ไลฟ์สไตล์

ศัพท์วัยรุ่น 2018 : หลายคำที่หลายคนยังไม่เข้าใจ

Seventeen Thailand
เผยแพร่ 17 ธ.ค. 2561 เวลา 04.26 น.
ศัพท์วัยรุ่น 2018 : หลายคำที่หลายคนยังไม่เข้าใจ

นอกเหนือจากข่าวสารหลากหลายวงการที่มีให้ติดตามความเคลื่อนไหวตลอดๆ "ภาษา" ที่เรากำลังใช้สื่อสารกันอยู่ตอนนี้ ก็เป็นอีกสิ่งที่มีการเปลี่ยนแปลงให้อัปเดตอยู่เสมอเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับภาษาไทยของเรานี่เอง
แม้จะเป็นไปตามหลักธรรมชาติของภาษาที่ว่า "ภาษาที่มีการเปลี่ยนแปลงคือภาษาที่ยังไม่ตาย" แต่ด้วยรูปแบบการใช้ชีวิตในสังคมที่เปลี่ยนไป ไม่ว่าจะด้วยบริบทของสังคมที่เร่งรีบ หรือการเข้าสู่ยุคโซเชียลมีเดียที่ทุกคนต่างหันมาใช้เครื่องมือเพื่อสื่อสารกันผ่านตัวหนังสือ ก็คงต้องยอมรับเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้แนวโน้มของการใช้ภาษาพูดและภาษาเขียนถูกผสมปะปน จนเป็นที่มาของคำแสลงใหม่ๆ ศัพท์ใหม่ๆ หรือเกิดการแพร่หลายของคำบางคำที่ใช้เฉพาะกลุ่มอยู่แล้วมากขึ้น ชนิดที่แม้แต่บางคำหรือความหมายบางอย่างก็อาจไม่มีระบุเอาไว้ในพจนานุกรม

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

เช่นเดียวกับหลายๆ คำต่อไปนี้ ซึ่งแม้หลายคำเพื่อนๆ อาจเคยได้ยินมาบ้างแล้ว อาจจะก่อนหน้านี้ไม่นานหรือตั้งแต่หลายปีก่อน ก็ถือว่าเราขอรวบรัดมาอัปเดตให้เพื่อนๆ อีกหลายคนที่ยังงุนงงได้เข้าใจกันในปีนี้ไปทีเดียว ส่วนจะมีคำอะไรที่เรามาแนะนำให้เพื่อนๆ รู้จัก จะได้หายงงเวลาได้ยินหรือได้เห็นคนอื่นใช้กันบ้างนั้น มาสำรวจกันเลย…
(เรียงตามลำดับ ก-ฮ)
กิน : การมีสัมพันธ์ลึกซึ้ง ส่อในเชิงชู้สาว
เก้ง : คำที่ใช้เรียก เกย์ หรือ ผู้ชายแมนๆ ที่ชอบผู้ชายด้วยกัน (ฝ่ายรุก)
กวาง : คำที่ใช้เรียก เกย์ ตุ๊ด แต๋ว หรือ ผู้ชายที่ชอบผู้ชายด้วยกัน แต่มีจริตจะก้านมากกว่า (ฝ่ายรับ)
แกสบี้ : แก่
เคอรี่ : กระหรี่
เงาะ : งง
เงิบ : หงายเงิบ, หน้าแตก
เงือก : หน้าตาไม่ดี, ดูไม่ได้, ไม่หล่อไม่สวย, หน้ามัน 
จขกท : คำย่อของคำว่า "เจ้าของกระทู้ "
จอบอ : จบ 
จิ้น : จินตนาการ (imagine) หรือ มโน ส่วนใหญ่จะใช้ในเชิงจับคู่คนสองคน
เฉียบ : เจ๋ง, เด็ด, สุดยอด, เฉียบขาด, โดนใจ, สมบูรณ์แบบ, อัจฉริยะ, ล้ำเลิศ
ชวนดู Netfix : ชวนดูหนังแบบส่วนตัวสองต่อสอง (ซึ่งอาจพ่วงด้วยกิจกรรมอื่นๆ ต่อ)
ช่ะ : ใช่ปะ หรือ ใช่หรือเปล่า
ชิป : คู่จิ้น หรือ จับคู่ มักใช้เกี่ยวข้องกับคำว่า "เรือ" สันนิษฐานว่าน่าจะมาจากคำว่า Relationship
ชิมิ : ใช่ไหม
เชอรี่ กระหรี่
ซัมบัยดี : สบายดี
ซี : ซีเรียส
ด้อม : กลุ่มแฟนคลับ (มาจากคำว่า fandom)
ดั้ย : ได้ (เสียงสั้น)
ตลาดล่าง : มีหลายความหมาย แต่ก่อนจะใช้ในวงการธุกิจหรือการตลาด แต่ภายหลังมีการนำมาใช้สื่อความหมายใหม่ จากคอนเทนต์หนึ่งที่โด่งดังเป็นกระแสในโลกออนไลน์ โดยเน้นไปในเชิงพฤติกรรม จริยธรรม ความคิดในทางที่เสื่อมของบุคคลบางกลุ่ม ภายหลังมีการใช้แพร่หลายขึ้น แต่มีความหมายแตกต่างออกไป กลายเป็นการพูดถึงกลุ่มคนที่มีกำลังซื้อน้อย หรือสถานะทางสังคม สถานะทางการเงินที่ต่ำในเชิงแบ่งชนชั้น (ไม่แนะนำให้ใช้คำนี้ไม่ว่าจะกับใคร)
ตะมุตะมิ : น่ารักน่าเอ็นดู
ตำ : ตาม (มักใช้ในวงการรีวิวต่างๆ)
ตุ้บ : ผิดหวัง
เตง : ตัวเอง
แตงโม : อ้วน
เท : ทิ้ง
นก : ชวด, อดแดก
น่ามคาน น่ารำคาญ
น่ามสาร : น่าสงสาร 
บ้ง : หน้าแตก
บับ : แบบ (คือบับ, บับว่า = คือแบบ, แบบว่า)
เบอร์ : แบบ, ขนาด (เช่น เบอร์นั้น แปลว่า แบบนั้น หรือ ขนาดนั้น)
ปัง : เป๊ะ + อลัง
ปั่น : หลอก, สร้างกระแส, สร้างความวุ่นวาย
ปั๊วะ : ความสง่า, ความเก่ง, ความเลิศ, ความอลังการ 
โป๊ะ : หน้าแตก, โป๊ะแตก, ถูกเปิดเผย
ผู้ : ผู้ชาย
ฝ./ฝอ : ฝรั่ง
มโน : มโนภาพ, เพ้อฝัน, คิด, จินตนาการ, คิดไปเอง
มองบน : เป็นคำอธิบายอาการ สื่อถึงความระอา เบื่อหน่าย ไม่ชอบ ไม่เห็นด้วย หรือน่ารำคาญ แต่เลือกที่จะไม่พูดโต้ตอบ 
มอย : เมาส์มอย, พูดคุย, ซุบซิบนินทา
มะนาว : มโน
มะม่วง/แมงโก้ : โง่
ยิ้มอ่อน : อธิบายอากัปกิริยายิ้มหวานอ่อนโยน แต่อาจไม่ตรงกับใจหรือความคิดข้างใน(ซึ่งอาจคิดไม่ดี)
ยืนหนึ่ง : โดดเด่น, ยืนในตำแหน่งที่หนึ่ง, คะแนนนำ, ตัวเต็ง, อันดับหนึ่ง
เรือ : ความคิดหรือจินตนาการเกี่ยวกับการจับคู่ มาจากคำว่า ชิป (Ship) ซึ่งมีที่มาจากคำว่า Relationship อีกที ถูกนำมาใช้หลายรูปแบบ เช่น ชาวเรือ หมายถึง กลุ่มคนที่ชอบจับคู่คนโน้นคนนี้,ลงเรือ หมายถึง การถูกจับคู่, เรือแล่น หมายถึง จินตนาการหรือการคิดไปไกลเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของคนสองคน, เรือล่ม หมายถึง การมโนจับคู่ที่ล้มเหลว เป็นต้น
ลงกฐิน : กระทืบ, รุมกระทืบ
ลั่น : หัวเราะเสียงดัง, ฮามาก, ตลกมาก
ละมุด : เนียน
ลำไย : รำคาญ
เลี้ยงต้อย : เลี้ยงตั้งแต่เด็ก เพื่อเก็บไว้กินหรือมีสัมพันธ์ด้วยตอนโต
วงวาร : สงสาร 
สสวก : คำย่อจาก สุขสันต์วันเกิด
สตอเบอรี/สตอ : ตอแหล
สองซิม : สามารถมีสัมพันธ์กับผู้หญิงหรือผู้ชายก็ได้
สิบกระโหลก : ให้คะแนนเต็ม
หัวร้อน : อารมณ์ร้อน
แหก : ตีแผ่, เปิดโปง
ห่าน : คำด่าที่ไม่มี น.หนู และดูนุ่มนวลกว่า 
เหลา : เล่า
อ้อย : อ่อย, ยั่ว, แรด
อัลไล : อะไร
อิจ : อิจฉา
ฮอล/ฮ้อล : เสียงถอนหายใจ
อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าผลของการเปลี่ยนแปลงของภาษาที่เกิดขึ้น จะถูกมองในแง่ใด สิ่งสำคัญที่เราควรคำนึงถึงเสมอก็คือเรื่องของการนำมาใช้อย่างถูกกาลเทศะ อย่าลืมว่า…ภาษามีระดับของตัวเองเช่นกัน ไม่ว่าเป็นระดับพิธีการ ทางการ กึ่งทางการ ไม่ทางการ หรือกันเอง หากเลือกใช้ให้ถูก ย่อมส่งผลดีต่อผู้ใช้
อนึ่ง สำหรับภาษาเขียนที่อาจมีการนำภาษาพูดมาใช้ นอกจากเรื่องกาลเทศะและการคำนึงถึงเรื่องของการสื่อความ หรือสื่ออารมณ์ที่อาจมีร่วมด้วยแล้ว การคำนึงถึงความถูกผิดในเรื่องของตัวสะกด คำควบกล้ำ เสียงวรรณยุกต์ ฯลฯ ก็เป็นสิ่งที่ไม่ควรละเลยจนเสียนิสัยเช่นกัน
อย่าลืมเลือกใช้ภาษาให้ถูกต้องกันด้วยนะจ๊ะ
ติดตาม seventeen Thailand ได้ที่นี่
Website : http://www.seventeenthailand.com/
Instagram : https://www.instagram.com/seventeenthailand/
Facebook : https://www.facebook.com/SEVENTEENthailand
Youtube : http://www.youtube.com/user/seventeenthailandTV
Twitter : https://twitter.com/Seventeenthai

ดูข่าวต้นฉบับ
ความเห็น 19
  • ภาษา สก้อย ?
    17 ธ.ค. 2561 เวลา 08.18 น.
  • สักพัก มันคงหายไปเอง เมื่อเวลาผ่านไป..แล้วก็จะมีคำใหม่เกิดขึ้นมาอีก..ถ้าไม่ต้องเข้าไปเกี่ยวข้องกับวัยรุ่น ก็ไม่น่าจะ..ไปสนใจทำไม..?
    17 ธ.ค. 2561 เวลา 11.15 น.
  • 🦄🐸💚lida💚🐸🦄
    เชี้ย
    17 ธ.ค. 2561 เวลา 10.45 น.
  • ❤️ K-Sprout 💯
    เหมือนเราจะเข้าใจคำว่า ชิป กับ ลำไย ผิดมาตลอด จะไปทาง ชิป(หาย) ตลอดเลย 555
    17 ธ.ค. 2561 เวลา 10.00 น.
  • Candy 🍬
    ภาษาวิบัติ
    17 ธ.ค. 2561 เวลา 14.49 น.
ดูทั้งหมด