ไลฟ์สไตล์

"ระฆังพระเจ้าจิงกูจา" ระฆังคู่บ้านคู่เมืองพม่า อังกฤษพยายามขนกลับประเทศแต่ไม่สำเร็จ!?

ศิลปวัฒนธรรม
อัพเดต 12 ธ.ค. เวลา 03.10 น. • เผยแพร่ 12 ธ.ค. เวลา 00.21 น.
ภาพบริเวณลานกว้างรอบเจดีย์ชเวดากองของพม่า ระฆังพม่าในภาพคาดว่าเป็น “ระฆังพระเจ้าจิงกูจา” ภาพวาดสีน้ำฝีมือของ ร.ท. โจเซฟ มัวร์ แห่งกองร้อยที่ 89 กองทัพอังกฤษ

“ระฆังพระเจ้าจิงกูจา” ระฆังคู่บ้านคู่เมืองพม่า อังกฤษพยายามขนกลับประเทศแต่ไม่สำเร็จ!?

ภาพวาดสีน้ำชิ้นนี้เป็นฝีมือของ ร.ท. โจเซฟ มัวร์ (Lieutenant Joseph Moore) แห่งกองร้อยที่ 89 กองทัพอังกฤษ เป็นหนึ่งในภาพชุดของมัวร์ที่ถูกนำออกเผยแพร่ในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เมื่อ ค.ศ. 1825-1826 เป็นภาพชุดจากหลายสถานที่ ช่วงที่เกิดสงครามอังกฤษ-พม่า ครั้งที่ 1 (ค.ศ. 1824-1826) เพื่อแย่งชิงอำนาจในการครอบครองดินแดนทางตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย ซึ่งพม่าต้องเสียเมืองย่างกุ้งให้กับอังกฤษไปในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1824

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ภาพนี้เป็นภาพบริเวณลานกว้างรอบเจดีย์ชเวดากองของพม่า ซึ่งจะเห็น “ระฆังพม่า” อย่างชัดเจน จากคำบรรยายภาพ ระฆังทางขวามือหล่อขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1779 หนัก 23.1 ตัน มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 3.4 เมตร สูงจากพื้น 0.46 เมตร ตรงกับลักษณะของ ระฆังพระเจ้าจิงกูจา (Singu Min’s Bell) หนึ่งในระฆังคู่บ้านคู่เมืองของชาวพม่า ที่อังกฤษพยายามขนกลับประเทศหลังยึดย่างกุ้งได้สำเร็จ

อังกฤษได้เคลื่อนระฆังขึ้นแพ เพื่อต่อไปยังเรือที่จอดรออยู่ แต่ระฆังเกิดพลัดตกลงแม่น้ำ กองทัพอังกฤษพยายามกู้ระฆังเป็นเวลากว่า 7 วัน แต่ก็ไม่สำเร็จ

ภายหลัง แกนนำพระสงฆ์ชาวพม่ารายหนึ่ง ด้รับอนุญาตจากอังกฤษให้กู้ระฆังใบนี้ได้ และชาวพม่าก็ทำได้สำเร็จด้วยภูมิปัญญาชาวบ้าน โดยการผูกระฆังกับเสาเรือในช่วงน้ำลง เมื่อน้ำขึ้นกระแสน้ำก็ช่วยดึงให้ระฆังหลุดจากโคลนได้ ระฆังใบนี้จึงถูกนำมาติดตั้งไว้ที่เจดีย์ชเวดากองตามเดิม

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

อ่านเพิ่มเติม :

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

สำหรับผู้ชื่นชอบประวัติศาสตร์ ศิลปะ และวัฒนธรรม แง่มุมต่าง ๆ ทั้งอดีตและร่วมสมัย พลาดไม่ได้กับสิทธิพิเศษ เมื่อสมัครสมาชิกนิตยสารศิลปวัฒนธรรม 12 ฉบับ (1 ปี) ส่งความรู้ถึงบ้านแล้ววันนี้!! สมัครสมาชิกคลิกที่นี่

อ้างอิง :

Burma Press Summary from The Working People’s Daily Vol. II, No. 2, February 1988.

เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรกเมื่อ 20 กรกฎาคม 2561

อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่ : “ระฆังพระเจ้าจิงกูจา” ระฆังคู่บ้านคู่เมืองพม่า อังกฤษพยายามขนกลับประเทศแต่ไม่สำเร็จ!?

ติดตามข่าวล่าสุดได้ทุกวัน ที่นี่
– Website : https://www.silpa-mag.com

ดูข่าวต้นฉบับ
ความเห็น 11
  • Yoyo
    ประวัติศาสตร์ที่ขมขื่นปล้นสะดมทุกอย่างที่ทำได้
    20 ก.ค. 2563 เวลา 01.37 น.
  • 🍌•~SAYM~•🐒
    ถ้าเราเป็นเมืองขึ้นพวกมัน..นึกไม่ออกเลยว่าจะสูญเสียอะไรบ้าง
    12 ธ.ค. เวลา 04.34 น.
  • แก้ว มาลูน
    * บุกรุกดินแดนยึดครองเป็นอาณานิคม ปล้นชิงทรัพยากรชนชาติอื่นทั่วโลก เรียก"ผู้ดี" ใครต่อสู้ขัดขืน "ผู้ก่อการร้าย".
    12 ธ.ค. เวลา 04.55 น.
  • thepee
    อายุเก่าแก่ และน่าจะสูง 4.6 เมตร (นับห่วงด้วย) ถ้ากว้างกว่า3เมตรแล้วสูง0.46 เมตร รูปทรงน่าจะเป็นฝาชีแทนระฆัง
    15 มิ.ย. เวลา 06.59 น.
  • Libb
    ประเทศไหนของหาย ไปตามหาได้ที่อังกฤษ หัวหน้าโจรโลกตัวจริง
    12 ธ.ค. เวลา 10.28 น.
ดูทั้งหมด