ทั่วไป

ไม่คุ้ม!ปิดประตู'ทักษิณ'กลับไทย แม้คดีที่ดินรัชดาสิ้นอายุ

เดลินิวส์
อัพเดต 21 ต.ค. 2561 เวลา 01.24 น. • เผยแพร่ 20 ต.ค. 2561 เวลา 13.44 น. • Dailynews
“…ได้ไม่คุ้มเสีย…” ทนายเดชาฟันธง “ทักษิณ ชินวัตร” ไม่มีวันกลับมาต่อสู้คดีในเมืองไทยแน่นอน แม้คดีที่ดินรัชดาอายุความหมดแล้วก็ตาม ชี้มีหลายหมายจับติดตัว แถมคดีในชั้นศาลรอตัดสินอีกเพียบ ถูกจับก็ใช่ว่าจะได้ประกันง่ายๆ

จากกรณีที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พิพากษาจำคุก นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นเวลา 2 ปี ในคดีที่ คุณหญิงพจมาน ชินวัตร (ขณะนั้น) ซื้อที่ดินรัชดา จำนวน 33 ไร่ 78 ตร.ว. ในราคา 772 ล้านบาท จากกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาสถาบันระบบการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย กระทรวงการคลัง โดย นายทักษิณ ในฐานะนายกรัฐมนตรี (ขณะนั้น) ลงนามยินยอมในฐานะคู่สมรส (ขณะนั้น) ซึ่งคดีกำลังจะหมดอายุความในวันนี้ (21 ต.ค.61)

เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว เมื่อวันที่ 21 ต.ค. นายเดชา กิตติวิทยานันท์ ทนายความและเจ้าของเพจเฟซบุ๊ก ทนายคลายทุกข์ กล่าวถึงข้อกฎหมายในเรื่องดังกล่าวว่า คำว่าหมดอายุความ หมายถึง ระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดให้ใช้สิทธิเรียกร้อง สิทธิฟ้อง หรือสิทธิร้องทุกข์ ซึ่งคดีที่ดินรัชดาของนายทักษิณ ถูกตัดสินจำคุก 2 ปี อายุความอยู่ที่ 10 ปี ตามประมวลกฏหมายอาญามาตรา 95 กำหนดอายุความของแต่ละฐานความผิด อย่างไรก็ตามเป็นที่รู้กันดีอยู่แล้วว่า นายทักษิณ ยังคงมีคดีอื่น ๆ ที่ยังอยู่ระหว่างการระงับการพิจารณาคดีและถูกออกหมายจับ ซึ่งตรงนี้ในมุมมองนักกฎหมายแล้ว ถือว่าได้ไม่คุ้มเสีย กรณีเดินทางกลับมาต่อสู้ ก็จะโดนคุมตัวตั้งแต่อยู่ในสนามบิน จากนั้นก็ส่งตัวมาให้ศาลพิจาณา หากยื่นประกันโอกาสได้ประกันตัวชั่วคราวก็น้อยมาก เพราะมีประวัติหลบหนีไปเป็นเวลานาน จึงเชื่อได้ว่า ไม่มีทางที่นายทักษิณจะกลับมาต่อสู้คดีในประเทศอย่างแน่นอน 

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ในส่วนของประเด็นที่หลายฝ่ายสงสัยเกี่ยวกับ มาตรา 7 ใน พ.ร.บ.ป.ป.ช. พ.ศ.2561 บัญญัติว่า ในการดำเนินคดีอาญาตาม พ.ร.บ.ป.ป.ช.ฉบับนี้ ถ้าผู้ถูกกล่าวหาหรือจำเลยหลบหนีไปในระหว่างถูกดำเนินคดี หรือระหว่างการพิจารณาของศาล มิให้นับระยะเวลาที่ผู้ถูกกล่าวหาหรือจำเลยหลบหนีรวมเป็นส่วนหนึ่งของอายุความ และเมื่อได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษจำเลย ถ้าจำเลยหลบหนีไปในระหว่างต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษ มิให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 98 มาใช้บังคับนั้น แม้จะเป็นการออกกฎหมายที่อุดช่องโหว่ เวลาจำเลยหลบหนี แต่กลับไม่มีผลย้อนหลังกับหมายจับที่ออกมาก่อน พ.ร.บ.ป.ป.ช. พ.ศ.2561 มีผลบังคับใช้นั่นเอง ซึ่งหมายความว่า ไม่ใช่แค่กรณีของนายทักษิณเท่านั้น แต่หมายถึงจำเลยในคดีอื่น ๆ ด้วย เช่น คดีจำนำข้าวของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีที่ยังหลบหนีหมายจับ หลังศาลฎีกาฯมีพิพากษาจำคุก 5 ปี เมื่อปลายปี 60 ที่ผ่านมา  

ทั้งนี้ สำหรับคดีที่ นายทักษิณ ชินวัตร ได้ถูกออกหมายจับตาม วิ.อม.ใหม่ มีด้วยกัน 5 หมายในขณะนี้ ประกอบด้วย1.คดีทุจริตปล่อยกู้ธนาคารกรุงไทย 2.คดีทุจริตการปล่อยกู้เอ็กซิมแบงค์ 3.คดีออกกฎหมายแปลงค่าสัมปทานโทรคมนาคมและมือถือเป็นภาษีสรรพสามิต 4.คดีฟื้นฟูกิจการทีพีไอ (ยกฟ้องแล้ว) และ ​​​​​​5.คดีหวยบนดิน.

ดูข่าวต้นฉบับ
ความเห็น 126
  • คนเลวอย่างทักษิน ยิ่งลักษณ์ถูกดำเนินคดีกูสมควรที่โดน แต่ที่กูกลัวมากก่วาคือ คนชาติชั่วที่ไม่ถูกดำเนินคดีที่ลอยหน้าลอยตาอยุ่ในไทยนี้ต่างหากมันถ่วงความเจริญ รวมทั้งคนที่เห็นดีเห็นงามกับพวกมันด้วย
    21 ต.ค. 2561 เวลา 03.37 น.
  • Saitong Ch
    อ่านความคิดเห็นแต่ละท่าน..แล้ว..มะโนสำนึกบังคับกันไม่ได้..ต่างชาติเขามองไทยอย่างไร?กะลาแลนด์..เอ๋ย..กลุ่มหนึ่งทำอะไรก็ผิดอีกกลุ่มหลักฐานชัดเจน.ก็ไม่ผิด..หาความยุติธรรม..ไม่มี..ยิ่งนานยิ่งแบ่งแยกยิ่งขึ้น..เหนื่อยนะประเทศไทย
    21 ต.ค. 2561 เวลา 03.32 น.
  • ปรีชา 687
    ชาติหน้าจะได้กลับรึป่าว..
    21 ต.ค. 2561 เวลา 03.12 น.
  • roongjarat
    ประเทศไทย กลัวจะมีผู้นำที่ชาวโลกเชื่อถือยกย่อง เเละเป็นผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ดีที่สุด ภาพรวม อดีตนายก เป็นบุคคลที่สมควรได้รับการยกย่องเเละเป็นผู้นำหนึ่งเดียวที่ประเทศเพื่อนบ้านให้ความนับถือ ถ้ายังเป็นผุ้นำอยุ่ ป่านนี้ไทยเเลนด์คงพัฒนาไปที่ระดับ5ละ เสียดายโอกาศของแระเทศ จริงๆ
    21 ต.ค. 2561 เวลา 03.27 น.
  • samakerate2497
    มันเอา กม ปกติ คณะเป็นกลาง ใครก็ไม่กลัว และต้องดำเนินคดีทุกฝ่าย อย่าตั้งธงตามล่า หาความผิดยัดเยียด ไม่เขียน กม ขึ้นมาเฉพาะ ปชช เขาเข้าใจในการกระทะของฝ่ายตรงข้ามชัดเจน ปชช จึงไม่ลืมท่าน และจะสนับสนุนต่อไป นี่ต่างหากที่เกิดปัญหา จะกลับหรือไม่ไม่ใช่สาระสำคัญ แต่เขาอยากพิสูจน์ความผิด ตามกระบวนยุติธรรม ด้วยความเป็นธรรม มากกว่า
    21 ต.ค. 2561 เวลา 04.06 น.
ดูทั้งหมด