ทั่วไป

เดือนชนเดือน! คนกรุงเทพฯ ต้องอยู่ยังไง ในเมืองที่ค่าใช้จ่ายแสนแพง!

Another View
เผยแพร่ 08 มี.ค. 2562 เวลา 05.00 น.

เดือนชนเดือน! คนกรุงเทพฯต้องอยู่ยังไงในเมืองที่ค่าใช้จ่ายแสนแพง! 

BY : TEERAPAT LOHANAN

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ดูเหมือนว่าจะไม่ใช่เรื่องง่ายในการใช้ชีวิตอยู่ภายในเมืองหลวงที่ค่าครองชีพแพงหูฉี่ จนเงินที่ได้มาในแต่ละเดือน แทบจะไม่มีเหลือเก็บเข้าบัญชีแล้ว หรือในบางเดือนที่รายจ่ายเข้าขั้นเลวร้ายสุด ๆ ก็ต้องเจียดควักเงินสำรองออกมาใช้จ่ายไปก่อน เพื่อประทังชีวิตให้รอดไปอีกหนึ่งเดือน

ยิ่งโดยเฉพาะชีวิตที่เพิ่งออกมาทำงานใหม่ ๆ ที่ไม่ว่าจะไปสมัครทำงานที่ไหน ๆ โดยส่วนมากแล้วก็โดนเสนอเงินเดือนแรกเริ่มอยู่ที่ 15,000 – 18,000 บาท ทั้งนั้นเห็นอย่างนี้แล้วหลาย ๆ คนก็อาจจะเหงื่อตกว่า ด้วยเงินเดือนตัวเลขหลักนี้แล้ว เราจะต้องใช้ชีวิตต่อไปในเมืองหลวงอันแสนศิวิไลซ์ที่ค่าครองชีพแพงแสนแพงอย่างนี้กันล่ะเนี่ยยยยย !!!!

แต่ว่า เรามาทำใจให้สบาย ๆ ก่อนนะขอรับทุกท่าน เรามาลองดูวิธีที่จะอยู่ให้รอดในเมืองกรุงที่ค่าครองชีพแพงแสนแพงนี้ได้ยังไง วิธีที่เราจะแนะนำคือ"การแบ่งเงินเป็นส่วน ๆ" เป็นวิธีง่าย ๆ ที่ใคร ๆ ก็ทำได้เพียงแค่ต้องหักใจจากบางอย่างในชีวิตบ้างก็เท่านั้นเอง

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ถ้าพร้อมแล้วเรามาเริ่มต้นที่การแบ่งเงินออกเป็นสัดส่วนกันก่อนเลยดีกว่า

ในขั้นแรก แบ่งกองเงินก้อนแรกออกมาเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายหลัก ๆ ที่จำเป็นจะต้องปลิวไปอยู่แล้วออกก่อน ซึ่งนั่นก็คือ "ค่าที่พัก"

สำหรับคนที่มีบ้านหรือคอนโดที่เป็นเจ้าของอยู่แล้วก็อาจจะไม่ต้องลำบากในเรื่องนี้ ก็สามารถโยกเงินตรงส่วนนี้ไปใช้ในส่วนอื่น ๆ ได้ แต่สำหรับคนอีกหลาย ๆ คนแล้ว ที่อยู่ในกรุงเทพนั้นไม่ได้สามารถหาอยู่หาซื้อเป็นเจ้าของมาได้ง่าย ๆ ดังนั้นการเช่าหอพักอยู่จึงเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุด

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ซึ่งในส่วนนี้แนะนำให้หาที่พักในราคา 4,000 – 7,000 บาท (รวมค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าเน็ต) หรือไม่ก็แชร์ที่อยู่หารครึ่งกับเพื่อนที่ทำงานด้วยกัน หรือเพื่อนที่สนิทสนมกันนิดหนึ่ง เพื่อจะได้ที่อยู่อาศัยที่ค่อนข้างมีคุณภาพชีวิตขึ้นมาอีกระดับหน่อย เพราะหลังจากการทำงานมาเหนื่อย ๆ ไม่ว่าใครก็คงอยากจะได้นอนบนเตียงดี ๆ กันทั้งนั้นแหละ

ส่วนที่สอง คือ ค่าเดินทาง สำหรับใครที่สามารถหาที่พักอยู่ใกล้กับที่ทำงานได้ก็ถือเป็นลาภอันประเสริฐที่จะไม่จำเป็นต้องเสียค่าเดินทางภายในกรุงเทพ แต่นั่นก็เป็นเรื่องยากอีกอยู่ดีที่หวยจะมาถูกที่เราที่ได้ทั้งที่พักราคาไม่แพงแถมยังใกล้ที่ทำงานอีก

ดังนั้นแล้ว ในส่วนของค่าเดินทางแล้ว ควรจัดสรรให้ตกอยู่ที่วันละ 150 บาท ทำงานอาทิตย์ละ 5 วัน ใน 1 เดือนมีประมาน 4 สัปดาห์ ก็จะสิริรวมค่าใช้จ่ายอยู่ที่ 2,800 บาท เหนาะ ๆ

ผ่านสองส่วนนี้ไปได้ เมื่อหักลบกับเงินที่อยู่ในบัญชีแล้ว ก็จะมีเงินเหลืออยู่ในบัญชีประมาน 8,200 – 11,200 บาท 

ส่วนที่สามคือค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ค่ากินอยู่ ค่าข้าว ค่ากาแฟ อยู่ที่ 6,000 บาท ต่อเดือน หรือตกประมาณเฉลี่ยวันละ 200 บาท ข้าวเช้า กลางวัน และเย็น หรือหากอยากประหยัดเพิ่มขึ้นอีก ก็ต้องซื้อกับข้าวมาเพื่อทำกินเองที่ห้องพัก เท่านี้ก็จะสามารถประหยัดรายจ่ายไปได้อีกระดับหนึ่งมาก ๆ แล้ว

เมื่อแบ่งเงินครบสามส่วนนี้แล้ว เงินที่เหลืออยู่ ประมาณ 2,200 – 5,200 บาท ก็ถือเป็นค่าใช้จ่ายจิปาถะของเรากันแล้ว จะส่งให้ที่บ้าน หรือเก็บเข้าบัญชีเงินเก็บของเรา หรือใช้ซื้อของเป็นของรางวัลให้ตัวเองก็สุดแล้วแต่ความต้องการกันเลย

เป็นอย่างไรกันบ้างครับ จริง ๆ แล้วถ้าเราแบ่งการใช้จ่ายของเราดี ๆ ให้พอเหมาะพอควรแล้วเนี่ย เงินเดือน 15,000 – 18,000 บาท ก็ดูจะไม่ได้ทำให้เราเดือดร้อนอะไรกับการใช้ชีวิตประจำวันในกรุงเทพมหานครกันสักเท่าไหร่เลยนะ

 

อ้างอิง : https://news.mthai.com/social-news/450152.html

https://www.tnews.co.th/contents/336041

http://www.komchadluek.net/news/scoop/267460

ภาพประกอบ

https://world.kapook.com/pin/558bc2304d265a71498b456a

https://world.kapook.com/pin/558bc2184d265ac7498b456b

https://www.hellovidek.hu/gazdasag/2018/12/26/ebben-a-regioban-kereshetsz-a-legtobbet-pest-megye-fel-sem-fer-a-dobogora

ความเห็น 71
  • Tao
    ทฤษฎีที่เขียนไว้ มีมานานแล้ว ในทางปฏิบัติ มันทำไม่ได้ ผมใช้ชีวิตมนุษย์เงินเดือนมาหลายปี ถึงได้รู้ เอาเข้าจริง ๆ คชจ.ที่มองไม่เห็น มันมีแฝงตัวอีกเยอะ ไหนจะงานสังคม ไหนจะพ่อแม่ ที่จะต้องเจียดเงินให้ท่านใช้บ้าง ไหนจะค่าเสื้อผ้า เครื่องแต่งกายที่ซื้อตามตลาดนัด หรือโบ๊เบ๊ หรือพาหุรัด ไม่ได้ซื้อแพง ไหนจะงานแต่ง งานบวช ผ้าป่า กฐิน บางเดือน โดนไปเกือบสิบซอง ไหนจะค่าซ่อมแซมของใช้ต่าง ๆ ทฤษฎี เรื่องแบ่งเงินเป็นส่วน ๆ พูดได้ครับ แต่ปฎิบัติ คุณต้องพลิกแพลงเอง เช่นรับจ๊อบ หารายได้เสริม เป็นต้น
    08 มี.ค. 2562 เวลา 06.48 น.
  • risaraman
    คนไทยไม่ใช่คนจนสักหน่อย​ แค่ไม่มีจะแดกตามนโยบายของรัฐบาลที่เข้ามาแล้วไม่มีอะไรดีขึ้น​ ต่อให้เลือกตั้งแล้วเราก็จะเป็นอย่างนี้ไปจนชั่วลูกชั่วหลาน​ ไอ้คนที่ว่าทำได้มันก็ทำเข้ากระเป๋าตัวเองหมด
    08 มี.ค. 2562 เวลา 05.32 น.
  • เกิดมาทำงานให้คนอื่น แลกกับเศษเงินเขา ถ้าเขาให้คุ้มก็พออยู่ได้ แต่ส่วนมากแล้วจะไม่คุ้มหรอก 5555 เขาเอาเศษเงินให้มาประทังชีวิตเพื่อทำกำไรให้เขาเท่านั้นเอง พ่อแม่อยู่บ้านแทบไม่ได้อาศัย เงินเก็บไม่มี เจ็บป่วยมาไม่รู้จะใช้เงินที่ไหนต้องเดือดร้อนทางบ้านก็มี เฮ้อ...ถ้าฉุกเฉินจะทำไง กู้เหรอะ แหงอยู่ก็สังคมมันวางไว้ให้คนเป็นทาสอยู่แล้ว พุทธองค์ตรัสไม่ผิดหรอก พอกู้เสร็จก็หาเงินจ่ายหนี้เขาอีก เป็นทาสผู้มีอำนาจเหนือกว่าแบบจำยอม เป็นหมากใช้เดินเพื่อขับเคลื่อนสังคมเศฐกิจ
    08 มี.ค. 2562 เวลา 06.02 น.
  • ต้อม
    มีกิน แต่ไม่มีเก็บ แต่ถ้าใช้อย่างประหยัด ก็พอมีเก็บบ้าง☺️☺️☺️
    08 มี.ค. 2562 เวลา 05.37 น.
  • Chamnsth
    ก๋วยเตี๋ยวรถเข็นชามละ 50-60 ไปแระแถมได้จิ้ดเดียว ถ้าตึกแถวก็ก 60-100 น้ำแข็งป่าวแก้วละ 3-5 บาท
    08 มี.ค. 2562 เวลา 06.29 น.
ดูทั้งหมด