ทั่วไป

หมอธีระ เปิดข้อมูล โอไมครอน BA.2 แพร่ง่ายกว่า แถมหลบภูมิคุ้มกันได้ดี

ThaiNews - ไทยนิวส์ออนไลน์
อัพเดต 29 ม.ค. 2565 เวลา 13.58 น. • เผยแพร่ 29 ม.ค. 2565 เวลา 12.52 น.

หมอธีระ เปิดข้อมูล โอไมครอน BA.2 แพร่ง่ายกว่า แถมหลบภูมิคุ้มกันได้ดี แต่ปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลเพียงพอที่จะสรุปเกี่ยวกับความรุนแรงของโรคจาก BA.2

จากกรณี รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ โพสต์ผ่านเฟซบุ๊ก Thira Woratanarat เตือน โอไมครอน BA.2 แพร่ง่ายกว่า  BA.1 แถมหลบภูมิคุ้มกันได้ดี ระบุ

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

 อัพเดต Omicron

1.UK HSA เพิ่งออกรายงาน SARS-CoV-2 variants of concern and variants under investigation in England ฉบับที่ 35 เมื่อวานนี้ 28 มกราคม 2565 โดยมีสาระสำคัญดังในตาราง Omicron สายพันธุ์ BA.2 น้้นมีข้อมูลในหลายประเทศ ชี้ให้เห็นว่ามีความสามารถในการแพร่ระบาดมากกว่าOmicron สายพันธุ์เดิม BA.1

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ข้อมูลวิชาการปัจจุบันชี้ให้เห็นว่า BA.2 นั้นมีการดื้อต่อภูมิคุ้มกันไม่มากไปกว่าBA.1 ดังนั้นการขยายวงของการระบาดจึงน่าจะมาจากคุณสมบัติในการแพร่เชื้อโดยตัวไวรัสเอง

อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลเพียงพอที่จะสรุปเกี่ยวกับความรุนแรงของโรคจาก โอไมครอน BA.2 และโอกาสการติดเชื้อซ้ำ (reinfection) ว่าจะเหมือนหรือแตกต่างจากสายพันธุ์เดิม
-"หมอยง" ชี้ชัด โควิด-19 ไม่มีโอกาสที่จะเป็น "โรคประจำถิ่น"
-เผยรายชื่ออาชีพแรงงานไทย ที่เป็นที่ต้องการของซาอุดีอาระเบีย
-หมอยง เผยฉีดวัคซีนกระตุ้นเข็ม 3 ด้วยอะไร ภูมิต้านเดลต้า-โอมิครอนขึ้น 22 เท่า

2. Nature ฉบับ 28 มกราคม 2565 มีบทความนำเสนอสมมติฐานเกี่ยวกับจุดกำเนิดของ Omicron คาดว่าอาจเริ่มต้นตั้งแต่กลางปี 2563 โดยอาจมีความเป็นไปได้ที่เกิดการเพาะบ่มของไวรัส SARS-CoV-2 ให้เกิดการกลายพันธุ์จนกลายเป็น Omicron ได้ 3 สมมติฐานคือ 

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

หนึ่ง มีการติดเชื้อกันจากคนสู่คนอย่างเงียบๆ (Silent spread) ในพื้นที่ที่ไม่มีทรัพยากรเพียงพอในการตรวจคัดกรองโรคและไม่มีการเฝ้าระวังตรวจหาพันธุกรรมของไวรัส

สอง เกิดการติดเชื้อในคนแบบเรื้อรัง (Chronic infection) เช่นในคนที่ภูมิคุ้มกันบกพร่อง ทำให้เกิดการกลายพันธุ์ในร่างกายผู้ติดเชื้อ
และสาม มีการติดเชื้อในสัตว์ประเภทหนู ซึ่งอาจมีการติดเชื้อจากสิ่งปฏิกูลจากคนที่ติดโควิด แล้วมีการกลายพันธุ์ของไวรัสในหนูจนนำมาสู่การติดสู่คนอีกครั้ง

สำหรับไทยเรา การป้องกันตัวอย่างสม่ำเสมอ เป็นกิจวัตร ถือเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่ง จุดเปราะบางที่มีอยู่ตอนนี้คือ กลุ่มเด็กและเยาวชนที่ยังไม่ได้รับวัคซีนอย่างครอบคลุม และปริศนาเรื่องภาวะอาการคงค้างอย่าง Long COVID ว่าจะเกิดขึ้นในคนที่ติดเชื้อ Omicron แตกต่างจากสายพันธุ์เดิมหรือไม่
การป้องกันตนเองและครอบครัวให้ไม่ติดเชื้อย่อมปลอดภัยกว่า

ขอบคุณ Thira Woratanarat

ดูข่าวต้นฉบับ
ความเห็น 15
  • จบได้แล้ว โรคประจำถิ่นไม่ต้องทำอะไรเลย
    30 ม.ค. 2565 เวลา 02.11 น.
  • nawinkoh
    ว้า ใครๆก็ไม่รัก 555
    30 ม.ค. 2565 เวลา 02.03 น.
  • t..
    ขอบคุณมากๆ
    30 ม.ค. 2565 เวลา 02.02 น.
  • Weera
    หมอนี่.วันๆ เอาแต่แหวกว่าย หาแสงให้กับตัวเอง
    30 ม.ค. 2565 เวลา 02.01 น.
  • จุ้ย
    มันคงเป็น​โคตร​ซุปเปอร์​ไวรัส ที่มีไอคิว​สูงน่าดูสามารถ​หลบ ภูมิ​คุ้มกัน​ได้ื .. แค่​บอกให้คนอย่าประมาท ใส่แมส/ล้างมือ/อย่าอยู่รวมกัน มากๆก็​พอแล้ว...
    30 ม.ค. 2565 เวลา 01.57 น.
ดูทั้งหมด