ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

วิกฤติ อาร์เจนตินา ประเทศที่มีอัตราดอกเบี้ย 40%

ลงทุนแมน
อัพเดต 16 พ.ค. 2561 เวลา 09.51 น. • เผยแพร่ 17 พ.ค. 2561 เวลา 00.50 น. • ลงทุนแมน

วิกฤติ อาร์เจนตินา ประเทศที่มีอัตราดอกเบี้ย 40% / โดย ลงทุนแมน
ตอนนี้ อัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยอยู่ที่ 1.50% ต่อปี
แล้วเราเคยสงสัยหรือไม่ว่า ประเทศอะไร
มีอัตราดอกเบี้ยสูงที่สุดในโลก
แล้วอัตราที่สูงนั้น มันสักเท่าไรกัน?

ในช่วงที่ผ่านมา “ประเทศอาร์เจนตินา” ได้ประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยอยู่หลายครั้ง

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ปี 2012 อัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ 10.71%
ปี 2013 อัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ 19.67%
ปี 2014 อัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ 21.83%
ปี 2015 อัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ 33.00%
ปี 2016 อัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ 24.75%
ปี 2017 อัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ 28.75%
วันที่ 27 เม.ย. 2018 อัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ 30.25%
วันที่ 3 พ.ค. 2018 อัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ 33.25%
วันที่ 4 พ.ค. 2018 อัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ 40.00%

เพียงแค่ในหนึ่งสัปดาห์ มีการขึ้นดอกเบี้ยมาแล้วเกือบ 10% มันเกิดอะไรขึ้นในอาร์เจนตินา?

เหตุผลหลักของนโยบายการเงินที่เข้มงวดนี้ ก็เพื่อป้องกันการอ่อนค่าอย่างหนักของสกุลเงินตนเอง

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

เงินเปโซของอาร์เจนตินา เมื่อต้นปี 2017 ซื้อขายอยู่ที่ประมาณ 16 เปโซ/ดอลลาร์สหรัฐ แต่ตอนนี้ อ่อนค่าลงไปอยู่ที่ 22 เปโซ/ดอลลาร์สหรัฐ หรือมูลค่าหายไปกว่า 1 ใน 3 ซึ่งหมายความว่าเงินเปโซของอาร์เจนตินากำลังถูกเทขายอย่างหนัก

ดังนั้น ธนาคารกลาง จึงต้องขึ้นดอกเบี้ย เพิ่มผลตอบแทน ดึงดูดให้นักลงทุนนำเงินมาไว้ในประเทศ หยุดการเทขายเงินเปโซ ไม่เช่นนั้นเงินสำรองระหว่างประเทศจะหายไปหมดเสียก่อน และเศรษฐกิจอาจจะพังทลายลงได้

แล้วทำไมเงินเปโซถึงถูกเทขาย?

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

อาร์เจนตินา มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 2 ของทวีปอเมริกาใต้ และใหญ่เป็นอันดับที่ 21 ของโลก

แต่ขณะนี้ประเทศ กำลังเจอวิกฤติภาวะเงินเฟ้อขั้นรุนแรง ล่าสุดอยู่ที่ 25% สูงเป็นอันดับสองของโลก รองจากเวเนซุเอลา ที่เกิดวิกฤติเศรษฐกิจภายในประเทศ

ปัจจัยหลักที่ทำให้เป็นแบบนี้เป็นเพราะที่ผ่านมาหลายสิบปี รัฐบาลอาร์เจนตินามีงบประมาณขาดดุล คือ มีค่าใช้จ่ายมากกว่ารายได้ที่เก็บ ซึ่งค่าใช้จ่ายดังกล่าว คือนโยบายการอุดหนุนราคาสินค้า โดยเฉพาะด้านพลังงาน

แต่ถ้าทำอย่างนี้ไปเรื่อยๆ รัฐบาลก็จะยิ่งเป็นหนี้ เพราะต้องกู้เงินมาใช้จ่าย ในส่วนต่างนั้น

ประธานาธิบดี Mauricio Macri ที่เข้ามาบริหารประเทศเมื่อปี 2015 พยายามปฏิรูปและลดค่าใช้จ่าย จึงยกเลิกนโยบายดังกล่าว ทำให้ต้นทุนสินค้าโดยรวม เฟ้อขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่ก็เพื่อหวังให้ทุกอย่างกลับสู่ภาวะสมดุลในระยะยาว

และนี่ก็เป็นเหตุผลทำให้ ธนาคารกลางต้องขึ้นดอกเบี้ย เพื่อจะช่วยลดความร้อนแรงของเงินเฟ้อลง

แต่สำหรับนักลงทุน คงไม่มีใครอยากถือเงินเปโซของอาร์เจนตินา เพราะยิ่งถือยิ่งด้อยค่าลง จึงเลือกที่จะหันไปถืออย่างอื่น เช่น เงินดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งมีความเสี่ยงต่ำกว่า

บทเรียนเรื่องนี้ สอนให้เรารู้ว่า

การบิดเบือนตลาด อาจสร้างผลดีในระยะสั้น แต่ในที่สุดแล้วก็ไม่ยั่งยืน

เพราะสักวัน สิ่งที่ค้ำจุนนั้น อาจจะต้องมีวันหมดไป

และในที่สุดเราต้องลำบากมากกว่าในระยะยาว เหมือนที่ประเทศอาร์เจนตินาเป็นอยู่

จะเห็นได้ว่ารัฐบาลของประเทศมีบทบาทเป็นอย่างมากในการกำหนดชีวิตในอนาคตของประชาชน

สุดท้ายจะกำหนดนโยบายอะไรต้องคิดให้ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจที่เกี่ยวกับปากท้องของประชาชน

เพราะถ้าพลาดขึ้นมา คนที่รับกรรมจะไม่ใช่ใครที่ไหน

แต่จะเป็นประชาชนทุกคนนั่นเอง..
———————-
อาร์เจนตินา มีอัตราดอกเบี้ยสูง
ลงทุนแมนมีบทความ
ติดตามบทความลงทุนแมน ได้ที่
-บล็อกดิท blockdit longtunman.com/app
-อินสตาแกรม instagram.com/longtunman
-ทวิตเตอร์twitter.com/longtunman
-ไลน์ line.me/R/ti/p/%40longtunman
———————-

Reference
-https://countryeconomy.com/key-rates/argentina
-https://tradingeconomics.com/argentina/indicators
-http://www.bbc.com/news/business-44001450
[6444].

ดูข่าวต้นฉบับ
ความเห็น 11
  • Pooh Kasem
    ประชานิยมที่ทำกรีซล่มมาแล้ว รายต่อไปคงเป็นอาร์เจนตินา
    17 พ.ค. 2561 เวลา 05.15 น.
  • กฤติเดช สุขเนืองนอง
    โชคดีประเทศ "ระบอบทักษิณ"ฉิบหายเสียก่อน ไม่เช่นนั้น อนาคตประเทศ รุ่นลูก หลาน จะพินาศเหมือนอาเจนแน่
    17 พ.ค. 2561 เวลา 04.54 น.
  • Steve
    ไม่กี่ปีก่อนไทยก็เคยบิดเบือนราคาข้าว ถ้าบิดเบือนไปเรื่อยๆก็คงไม่ต่างจากอาร์เจนติน่า
    17 พ.ค. 2561 เวลา 04.08 น.
  • เราอยู่กับคนไม่ทันเกมส์นักการเมือง แล้วคนเหล่านี้ก็มีเยอะในประเทศไทย เลือกตั้งทีไรแพ้มันตลอด
    17 พ.ค. 2561 เวลา 10.49 น.
  • Bavo5
    ไทยกำลังตาม คิดเอาพรบ.ปล่อยให้เช่าที่ดิน99ปี เจอเสี่ยใหญ่จีนเช่ายกจังหวัดแล้วจะร้อง
    17 พ.ค. 2561 เวลา 06.11 น.
ดูทั้งหมด