ทั่วไป

ไม่จริง! ดื่มสุรา -แอลกอฮอล์บริสุทธิ์ ฆ่าเชื้อโควิด-19 เสี่ยงอันตรายถึงขั้นเสียชีวิต

PPTV HD 36
อัพเดต 10 เม.ย. 2563 เวลา 07.03 น. • เผยแพร่ 10 เม.ย. 2563 เวลา 06.56 น.
กรมการแพทย์เตือน  ดื่ม”เอทิลแอลกอฮอล์” หวังฆ่าเชื้อโควิด-19 ไม่จริง   แม้เป็นชนิดรับประทานได้ แต่ความเข้มข้นสูงอันตราย ส่วนคนดื่มเหล้า ทำร่างกายอ่อนแอเสี่ยงติดไวรัสง่าย

วันที่ 10 เม.ย.2563  นพ.สรายุทธ์ บุญชัยพานิชวัฒนา ผู้อำนวยการสถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี  กล่าวว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19  ปรากฎว่ามีบุคคลกลุ่มหนึ่งที่พยายามหาวิธีการต่างๆที่เชื่อว่าสามารถฆ่าเชื้อโควิด-19ได้ ไม่ว่าจะเป็นการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การดื่มแอลกอฮอล์บริสุทธิ์ หรือเอทิลแอลกอฮอล์ ซึ่งเป็นเป็นความเชื่อที่ไม่ถูกต้อง และอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้

สมุทรปราการ สั่งปิดร้านขาย “เหล้า-เบียร์” เริ่ม 11-20 เม.ย.

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

หนุ่มบุรีรัมย์ดับปริศานาคาบ้าน แม่คาดลงแดงเพราะขาดเหล้า

“ เอทิลแอลกอฮอล์ หรือ เอทานอล (Ethyl Alcohol หรือ Ethanol) เป็นแอลกอฮอล์บริสุทธิ์ 95 % ผลิตจากพืชประเภทน้ำตาลและพืชจำพวกแป้งเช่นเดียวกันกับแอลกอฮอล์ที่ผสมในเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ถึงแม้จะเป็นชนิดของแอลกอฮอล์ที่สามารถรับประทานได้ แต่ด้วยความเข้มข้นที่สูงกว่าในเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทั่วไป ทำให้ผู้ดื่มมีภาวะแอลกอฮอล์เป็นพิษและในบางรายรุนแรงอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ จึงเหมาะสำหรับทำความสะอาด เช็ด ถู เพื่อฆ่าเชื้อ” นพ.สรายุทธ์ กล่าว

นพ.สรายุทธ์ กล่าวอีกว่า   เอทานอลสำหรับล้างแผล เจลล้างมือที่มีส่วนผสมของเอทานอล และ  Isopropanol ไม่สามารถนำมารับประทานได้เพราะในขั้นตอนการผลิต มีสารเคมีต่างๆที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย โดยส่วนใหญ่จะมีการผสมสีเพื่อให้สังเกตได้ง่าย  นอกจากนี้ ยังมีแอลกอฮอล์ที่ได้จากกระบวนการกลั่นทางปิโตรเคมี เรียกว่า เมทิลแอลกอฮอล์ หรือ เมทานอล (methyl alcohol หรือ methanol) เป็นของเหลวไม่มีสี ระเหยง่าย ติดไฟง่าย มักจะเติมสีเพื่อความแตกต่างในการใช้งานกับเอทิลแอลกอฮอล์ ซึ่งเมื่อโดนผิวหนังจะรู้สึกเย็น นิยมใช้เป็นตัวทำละลายในอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ ดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้อย่างรวดเร็ว มีฤทธิ์ทำลายเนื้อเยื่อ หากเผลอรับประทานเข้าไปอาจจะทำให้มีอาการตาพล่ามัว มองไม่ชัด  การได้รับเมทิลแอลกอฮอล์ หรือ เมทานอล ในปริมาณมากจะทำลายประสาทตาจนตาบอดถาวร ที่สำคัญยังมีผลต่อระบบหายใจ ทำให้ไตอักเสบ กล้ามเนื้อตับตาย หรือโลหิตเป็นพิษ อันตรายถึงขั้นเสียชีวิตในที่สุด

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

แฟ้มภาพ

อัปเดตข่าวโควิด-19 (COVID-19) ล่าสุด 10 เม.ย. 63

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

นพ.มานัส โพธาภรณ์ รองอธิบดีกรมการแพทย์  กล่าวเพิ่มเติมว่า  นอกจาก การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพื่อหวังฆ่าเชื้อ COVID -19  อาจเป็นสาเหตุให้ผู้ดื่มเสี่ยงต่อการติดเชื้อ  COVID-19ได้ โดยเฉพาะผู้ที่นิยมดื่มเป็นประจำมีโอกาสรับเชื้อได้ง่าย เพราะเมื่อแอลกอฮอล์เข้าสู่ร่างกาย  จะถูกดูดซึมและส่งต่อการทำงานในทุกระบบของร่างกาย เข้าไปทำลายระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้เม็ดเลือดขาวทำงานได้ไม่เต็มที่ ส่งผลให้ให้เกิดการติดเชื้อต่าง ๆ ง่ายขึ้น การรวมกลุ่มเพื่อดื่มสังสรรค์ ยิ่งเพิ่มความเสี่ยงในการรับเชื้อจากการสัมผัสหรือใช้สิ่งของร่วมกัน  เช่น การดื่มแอลกอฮอล์จากแก้วเดียวกันหรือหลอดเดียวกัน

 

“การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมาก นอกจากจะไม่สามารถฆ่าเชื้อโควิด -19 อาจทำให้เกิดภาวะแอลกอฮอล์เป็นพิษเฉียบพลัน อันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ช่วงแรก จะทำให้ร่างกายมีระดับแอลกอฮอล์ในเลือดอยู่ที่ประมาณ 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ เมื่อมากกว่า 200 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ จะทำให้ผู้ดื่มเกิดอาการสับสน มากกว่า 300 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ ทำให้เกิดอาการง่วง สับสน ซึม มึนงง  และถ้ามากกว่า 400 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ขึ้นไป อาจทำให้สลบ ซึ่งปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดที่สูงในระดับนี้ สามารถกดสมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับการหายใจ การรู้สึกตัวของผู้ที่ดื่มและทำให้เสียชีวิตได้ ซึ่งหากใครประสบปัญหาด้านและสารเสพติด สามารถขอรับคำปรึกษาได้ที่สายด่วนยาเสพติด 1165” รองอธิบดีฯ กล่าว

 

 

ดูข่าวต้นฉบับ
ความเห็น 20
  • ปล่อยให้กินๆกันไปก็ดี ได้ตายๆไปลดประชากรไร้คุณภาพลงบ้าง
    10 เม.ย. 2563 เวลา 07.42 น.
  • N.K.Asia consultants
    ปล่อยมันไปเถอะ
    10 เม.ย. 2563 เวลา 07.35 น.
  • JeeChaivichit
    ทีนี้เห็นหรือยังว่าการศึกษาไทยว่ามันล้าหลังขนาดไหน!! การใช้เหตุใช้ผลในการนึกตรึกตรองยังไม่มีในคนบางกลุ่ม
    10 เม.ย. 2563 เวลา 07.48 น.
  • ธวัลรัตน์
    จะได้ตายไปพร้อมกับเชื้อ
    10 เม.ย. 2563 เวลา 07.43 น.
  • Gigi
    แค่ได้กลิ่นก็แย่ละ มีคนกล้ากินด้วยหรอ
    10 เม.ย. 2563 เวลา 07.47 น.
ดูทั้งหมด