สุขภาพ

ความลับ ทำไมรังนกถึงเป็นสัญลักษณ์ของอาหารเพื่อสุขภาพ

TODAY
อัพเดต 07 ต.ค. 2563 เวลา 06.37 น. • เผยแพร่ 07 ต.ค. 2563 เวลา 05.02 น. • workpointTODAY

เคยสงสัยไหมว่า ทำไมต้องซื้อรังนกแท้ไปให้คนที่เรารัก ?

คำตอบคือสาร NANA” (นานะ หรือ N-Acetylneuraminic Acid) ที่มีอยู่มากในรังนกแท้นั่นเอง NANA (นานะ) มีส่วนสำคัญที่เหมาะกับสถานการณ์ปัจจุบันอย่างมาก เพราะมีส่วนช่วยเรื่องการเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน และตัวรังนกเองก็มีคุณประโยชน์มากมายอันเป็นที่ยอมรับมานานหลายร้อยปี

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

-----------------------------------

[ ประโยชน์ของ “รังนก” และ “NANA” (นานะ) ]

เมื่อภูมิคุ้มกันตก ต้อง “NANA” (นานะ) ในรังนกแท้

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

มีนักวิจัยได้แยกส่วนประกอบของรังนกออกมา มีการทำวิจัยกันอย่างแพร่หลาย ผลปรากฏว่าในรังนกมีโปรตีนเป็นหลักประมาณ 40-60 %, มีคาร์โบไฮเดรต, มีกรดอะมิโนที่จำเป็นหลายชนิด และแร่ธาตุมากมาย เช่น แคลเซียม โซเดียม แม็กนีเซียม และธาตุเหล็ก *ดังนั้นดูจากสารอาหารที่มีในรังนก นับว่าไม่ธรรมดา

หนึ่งในสารที่อยู่ในรังนก มีชื่อว่ากรดไซอะลิค หรือมีอีกชื่อทางการคือ N-Acetyl-Neuraminic Acid ชื่อย่อว่า NANA (นานะ)

ในปี ค.ศ. 2006 มีงานวิจัยจากประเทศญี่ปุ่นค้นพบอีกหนึ่งคุณสมบัติเพิ่มเติมของรังนกคือ "ป้องกันการติดเชื้อไวรัสบางชนิด" และมีส่วนช่วยการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

NANA (นานะ) เป็นกรดที่หาได้ยากมากในเนื้อสัตว์ทั่วไป อย่างในเนื้อไก่มี NANA (นานะ) เพียง 0.02 % ส่วนเนื้อปลาแซลม่อนมี NANA (นานะ) 0.01 % ขณะที่รังนกแท้ มี NANA (นานะ) อยู่ถึง 9 % เรียกได้ว่าเยอะกว่าเนื้อสัตว์ทั่วไปหลายเท่า ดังนั้น การกินรังนกจึงเป็นวิธีที่ตอบโจทย์มาก สำหรับคนที่ต้องการกรดไอซะลิก หรือ NANA (นานะ) เข้าสู่ร่างกาย

ดังนั้น ถ้าดูจากการวิจัยแล้วก็คงพอเข้าใจเหตุผลที่คนโบราณถึงให้ความสำคัญ และสร้างมูลค่าของรังนกเอาไว้แพงกว่าวัตถุดิบอื่นๆ โดยหลักฐานทางประวัติศาสตร์ระบุว่า คนชาติยุโรปจะยกย่องรังนกว่าเป็น "คาเวียร์แห่งโลกตะวันออก"

-----------------------------------

[ รังนก คุณประโยชน์คลาสสิกจากอดีตถึงปัจจุบัน ]

ในตำรับแพทย์จีนระบุสรรพคุณรังนกไว้ว่า สามารถช่วยบำรุงพลัง และระบายความร้อน ช่วยให้ปอดมีความชุ่มชื้น ขับเสมหะ และบรรเทาอาการไอ

สารอาหารในรังนกยังมี NANA (นานะ) ที่จะช่วยต้านการติดเชื้อไวรัสต่างๆ เช่น ไวรัสไข้หวัดใหญ่ ดังนั้น พอจะพูดได้ว่า รังนกมีส่วนช่วยเสริมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย หรือพูดง่ายๆ คือเป็นวัตถุดิบที่ทำให้มนุษย์มีโอกาสทำให้ป่วยได้น้อยลงกว่าเดิม

มีรายงานวิจัยพบว่า เมื่อคนเราอายุมากขึ้น อีพิเดอร์มอล โกรท แฟคเตอร์ (Epidermal Growth factor (EGF) ในร่างกายจะผลิตได้น้อยลง ดังนั้นการได้รับ EGF อาจมีประโยชน์ในการช่วยเสริมสร้าง ซ่อมแซม และช่วยกระตุ้นการสร้างเซลล์ผิวใหม่ ซึ่งในรังนกมี EGF ซึ่งเป็นเปปไทด์ที่มีโครงสร้างเหมือนกับ EGF ที่อยู่ในคน มีฤทธิ์กระตุ้นการแบ่งตัวของเซลล์ชั้นนอกสุด และเยื่อบุต่างๆ**

และเพราะมีคุณประโยชน์มากมาย ประเทศไทยจึงมีการควบคุมปริมาณการเก็บรังนก โดยใช้ระบบสัมปทานรังนกมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ปัจจุบันมีกฎหมายกำหนดให้ผู้รับสัมปทานต้องเก็บรังนกเฉพาะช่วงที่เหมาะสมเท่านั้น และปล่อยให้นกได้วางไข่เพื่อเพิ่มประชากรของนกในปีถัดไป ซึ่งผู้รับสัมปทานจะมีการดูแลรักษาระบบนิเวศและสภาพแวดล้อมของเกาะที่นกอาศัยอยู่อย่างเข้มงวด เพื่อให้มีวงจรการแพร่พันธุ์ของนกแอ่นกินรังให้เป็นไปตามธรรมชาติมากที่สุด

นอกจากนี้ ตามธรรมชาติของนกแอ่นกินรัง เมื่อลูกนกเติบโตเต็มที่แล้วจะไม่ใช้รังเดิมอีก แต่จะสร้างรังใหม่ขึ้นแทน ดังนั้น การเก็บรังนกนางแอ่นจึงเป็นการช่วยเปิดพื้นที่ให้นกทำรังใหม่ได้สะดวกขึ้น

สำหรับ “รังนกแท้” ที่พบส่วนใหญ่ตามธรรมชาติ มักจะเป็น “รังนกขาว” ซึ่งรังนกคุณภาพดีจะมีเส้นยาว ขาว สะอาด และมีขนาดใหญ่ จึงถือเป็นรังนกที่มีความบริสุทธิ์ ปราศจากสิ่งปลอมปน

ที่ประเทศสิงคโปร์ ศาสตราจารย์ ลี และคณะ จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีนันยาง ได้ทำการศึกษาวิจัยโครงสร้างทางเคมีต่อการเปลี่ยนแปลงของสีของรังนก พบว่า รังนกสีขาวตามธรรมชาติจะสามารถเปลี่ยนเป็นสีเหลืองหรือสีอื่นๆ ได้นั้น เกิดจากปฏิกิริยาทางเคมีของรังนกกับอากาศในถ้ำรังนก หรือในบ้านรังนกที่มีความชื้นและมีก๊าซไนโตรเจนสูง โดยไกลโคโปรตีนในรังนกจะทำปฏิกริยากับสารกลุ่มไนเตรตทำให้เกิดสีขึ้น ทำให้รังนกไม่บริสุทธิ์ และอาจมีผลเสียต่อสุขภาพได้

ปัจจุบันรังนกแท้มีราคาแพงมาก ทำให้มีการผลิตรังนกปลอมที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันมากจนไม่สามารถแยกได้ด้วยการมองด้วยตาเปล่า รังนกปลอมส่วนใหญ่จะผลิตจากยางไม้ชนิดหนึ่ง คือ ยางคารายา ซึ่งมีลักษณะสีขาว หรือ สีเหลืองอมชมพูจนถึงสีนํ้าตาลเข้ม  ไม่ละลายนํ้า แต่สามารถดูดนํ้า ทำให้พองตัวคล้ายวุ้น ขุ่นเล็กน้อย เมื่อนำมาต้มจะคล้ายรังนก แต่ไม่มีประโยชน์ต่อร่างกาย

เพื่อให้สามารถแยกความแตกต่างระหว่างรังนกแท้ และรังนกปลอมได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงมีการนำเทคนิคอินฟราเรดสเปคโตรสโคปี (Infrared spectroscopy: FTIR) ซึ่งเป็นเทคนิคเดียวกับเครื่องตรวจเพชรมาใช้ในกระบวนการตรวจสอบ โดยรังนกแท้จะมีรูปแบบของอินฟราเรดสเปคตรัม (Infrared spectrum) ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของรังนกแท้ จึงสามารถตรวจสอบได้ว่าเป็นรังนกแท้หรือรังนกปลอม

ดังนั้น ในการเลือกซื้อรังนกจึงควรพิจารณาจากผู้ผลิตและผู้จัดจำหน่ายที่มีความน่าเชื่อถือในกระบวนการตรวจสอบวัตถุดิบรังนกที่ใช้ในการผลิต และได้รับการรับรองมาอย่างยาวนาน

-----------------------------------

[ รังนกแท้ วัตถุดิบแห่งตำนาน ]

ประวัติศาสตร์ของโลกใบนี้ บันทึกว่าคนแรกที่เอารังนกมาประกอบอาหาร ได้แก่นายพลเฉิง โฮ จากกองทัพเรือจีน ในยุคราชวงศ์หมิง ราวยุคศตวรรษที่ 15

สิ่งที่สร้างความประหลาดใจให้นายพลเฉิงก็คือ เมื่อกินรังนกไปแล้ว เขารู้สึกว่าตัวเองมีพลกำลังมากขึ้น และพลังร่างกายฟื้นฟูขึ้นจากเดิม

หลังจากกินรังนกมาสักระยะ นายพลเฉิงจึงได้เข้าใจว่า รังนกแท้จริงแล้วคืออาหารชั้นเลิศที่มีคุณประโยชน์ต่อร่างกาย

นายพลเฉิงจึงเก็บรังนกนางแอ่นกลับไปให้องค์จักรพรรดิของจีน และนับจากวันนั้นเอง ที่ในวัฒนธรรมจีนได้ยกย่องให้รังนกเป็นวัตถุดิบที่มีคุณค่าทางโภชนาการในระดับสูง

ในตำรับยาของแพทย์จีน ระบุคุณสมบัติของรังนกว่า มีสรรพคุณบำรุงกำลัง ช่วยให้ฟื้นฟูจากอาการเจ็บป่วย ทำให้ปอดชุ่มชื้น ขับเสมหะ และบรรเทาอาการไอได้ดี นอกจากนั้นมีผลพลอยได้คือช่วยให้ผิวพรรณดี และชะลอความแก่ชรา

มีการทดลองนับครั้งไม่ถ้วนที่พิสูจน์ได้จริงว่า คุณค่าทางโภชนาการ และคุณประโยชน์ต่อร่างกายมหาศาลของรังนกเป็นเรื่องจริง

เป็นคำตอบของคำถามที่ว่า ทำไมต้องซื้อรังนกแท้ไปให้คนที่เรารัก ?

อ้างอิง:

*Chua L.S. and Zukefl S.N. 2016. A comprehensive review of edible bird nests and swiftlet farming. Journal of Integrative Medicine. Vol. 14, No.6; 415-428. http://dx.doi.org/10.1016/S2095-4964(16)60282-0 https://www.academia.edu/36861320/A_comprehensive_review_of_edible_bird_nests_and_2016_Journal_of_Integrative Tai S.K., Koh R.Y., Ng K.Y. and Chye S. M. 2017. A Mini Review on Medicinal Effects of Edible Bird’s Nest. Lett Health Biol Sci. Vol. 2, Issue 1; 65-67. DOI: 10.15436/2475-6245.17.016. https://www.researchgate.net/publication/317858316_A_Mini_Review_on_Medicinal_Effects_of_Edible_Bird's_Nest Daud N.A., Yusop S.M., Babji A.S., Lim S.J., Sarbini S.R. and Yan T.H. 2019. Edible Bird’s Nest: Physicochemical Properties, Production, and Application of Bioactive Extracts and Glycopeptides. Food Reviews International. 1-19. https://doi.org/10.1080/87559129.2019.1696359 https://www.researchgate.net/publication/337710013_Edible_Bird's_Nest_Physicochemical_Properties_Production_and_Application_of_Bioactive_Extracts_and_Glycopeptides ** Kong Y.C., Keung W. M., Yip T.T., Ko K.M., Tsao S.W., Nget M.H. 1987. Evidence that Epidermal Growth Factor is present in swiflet's (Collocalia) nest. Comp. Biochem. Physiol. 87B(2);221-226. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/3497769

ดูข่าวต้นฉบับ