ทั่วไป

'กรณ์' สยบดราม่า ภาษีดอกเบี้ยเงินฝาก 2 หมื่นบ. ไม่กระทบชาวบ้าน แนะสรรพากรปรับวิธีทำงาน

MATICHON ONLINE
อัพเดต 20 เม.ย. 2562 เวลา 06.05 น. • เผยแพร่ 20 เม.ย. 2562 เวลา 01.44 น.

จากกรณีกรมสรรพากร ออกประกาศกำหนดให้ธนาคารส่งข้อมูลดอกเบี้ยรับ มายังกรมสรรพากร เพื่อกรมรวบรมข้อมูลเองว่าใครที่มีรายได้ดอกเบี้ยรับเกิน 20,000 บาทต่อปี ต้องเสียภาษีบ้าง เพื่อแก้ไขปัญหาเรื้อรังมานานกว่า 2 ปีเนื่องจากบางธนาคารช่วยลูกค้าในการหลบเลี่ยงภาษี เช่น พอดอกเบี้ย 1.9 หมื่นบาท ให้ปิดบัญชีเปิดใหม่นั้น (อ่าน : คลังเข้ม! จี้ทุกแบงก์ส่งข้อมูลดอกเบี้ยเงินฝากลูกค้า ใครได้สูง 2 หมื่นต้องเสียภาษี 15 %)

เมื่อวันที่ 20 เมษายน นายกรณ์ จาติกวณิช รองหัวหน้าพรรคประขาธิปัตย์ ประธานกรรมการนโยบายพรรคประชาธิปัตย์ โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว “Korn Chatikavanij” ระบุว่า

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

วันนี้มีกระแสข่าวประเด็นเรื่องภาษีดอกเบี้ยเงินฝาก ผมเลยสอบถามที่มาที่ไปจากเจ้าหน้าที่ในกรมสรรพากร จึงขอนำเสนอข้อมูลเผื่อเป็นประโยชน์ครับ

1. ประเด็นสำคัญที่สุดคือยังคงมีการยกเว้นการหักภาษี ณ ที่จ่ายรายรับดอกเบี้ยเงินฝาก 20,000 บาทแรกตามเดิมนะครับ

2. แต่ที่ผ่านมามีกรณีการหลีกเลี่ยงภาษีด้วยการเปิดบัญชีหลายธนาคาร เพื่อให้รายรับดอกเบี้ยในแต่ละธนาคารต่ำกว่า 20,000 บาท และเนื่องจากแต่ละธนาคารไม่มีข้อมูลธนาคารอื่น เจ้าของบัญชีจึงหลีกเลี่ยงภาษีได้

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

3. สรรพากรจึงออกคำสั่งให้ทุกธนาคารส่งข้อมูลทุกบัญชีมาที่กรมฯ และกรมฯ จะเป็นคนตรวจสอบว่ามีใครควรต้องเสียภาษีบ้าง

4. คราวนี้กรมสรรพากรก็กังวลว่าจะมีปัญหาเรื่องข้อมูลส่วนบุคคล จึงได้ออกคำสั่งให้เจ้าของบัญชีอนุมัติให้ธนาคารของตนส่งข้อมูลให้สรรพากร (และใครที่ไม่อนุมัติจะเสียสิทธิการยกเว้นภาษีโดยปริยาย)

และนี่คือปัญหา เพราะกลายเป็นภาระของประชาชนส่วนใหญ่ที่มีเงินฝากตํ่ากว่าเกณฑ์ที่จะต้องเสียภาษี (คือประมาณ 4 ล้านบาท) ที่มีภาระที่จะต้องแสดงตน

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

จริงๆ เรื่องนี้แก้ไขได้หากกรมสรรพากรและแบงก์ชาติสามารถประสานการทำงานร่วมกันได้ เพราะแบงค์ชาติเข้าถึงข้อมูลข้ามธนาคารได้อยู่แล้วแน่นอน แต่เนื่องจากสองหน่วยงานมีกฎหมายกำกับต่างกัน จึงไม่สามารถแชร์ข้อมูลกันได้

ผมเลยได้แสดงความเห็นกับทางสรรพากรว่า แทนที่จะให้เป็นภาระของเจ้าของบัญชีต้องแจ้ง ควรให้เป็นหน้าที่ของธนาคารที่จะแจ้งกับเจ้าของบัญชี

และสรรพากรควรมีมาตรการเด็ดขาดในการเอาผิดธนาคารใดที่มีพฤติกรรมชัดเจนในการช่วยลูกค้ารายใหญ่หลีกเลี่ยงการเสียภาษี เช่นการแนะนำให้ ‘ปิดบัญชี’ เมื่อรายรับดอกเบี้ยใกล้จะถึง 20,000 บาท เพื่อเปิดใหม่เมื่อพ้นรอบการเสียภาษี

หากกรมสรรพากรปรับวิธีการเล็กน้อยตามที่ผมเสนอ (ซึ่งเข้าใจว่าหลังจากรับทราบกระแสความสับสนของประชาชน กรมสรรพากรก็ได้ไปปรึกษากับสมาคมธนาคารแล้ว) โดยสรุป ประชาชนส่วนใหญ่ก็จะไม่ได้รับผลกระทบใดๆ แต่การหลีกเลี่ยงภาษีโดยเศรษฐีเงินฝากจะทำได้ยากขึ้นครับ

และธนาคารพาณิชย์จะปฏิเสธความรับผิดชอบไม่ได้อีกต่อไป

ดูข่าวต้นฉบับ
ความเห็น 16
  • sati shi28
    คุณกรณ์พูดแบบคนไม่จ่ายภาษีดอกเบี้ย เพราะเล่นหุ้นอย่างเดียว คนเกษียณอายุมีเงินเก็บ 10ล้าน ถือเป็นคนรวยแล้วเหรอ ถ้าเค้าพยายามหาpassive incomeจากเงินฝาก ดอกเบี้ยแค่ 1.5% ได้ดอกเบี้ยแค่150,000 เสียภาษี 15% 22,500บาท คุณกรณ์อาจจะเสียภาษีจากเงินของคุณกรณ์น้อยกว่าคนแก่ที่มีเงินฝากที่มีเงินฝาก10ล้าน เพราะรายได้จากการเล่นหุ้น ไม่เสียภาษีแม้แต่บาทเดียว คุณกรณ์ก็ทราบว่ากลุ่มคนที่เสียภาษีเต็มเม็ดเต็มหน่วยคือคนกินเงินเดือน ชนชั้นกลาง นี่ยังมาโดนภาษีเงินฝากยามเกษียณอีก แม่เจ้า
    20 เม.ย. 2562 เวลา 04.22 น.
  • BABY 5
    ดีครับให้ความรู้กับประชาชน พักนี้จะว่าไปเขาทำงานละเอียดจริงๆ นะ ขนาดเอาเวลาไปคิด ไข่ชั่งกิโล เป็นห่วงประชาชนจริง ๆ
    20 เม.ย. 2562 เวลา 04.20 น.
  • Lin
    สรรพากรถังแตก รีดทุกทางที่ทำได้ ระวังเงินไหลออกนอกประเทศก็แล้วกัน ผลิตภัณท์ทางการเงินต่างประเทศก็ได้เปรียบไป...
    20 เม.ย. 2562 เวลา 04.26 น.
  • Alex
    ไม่กระทบ แฟนแม่มึงสิ
    20 เม.ย. 2562 เวลา 04.24 น.
  • มะขามไร่จิตตนันท์
    เหมือนบังคับให้คนจนใช้เงินทางอ้อม
    20 เม.ย. 2562 เวลา 04.39 น.
ดูทั้งหมด