟันกะเทาะเปลือกอะไรก็ตาม

การเคี้ยวที่ถูกวิธีเป็นการถนอมฟันให้อยู่กับเราไปนาน ๆ ด้วยเหมือนกัน เพราะฉะนั้นมาดูแลสุขภาพฟันด้วยการเคี้ยวอย่างเหมาะสมกันเถอะ..

ความเห็น 9
  • Jirasak
    ...ผมนี่ไง เลิกขาดแล้ว >>น้ำแข็ง ชอบเคี้ยว ...แต่ตอนนี้หักดิบเลย ตัดขาดจากน้ำแข็ง ...น้ำเย็นก็ลด >>ดื่มน้ำอุณหภูมิห้องปกติดีต่อระบบย่อยที่สุดครับ
    07 ต.ค. 2562 เวลา 20.31 น.
  • nanaprettyy
    เรื่องจริงค่ะ คนไม่เกิดจะไม่รู้เลยว่า ควรถนอมมันเอาไว้ให้ดีที่สุด
    07 ต.ค. 2562 เวลา 18.14 น.
  • Mimi4289
    เรากิน ฟันแตกเลย รักษาแพงมากๆ งดเคี้ยวหละ กระดูกอ่อน เม็ดมะขาม
    07 ต.ค. 2562 เวลา 23.40 น.
  • แล้วคนที่ชอบนอนกัดฟันนี่มีโอกาสเกิดขึ้นได้ไหมครับ.
    23 ต.ค. 2562 เวลา 22.36 น.
  • คุ ณิ ต า
    ควรหยุดกิน
    07 ต.ค. 2562 เวลา 18.53 น.
ดูทั้งหมด