ไลฟ์สไตล์

เปิดประวัติ คังคุไบ ราชินีมาเฟียแห่งมุมไบตัวจริง

ประชาชาติธุรกิจ
อัพเดต 16 พ.ค. 2565 เวลา 21.40 น. • เผยแพร่ 13 พ.ค. 2565 เวลา 06.49 น.

รู้จัก “คังคุไบ” ตัวจริง จากเรื่อง “Gangubai Kathiawadi” หนังอินเดียสะท้อนชีวิตโสเภณีที่กำลังเป็นกระแสในขณะนี้

ภาพยนตร์อินเดียเรื่อง “Gangubai Kathiawadi” ที่กำลังเป็นกระแสอยู่ในขณะนี้ นำแสดงโดย อาเลีย บาตต์ (Alia Bhatt) นางเอกเบอร์ต้นของบอลลีวูด แท้จริงแล้วเนื้อหาอิงมาจากชีวิตจริงของ “Gangubai Harjeevandas” หรือเป็นที่รู้จักในนาม “ราชินีมาเฟีย คังคุไบ”

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

คังคุไบ เกิดเมื่อปี 1939 เธอเกิดในตระกูลทนาย และมีฐานะดี ในเมืองกาเฐียวาร แคว้นคุชราต ประเทศอินเดีย ในวัยเด็กคังคุไบมีความฝันอยากเป็นนักแสดงบอลลีวูด จากนั้นเมื่อเธออายุ 16 ปี ก็ได้ตกหลุมรักกับ “รามนิก” (Ramnik Lal) พนักงานบัญชีของพ่อ จากนั้นรามนิกก็พาคังคุไบหนีไปยังมุมไบ เพื่อเริ่มต้นชีวิตใหม่ด้วยกัน

แต่แล้วชายผู้เป็นที่รักกลับหลอกเธอมาขายให้กับซ่องในราคา 1,000 รูปี ทำให้เธอต้องเป็นโสเภณีในเขตกามธิปุระ ของนครมุมไบเมื่อปี 1960 ตั้งแต่อายุยังน้อยต่อมาช่วงปี 1960 คังคุไบถูกลูกน้องมาเฟียใหญ่ คาริม ลาลา (Karim Lala) ข่มขืนและทำร้ายร่างกาย เธอจึงไปขอเข้าพบคาริม เพื่อเรียกร้องความยุติธรรม ซึ่งเขาก็ได้ให้การช่วยเหลือคังคุไบ และทั้งสองก็ได้เริ่มต้นความสัมพันธ์ในฐานะพี่น้อง จากนั้นคังคุไบก็เริ่มเป็นที่รู้จักในนาม “ราชินีมาเฟีย”

ขณะเดียวกัน มาเฟียใหญ่คาริม คอยสนับสนุนคังคุไบอยู่ห่าง ๆ ในการขยายอำนาจขึ้นมาปกครองย่านโสเภณี คังคุไบดูแลโสเภณีทุกคนอย่างดี ไม่มีการบังคับหรือข่มขู่ให้ขายตัวแต่อย่างใด เธอไม่เคยแสวงหาผลประโยชน์จากเด็กสาวและสตรี อีกทั้งเธอยังต่อสู้กับผู้มีอิทธิพลในพื้นที่ เพื่อให้โสเภณีได้รับการยอมรับ นอกจากนี้ คังคุไบยังต่อสู้ในเรื่องการย้ายซ่องออกจากกามธิปุระ ทำให้ชาวเมืองกามธิปุระระลึกถึงเธอเสมอมา มีการทำรูปปั้นขนาดใหญ่ และติดรูปของเธอในซ่องโสเภณี

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

กระทั่งมาถึงจุดเปลี่ยนสำคัญของชีวิตโสเภณีในอินเดีย เมื่อคังคุไบมีโอกาสเข้าพบนายกรัฐมนตรีชวาหะร์ลาล เนห์รู (Jawaharlal Nehru) เพื่อหารือเกี่ยวกับปัญหาที่โสเภณีต้องเผชิญ ซึ่งนายกรัฐมนตรีก็ได้รับปากจะช่วยเหลือและดูแลโสเภณีตามที่คังคุไบต้องการ

ด้วยเหตุนี้คังคุไบจึงถูกจดจำในฐานะนักเคลื่อนไหวทางสังคม ส่งผลให้เธอกลายเป็นที่จดจำของคนทั่วประเทศ และได้รับการยกย่องมาจนถึงปัจจุบัน คังคุไบเสียชีวิตเมื่ออายุได้ 69 ปี เมื่อวันที่ 8 กันยายน 1977

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง
ดูข่าวต้นฉบับ