ไอที ธุรกิจ

หุ้นนี้ดีจริงไหม? หาคำตอบด้วย Auditor's Report

Finnomena
อัพเดต 27 ก.ย 2562 เวลา 09.06 น. • เผยแพร่ 09 ก.ย 2562 เวลา 04.00 น. • FINNOMENA Admin

ในมุมของนักลงทุน เวลาเราจะลงทุนอะไร เราก็คงต้องศึกษาถึงตัวบริษัท ทำอะไร มีผลการดำเนินงานเป็นอย่างไร กำไรเท่าไร แนวโน้มการเติบโตในอนาคตเป็นอย่างไร ดังนั้นสิ่งที่หนีไม่พ้นเลยคือเราต้องไปดูงบการเงินของบริษัท ดูอัตราส่วนทางการเงินต่างๆ ซึ่งเดี๋ยวนี้เราก็สามารถหาข้อมูลพวกนี้ได้หลายช่องทาง ไม่ว่าจะเป็น https://www.set.or.th หรือดูผ่าน https://www.finnomena.com/stock/ เองก็ได้ 

แต่ข้อมูลเหล่านี้ล้วนเป็นข้อมูลเชิงปริมาณทั้งสิ้น อาจทำให้เราได้ข้อมูลไม่ครบถ้วน เพราะขาดข้อมูลอื่นๆ ที่ไม่ได้อยู่เพียงแต่ในงบการเงินอย่างเดียว โดยเฉพาะรายงานผู้สอบบัญชีซึ่งรายงานผู้สอบบัญชีจะเป็นตัวช่วยให้เราสามารถเข้าใจงบการเงิน เข้าใจตัวบริษัทได้ดีมากยิ่งขึ้น เวลาอ่านงบการเงินเราควรที่จะอ่านรายงานของผู้สอบบัญชีก่อนเป็นอย่างแรก เพื่อที่เราจะได้เข้าใจภาพรวมของงบการเงิน และรู้ว่าประเด็นไหนในงบที่ควรดูและพิจารณาเป็นพิเศษ 

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

รายงานของผู้สอบบัญชีคืออะไร

รายงานการตรวจสอบของผู้สอบบัญชีได้รับอนุญาต คือรายงานที่ผู้สอบบัญชีได้แสดงความเห็นในรายงานว่างบการเงินนี้มีความถูกต้องตามควรในสาระสำคัญตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินอย่างไรบ้าง เพื่อที่เราจะได้มีความระมัดระวังในการอ่านงบการเงิน และนำไปประกอบการตัดสินใจได้ 

(เงินล้าน) หุ้นนี้ดีจริงไหม? หาคำตอบด้วย Auditor's Report
โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

รายงานผู้สอบบัญชีมีกี่ประเภท และต้องอ่านอย่างไร

รายงานของผู้สอบบัญชี จะแบ่งประเภทหลักๆ เป็น 2 ประเภท ตามระดับการให้ความเชื่อมั่นของผู้สอบบัญชี ซึ่งระดับของการให้ความเชื่อมั่นจะสูงหรือต่ำ นั้นก็ขึ้นอยู่กับว่าผู้สอบบัญชีได้รวบรวมหลักฐานการสอบบัญชีมากน้อยเพียงไหน  โดยสามารถแบ่งประเภทได้ดังนี้ คือ

รายงานการตรวจสอบงบการเงิน  

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ผู้สอบบัญชีให้ความเชื่อมั่นอย่างสมเหตุสมผล ได้รวบรวมหลักฐานการสอบบัญชีอย่างเพียงพอและเหมาะสม จึงสามารถที่จะแสดงความเห็นต่องบการเงินได้ รายงานประเภทนี้จะใช้ในการสอบบัญชีของงบปี

รายงานการสอบทานงบการเงิน

ผู้สอบบัญชีให้ความเชื่อมั่นอย่างพอประมาณ ได้รวบรวมหลักฐานการสอบบัญชีอย่างจำกัด ผู้สอบบัญชีจึงไม่สามารถแสดงความเห็นต่องบการเงินได้ แต่จะให้ความมั่นใจในเชิงปฏิเสธหรืออย่างจำกัด ว่าผู้สอบบัญชีไม่พบสิ่งที่เป็นเหตุให้เชื่อว่าข้อมูลในงบนั้นไม่ได้จัดขึ้นตามมาตรฐานฯ รายงานประเภทนี้ใช้ในการสอบบัญชีของงบไตรมาส

(เงินล้าน) หุ้นนี้ดีจริงไหม? หาคำตอบด้วย Auditor's Report

วิธีการอ่านรายงานการตรวจสอบงบการเงิน (งบปี)

เราก็จะอ่านทีละวรรคหรือทีละหัวข้อ มีทั้งหมด 9 วรรค หลายๆ วรรคใช้คำพูดตามมาตรฐานฯ ทำให้ทุกรายงานจะเขียนเหมือนกัน เราก็อ่านข้ามไปได้ ยิ่งถ้าเป็นความเห็นไม่มีเงื่อนไข หรือไม่มีประเด็นอะไรที่ต้องอธิบายเพิ่มเติม จะใช้คำพูดเดียวกัน ที่เราสามารถอ่านข้ามไปได้เลย ดังนั้นเราจึงต้องมาเข้าใจความเห็นของผู้สอบบัญชีก่อน ว่าเขาให้ความเห็นได้กี่ประเภท ซึ่งความเห็นของผู้สอบบัญชี จำแนกประเภทได้เป็น 4 ประเภท ดังนี้

ความเห็นอย่างไม่มีเงื่อนไข (Unqualified) 

ความเห็นอย่างไม่มีเงื่อนไข (Unqualified) คืองบการเงินถูกต้องตามสมควรแล้ว ผู้สอบบัญชีสามารถปฏิบัติงานตรวจสอบได้ แปลง่ายๆ คืองบสะอาดไม่มีปัญหา

ความเห็นมีเงื่อนไข (Qualified)

ความเห็นมีเงื่อนไข (Qualified) คือมีข้อมูลที่ไม่ถูกต้องบางประเด็น หรือผู้สอบบัญชีอาจไม่สามารถหาหลักฐานการตรวจสอบในบางประเด็นซึ่งมีสาระสำคัญ แต่ประเด็นดังกล่าวไม่กระทบงบการเงินทั้งหมด เราจำเป็นต้องไปไปอ่านในวรรคต่อไปเพิ่มเติมว่าเป็นประเด็นอะไรที่โดนกระทบ

ความเห็นว่างบการเงินไม่ถูกต้อง (Adverse)

ความเห็นว่างบการเงินไม่ถูกต้อง (Adverse)คือผู้สอบบัญชีปฏิบัติงานตรวจสอบได้ แต่งบการเงินมีข้อมูลที่ไม่ถูกต้องอย่างมีสาระสำคัญ และข้อมูลที่ไม่ถูกต้องนี้แผ่กระจาย  ส่งผลกระทบต่อข้อมูลงบการเงินในภาพรวมอย่างมาก

การไม่แสดงความเห็นหรืองดแสดงความเห็น (Disclaimer)

การไม่แสดงความเห็นหรืองดแสดงความเห็น (Disclaimer) คือผู้สอบบัญชีไม่สามารถปฏิบัติงานตรวจสอบงบการเงินได้อย่างมีสาระสำคัญ ไม่สามารถหาหลักฐานการตรวจสอบได้อย่างเพียงพอในประเด็นที่กระทบต่อทั้งงบการเงิน จึงทำให้ไม่สามาถแสดงความเห็นต่องบการเงินได้

(เงินล้าน) หุ้นนี้ดีจริงไหม? หาคำตอบด้วย Auditor's Report

โดยในกรณีที่ผู้สอบบัญชีแสดงความเห็นว่างบการเงินไม่ถูกต้อง หรือไม่แสดงความเห็นนั้น ถ้าหากเป็นบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ จะถูก กลต. ขึ้นเครื่องหมายSP (Trading Suspension)หรือเครื่องหมายแสดงการห้ามซื้อขายหลักทรัพย์จดทะเบียนเป็นการชั่วคราว เพราะถือว่ามีเหตุการณ์บางอย่างเกิดขึ้นที่อาจส่งผลกระทบต่อสิทธิประโยชน์ของผู้ลงทุนหรือการซื้อขายหลักทรัพย์ได้

ผู้เขียนขอนำรายงานผู้สอบบัญชีที่เสนอต่อผู้ถือหุ้นของ CPALL (บางส่วน) มาให้ดูเป็นตัวอย่าง 

หรือหากผู้อ่านอยากเห็นรายงานผู้สอบบัญชีที่ครบถ้วนทุกวรรค ผู้เขียนแนะนำให้ไปอ่าน รายงานผู้สอบบัญชี ของบริษัท กรุ๊ปลีส จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย สำหรับปีสิ้นสุด 31 ธันวาคม 2561 จะมีครบถ้วนทุกวรรค เพราะผู้สอบบัญชีแสดงความเห็นแบบมีเงื่อนไข และมีความไม่แน่นอนที่มีสาระสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานต่อเนื่องจากคดีความต่างๆ ของกิจการ

หุ้นนี้ดีจริงไหม? หาคำตอบด้วย Auditor's Report
หุ้นนี้ดีจริงไหม? หาคำตอบด้วย Auditor's Report
หุ้นนี้ดีจริงไหม? หาคำตอบด้วย Auditor's Report
หุ้นนี้ดีจริงไหม? หาคำตอบด้วย Auditor's Report
หุ้นนี้ดีจริงไหม? หาคำตอบด้วย Auditor's Report
หุ้นนี้ดีจริงไหม? หาคำตอบด้วย Auditor's Report
หุ้นนี้ดีจริงไหม? หาคำตอบด้วย Auditor's Report
หุ้นนี้ดีจริงไหม? หาคำตอบด้วย Auditor's Report

วิธีอ่านรายงานการสอบทานงบการเงิน (ใช้สำหรับงบไตรมาส) มีหลักๆ 2 วรรค

โดยใช้รายงานการสอบทานข้อมูลทางการเงินระหว่างกาลฯ ของ CPN (บางส่วน) มาเป็นตัวอย่าง

หุ้นนี้ดีจริงไหม? หาคำตอบด้วย Auditor's Report
หุ้นนี้ดีจริงไหม? หาคำตอบด้วย Auditor's Report

หลังจากอ่าน Auditor’s Report ด้านบนแล้ว เราก็จะพอสรุปได้ว่า งบการเงินไตรมาสที่ 1/2561 ของ CPN ผู้สอบบัญชีสอบทานแล้วไม่พบอะไรที่ผิดปกติ แต่ต้องระวังข้อมูลทางการเงินที่อยู่ในหมายเหตุข้อสามว่า ข้อมูลตรงส่วนนี้อาจเปลี่ยนแปลงได้ในอนาคต เพราะอยู่ในระหว่างการประเมินราคา 

และถ้าหากผู้สอบบัญชีให้ข้อสรุปแบบมีเงื่อนไข อาจมีวรรคเกณฑ์ในการให้ข้อสรุปอย่างมีเงื่อนไขเพิ่มเติมมาได้ ซึ่งเกณฑ์ในการให้ข้อสรุปแบบมีเงื่อนไข จะบอกเราว่าในประเด็นไหนบ้างที่ผู้สอบบัญชีมองว่าอาจส่งผลกระทบต่องบการเงินได้ค่ะ

ดูข้อมูลงบการเงินหุ้นย้อนหลังได้ถึง 10 ปี 40 ไตรมาสได้ที่ https://www.finnomena.com/stock/ สร้างแผนลงทุนด้วยแอป LINE ได้ง่ายๆ ผ่านมือถือ คลิกเลย! https://www.finnomena.com/line/intro

ข้อมูลอ้างอิง : นิพันธ์ เห็นโชคชัยชนะ และ ศิลปพร ศรีจั่นเพชร. (2559). การสอบบัญชี. กรุงเทพฯ : ทีพีเอ็น เพรส. https://www.investme.in.th/accounting/39-การอ่านงบการเงินพื้นฐาน-บทที่-14-:-วิธีการอ่านหน้ารายงานผู้สอบบัญชี/

คำเตือน

ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีตมิได้เป็นสิ่งยืนยันผลการดำเนินงานในอนาคต

ดูข่าวต้นฉบับ
ความเห็น 3
  • เนาวรัตน์ โสดสีกาวี
    ความรู้มากๆเลยคะ
    09 ก.ย 2562 เวลา 07.35 น.
  • Kratineii🎈
    ♥️
    09 ก.ย 2562 เวลา 09.55 น.
  • เตชสิทธิ์ นวลลมลี
    เก็บภาษีเพิ่มคนผลิตก็เพิ่มราคาของขึ้นอีกคนซื้อก็ควักเงินซื้อเพิ่มขึ่นอีกมันดีตรงไหนสรุปคนซื้อเป็นคนจ่ายภาษีแทน
    09 ก.ย 2562 เวลา 07.44 น.
ดูทั้งหมด