โพสต์รูป-ข้อความ “เหล้า-เบียร์” จ่าย 5 หมื่น กก.คุมแอลกอฮอล์ฯ ยันไม่ปรับทุกราย-ดูที่เจตนา
กรณีที่มีการแชร์ข้อมูลบนโลกออนไลน์อย่างกว้างขวางและเป็นที่กังวลของประชาชนว่า “เข้าข่ายกระทำความผิดตามมาตรา 32 พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551 โดยสำนักงานคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เรียกผู้ที่กระทำความผิดตามมาตราดังกล่าวรับทราบความผิด และเสียค่าปรับถึง 50,000 บาท นั้น
เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน ที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวถึงกรณีนี้ว่า หลักการคือ เมื่อทางหน่วยงานได้รับข้อมูลการกระทำผิดแล้ว จะต้องมีการเรียกผู้ที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดเข้ามาเพื่อรับทราบและชี้แจงข้อมูล ให้ถ้อยคำสอบสวน โดยผู้ที่ถูกกล่าวหาฯ สามารถชี้แจงข้อมูลได้ว่า การเผยแพร่ข้อมูลดังกล่าวไม่ได้กระทำไปเพื่อการชักจูงหรือโฆษณาเพื่อการค้าหรือประโยชน์ ซึ่งจะต้องดูเจตนาเป็นสำคัญ ทั้งนี้ ตามกฎหมายแล้ว หากมีการรับแจ้งข้อมูลการกระทำผิด และหน่วยงานไม่ดำเนินการดังกล่าว ก็จะมีความผิดในฐานละเลย ละเว้นการปฏิบัติงาน ดังนั้นเจ้าพนักงานจึงต้องมีการเรียกผู้ถูกกล่าวหาเข้ามาเพื่อสอบข้อเท็จจริง
ด้าน นพ.นิพนธ์ ชินานนท์เวช ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กล่าวว่า โดยส่วนใหญ่ที่ได้รับแจ้ง เป็นข้อมูลการแจ้งมาจากประชาชน ซึ่งผู้ถูกกล่าวหากส่วนมากเป็นเพจเฟซบุ๊ก เน็ตไอดอล ไปจนถึงบุคคลที่มีอิทธิพลต่อการพบเห็นของประชาชนจำนวนมากบนสื่อออนไลน์ ขั้นตอนการดำเนินการคือ เมื่อได้รับแจ้งข้อมูล คณะกรรมการจะเรียกผู้ถูกกล่าวหาฯ เข้ามาเพื่อสอบสวนมูลเหตุความผิด และหากมีความผิดจะต้องทำการส่งข้อมูลไปยังสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) เพื่อดำเนินการเรียกปรับตามมาตรา 32 ที่กำหนดว่า “ห้ามมิให้ผู้ใดโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือแสดงชื่อหรือเครื่องหมายของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อันเป็นการอวดอ้างสรรพคุณ หรือชักจูงใจให้ผู้อื่นดื่มโดยตรงหรือโดยอ้อม การโฆษณาหรือประชาสัมพันธ์ใดๆ โดยผู้ผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกประเภทให้กระทำได้ เฉพาะการให้ข้อมูลข่าวสาร และความรู้เชิงสร้างสรรค์สังคม โดยไม่มีการปรากฏภาพของสินค้า หรือบรรจุภัณฑ์ของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์นั้น เว้นแต่เป็นการปรากฏของภาพสัญลักษณ์ของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือสัญลักษณ์ของบริษัทผู้ผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์นั้นเท่านั้น ทั้งนี้ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง บทบัญญัติในวรรคหนึ่งและวรรคสอง มิให้ใช้บังกับกับการโฆษณาที่มีต้นกำเนิดนอกราชอาณาจักร”
นพ.นิพนธ์ กล่าวว่า ทั้งนี้ไม่ใช่การเรียกเก็บค่าปรับ แต่เป็นการกระทำไปตามกฎหมายอาญา หากผู้ที่ถูกกล่าวหายืนยันได้ว่า ตนเองไม่มีเจตนาการโฆษณาเพื่อประโยชน์ทางการค้า ก็ไม่มีความผิด แต่หากคณะอนุกรรมการเห็นว่าผู้ที่ถูกกล่าวหาฯ มีความผิดจริงก็จะส่งสำนวนการสอบสวนถ้อยคำไปยัง ตร. เพื่อทำการเรียกปรับ โดยเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงาน ทั้งนี้แล้วผู้ที่ถูกปรับตามกรณีที่มีการเผยแพร่ข้อมูลตามโลกออนไลน์นั้น และคิดว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม สามารถร้องเรียนเข้ามาที่กรมควบคุมโรคได้ ในขณะนี้ยังไม่มีการรายงานข้อมูลร้องเรียนมายังหน่วยงาน แต่เบื้องต้นรับทราบว่ามีการนำข้อร้องเรียนดังกล่าวไปยังสำนักนายกรัฐมนตรีแล้ว
“หากไม่มีมูลการกระทำผิด ก็ไม่สามารถดำเนินการปรับได้ ซึ่งกรณีที่มีการเผยแพร่ข้อมูลในโลกออนไลน์นั้น เป็นการให้ข้อมูลแก่ประชาชนที่ไม่ครบถ้วน โดยหากคิดว่าตนเองไม่ได้รับความเป็นธรรมก็สามารถชี้แจงได้ เหมือนกับการเรียกสอบสวนคดีความทั่วไป ไม่ได้เป็นการเรียกเก็บค่าปรับอย่างแน่นอน เพราะต้องมีความผิดก่อน ถึงจะทำการปรับได้” นพ.นิพนธ์ กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่าการสอบสวนข้อมูลความผิดมีผลย้อนหลังจริงหรือไม่ นพ.นิพนธ์ กล่าวว่า หากมองในมุมของการกระทำผิดนั้น เป็นการกระทำความผิดที่ยังมีหลักฐาน ดังนั้น เมื่อมีผู้ร้องเรียนข้อมูลเข้ามาและมีการชี้มูลความผิด ก็ถือว่ายังมีความผิด เทียบเหมือนคดีอาญาทั่วไปที่ยังไม่หมดอายุคดีความ โดยส่วนใหญ่จะเป็น เพจเฟซบุ๊กที่เคยโพสต์ข้อความ/รูปภาพที่นานมาแล้ว และยังไม่ได้ทำการลบ เมื่อมีผู้ร้องเรียนเข้ามา เมื่อทำการตรวจสอบไป แล้วพบก็จะต้องเรียกมาเพื่อชี้แจง รับทราบข้อมูล
“หากมองกันตามกฎหมายแล้วมีการกำหนดโทษในมาตรา 43 ว่า ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 32 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 500,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ นอกจากต้องระวางโทษตามวรรคหนึ่งแล้ว ผู้ฝ่าฝืนยังต้องระวางโทษปรับอีกวันละไม่เกิน 50,000 บาท ตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนหรือจนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง ซึ่งในเจตนาของหน่วยงานไม่ได้ต้องการเรียกเก็บเงินค่าปรับของประชาชน เพียงแต่ต้องการป้องปรามการกระทำความผิด ในหลายรายที่ได้เรียกเข้ามาเพื่อชี้แจงให้ถ้อยคำเพิ่มเติมนั้น ส่วนใหญ่เข้าข่ายมีความผิดจริง และอยากให้มีการจบคดีความจึงยอมเสียเงินค่าปรับ แต่ตัวผมแล้วอยากให้มีการเรียกอุทธรณ์ให้ไปถึงชั้นศาลฎีกา เพราะอยากให้มีการตัดสินที่เป็นมาตรฐานของชั้นศาล เพื่อให้เกิดความเข้าใจและเป็นที่รับทราบว่าอย่างใดที่กระทำแล้วเรียกว่ามีความผิด หากจะให้มีการแจกแจงเป็นข้อย่อย ว่าสิ่งใดทำได้ สิ่งใดทำไม่ได้ ก็อาจเกิดความถามว่า สิ่งที่ไม่ได้บอกว่าทำไม่ได้ หมายความว่าทำได้หรือไม่ ซึ่งแท้จริงแล้วขึ้นอยู่กับเจตนาและปัจจัยหลายอย่างประกอบการพิจารณา” นพ.นิพนธ์ กล่าว
เมื่อถามว่า หากประชาชนที่โพสต์รูปภาพหรือข้อความเกี่ยวกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ลงในสื่อออนไลน์ แต่เป็นการแชร์กันในหมู่ของกลุ่มเพื่อน มีความผิดหรือไม่ นพ.นิพนธ์ กล่าวว่า ข้อเท็จจริงแล้ว หากเป็นการเผยแพร่ในกลุ่มเพื่อนนั้น ก็จะมีบุคคลที่เกี่ยวข้องอยู่ไม่กี่คนที่รับทราบข้อมูล ซึ่งหากไม่มีเจตนาในการโฆษณาก็ไม่มีความผิด อย่างไรก็ตาม การโฆษณาที่เข้าข่ายมีความผิด ส่วนใหญ่จะเป็นการเชิญชวนให้ผู้อื่นไปซื้อตาม เช่น การรีวิว การแอบแฝงการค้าในรูปแบบใหม่ๆ ซึ่งจะต้องมีการพิจารณาจากปัจจัยหลายอย่าง
เมื่อถามอีกว่า ในการผ่อนปรนมาตรการระยะที่ 4 นั้น ที่มีการอนุญาตให้ร้านอาหารสามารถบริการเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่นั่งดื่มในร้านได้ หากร้านอาหารมีการเผยแพร่ข้อมูลว่าทางร้านมีแอลกอฮอล์จำหน่ายมีความผิดหรือไม่ นพ.นิพนธ์ กล่าวว่า เบื้องต้นหากเป็นรายการอาหารภายในร้าน ที่มีการระบุข้อความเกี่ยวกับสินค้าที่ขาย ไม่เป็นความผิด แต่หากมีการเผยแพร่ในสื่อออนไลน์ที่ไปในแนวทางการชักจูง เชิญชวนให้ประชาชน ส่งเสริมการขาย ทำให้ประชาชนอยากดื่ม ก็นับว่าเป็นความผิดเนื่องจากเป็นการโฆษณาเพื่อการค้าและผลประโยชน์ และใน พ.ร.บ.มีการระบุไว้อย่างชัดเจนว่า “โฆษณา” หมายความว่า การกระทำไม่ว่าโดยวิธีใดๆ ให้ประชาชนเห็น ได้ยินหรือทราบข้อความ เพื่อประโยชน์ในทางการค้า และให้หมายความรวมถึงการสื่อสารการตลาด โดย “การสื่อสารการตลาด” หมายความว่า การกระทำกิกรรมในรูปแบบต่างๆ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อขายสินค้า บริการหรือภาพลักษณ์ การประชาสัมพันธ์ การเผยแพร่ข่าวสาร การส่งเสริมการขาย การแสดงสินค้า การจัดหรือสนับสนุนให้มีการจัดกิจกรรมพิเศษ และการตลาดแบบตรง
ฉัตรชัย ครับ ดูที่เจตนา = เปิดช่องทางรีดไถ-หาแดก ให้คนบางหน่วยงาน ไง
10 มิ.ย. 2563 เวลา 10.56 น.
อะไรก้อเกิดขึ้นได้ในประเทศเรา 555
10 มิ.ย. 2563 เวลา 11.27 น.
Kua ช่างทอง ถ้าโพสเหล้าเบียร์ปรับห้าหมื่น ถ้าอย่างนั้น ผู้ผลิตเหล้าเบียร์ล่ะ น่าจะต ิิิิิิิิิิิิิิิิิิิิิิิดคุกนะ คนโพสผิด แต่ คนผลิตไม่ผิด เป็นไปได้หรือ
10 มิ.ย. 2563 เวลา 12.19 น.
pinggo ไอ่ควาย
10 มิ.ย. 2563 เวลา 11.14 น.
OLLY 🍀 운수 좋은 แล้วเจ้าของแบรนด์ ที่ทำโฆษณาออกทีวี ถึงไม่เอ่ยโดยตรงแต่เรื่องราว พฤติกรรม การแสดงออกในตัวหนังโฆษณา สื่อสารชัดเจนว่าเชิญชวนให้ดื่ม ผิดมั้ย เช่น ยกแก้วโซดากระดกเข้าปาก ก็ดีดกันมัน เย็นนี้เลยป่ะล่ะ... แบบนี้ผิดมั้ย ถ้าท่านห่วงสุขภาพประชาชน หรือมองว่าการเสพสิ่งเหล่านี้สร้างปัญหาหรืออาชญากรรมตามมา ก็ปิดที่ต้นทาง อย่าเอามาลงที่ปลายทางกับประชาชน เหมือนเปิดช่องโหว่ให้ตีความหาประโยชน์กับประชาชน ส่วนเจ้าสัวนายทุน ลอยตัวตามเดิม
11 มิ.ย. 2563 เวลา 01.42 น.
ดูทั้งหมด