ทั่วไป

วันสุดท้ายของการลงทะเบียนเลือกตั้งล่วงหน้ากับนอกเขต คนยัง ‘งง’ สรุปแล้วเลือกตั้งล่วงหน้า ‘ในเขต’ ตัวเองได้ไหม?

The Momentum
อัพเดต 18 ก.พ. 2562 เวลา 12.10 น. • เผยแพร่ 18 ก.พ. 2562 เวลา 12.10 น. • THE MOMENTUM TEAM

19 ก.พ. 62 นี้เป็นวันสุดท้ายในการลงทะเบียนใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้า สำหรับผู้ที่จะเลือกตั้งล่วงหน้า ‘นอกเขต’ ไม่น่าจะมีปัญหาเท่ากับคนที่อยากเลือกตั้งล่วงหน้า ‘ในเขต’ ที่ตัวเองอยู่ พูดง่ายๆ ก็คือคนที่อาศัยในเขตตามทะเบียนบ้าน แต่ติดธุระสำคัญในวันที่ 24 มีนาคม จนไม่สามารถไปเลือกตั้งได้

The Momentum มีโอกาสพูดคุยกับคนในจังหวัดแพร่ พบว่าหลายคนยังคงสับสน อีกทั้งที่ว่าการอำเภอเองไม่ได้อำนวยความสะดวกอย่างที่ควร นำมาซึ่งการตัดสินใจว่า “ยุ่งยากนัก ไม่เลือกมันเลยดีกว่า”

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

หากอิงจากเว็บไซต์ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ระบุว่า ผู้ที่สามารถเลือกตั้งล่วงหน้าในเขตตัวเอง คือ “ผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่ได้รับคำสั่งจากทางราชการให้ไปปฏิบัติหน้าที่นอกเขตเลือกตั้งที่ตนมีสิทธิเลือกตั้ง และผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั่วไป ที่มิใช่ข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ ที่มีหลักฐานแสดงว่าในวันเลือกตั้ง ตนจะต้องไปปฏิบัติหน้าที่นอกเขตเลือกตั้งที่ตนมีสิทธิเลือกตั้ง”

การจะเลือกตั้งล่วงหน้าในเขตของตัวเองได้ คีย์เวิร์ดอยู่ที่การไป ‘ปฏิบัติหน้าที่’ นอกเขตในวันเลือกตั้ง แม้ว่าทาง กกต. จะไม่ระบุว่ากรณีใดบ้างที่ไม่ได้รับอนุญาต แต่หลายคนก็น่าจะคาดเดาว่าไม่น่าจะนับรวมการไปเที่ยว ซึ่งอาจจะจองตั๋วไว้นานมากแล้วก่อนที่การเลือกตั้งจะเลื่อน

ปัญหาคือ ข้อมูลนี้ได้รับการเผยแพร่แล้วก็จริง แต่เป็นที่แน่ชัดว่าไม่ได้ทั่วถึง (ยังไม่นับการเขียนประโยคยาวพรืดเดียวที่ไม่ชวนอ่านเท่าใดนัก) เช่นปัญหาที่ชาวบ้านหลายรายพบเจอ หญิงวัย 62 ท่านหนึ่ง (ไม่สะดวกเปิดเผยชื่อ) ไปยังที่ว่าการอำเภอของตนเพื่อลงทะเบียนเลือกตั้งล่วงหน้า เพราะจองตั๋วไปเที่ยวในช่วงวันที่ 24 มีนาคม คำตอบที่เธอได้รับคือ “ให้ไปลงทะเบียนในเว็บไซต์ และหากจะเลือกตั้งล่วงหน้า จะเลือกในเขตตัวเองไม่ได้ ต้องไปเลือกที่เขตอื่น หรืออำเภออื่น”

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

หากยึดตามข้อระบุของ กกต. สิ่งที่เจ้าหน้าที่บอกกับชาวบ้านนั้นก็น่าจะถูกต้องแล้ว เพียงแต่ไม่ได้มีการอธิบายให้เข้าใจว่าเหตุใดจึงทำไม่ได้ หรืออธิบายว่าผู้มีสิทธิเลือกตั้งล่วงหน้าในเขตตัวเอง คือผู้ที่จะไป ‘ปฏิบัติหน้าที่’ เท่านั้น ดังนั้นความเป็นไปได้ที่จะเลือกตั้งล่วงหน้า สำหรับกรณีนี้ คือการไปเลือกในเขตใกล้เคียงนั่นเอง

การไม่อธิบายให้กระจ่างแจ้ง นำมาซึ่งความยุ่งยากใจของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ชาวบ้านอีกหลายคนที่ต้องการลงทะเบียนเลือกตั้งล่วงหน้า ยังคงไม่เข้าใจ หรือกระทั่งผู้สูงอายุบางคนที่ใช้อินเทอร์เน็ตไม่เป็น พวกเขาตัดสินใจที่จะไม่เลือกตั้ง

นั่นหมายถึงคะแนนเสียงที่จะขาดหายไป และคงไม่ใช่จำนวนน้อย หากนับรวมกลุ่มคนเหล่านี้ทั่วทั้งประเทศ

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง
ดูข่าวต้นฉบับ
ความเห็น 28
  • Nueng®
    ทำไมต้องสร้างเงื่อนไขวุ่นวายสำหรับคนที่เค้าไม่สะดวกวันที่ 24 มีนา ก็ให้เลือกตั้งล่วงหน้าวันที่ 17 มีนา ได้โดยไม่ต้องลงทะเบียน ซึ่งระบบทะเบียนราษฎร์ควรจะออนไลน์ถึงกันหมด ระบุได้ว่าใครไปใช้สิทธิ์ล่วงหน้าแล้ว
    18 ก.พ. 2562 เวลา 12.50 น.
  • pat
    กกตทำงานได้แย่มาก.. โทรทัศน์ สื่อประชาสัมพันธ์ ที่คนรู้เห็นได้ทั่วไปก็ไม่เคยนำออกมาใช้ให้เป็นประโยชน์แจงรายละเอียดให้ปชช.รู้..เช่น เลือกตั้งข้ามเขตได้หรือไม่ รูปลักษณะบัตรเลือกตั้งเป็นอย่างไรใครจะไปตรัสรู้ได้ .. เห็นว่าให้กากบาท กาเครื่องหมายถูกเป็นโมฆะ .ฯลฯ. ทำเอง..เออเองรู้เองอยู่คนเดียว.. บอกได้เลยว่าเป็นชุดที่อุบาทว์ที่สุดที่เคยมีมา .. ส่อเจตนาไปในทางที่ให้ผู้ลงคะแนนทำบัตรเสีย
    18 ก.พ. 2562 เวลา 13.08 น.
  • mon
    รอบนี้ สับสน ที่สุด วางหมาก สกัดพรรคอื่นที่เป็นเจ้าประจำ ดูด สส มาเป็นฐานเสียง เริ่มใหม่ ก็เลยต้องทำกติกา สกัด พรรคอื่น
    18 ก.พ. 2562 เวลา 13.02 น.
  • Aris | アリス | آريس
    รัฐควรจัดวัน ไม่ต้องลงทะเบียน ถึงวันก็ลงทะเบียนนะตอนนั้น น่าจะสะดวกกว่า นึกถึงคนเดินทาง
    18 ก.พ. 2562 เวลา 12.41 น.
  • ประยุทธ แจ่มกระจ่าง
    กกต.กลางออกมาชี้แจงบ้างซิครับยังแก้ไขทันอยู่มั้ง
    18 ก.พ. 2562 เวลา 13.03 น.
ดูทั้งหมด