สังคม

แอปฯ "ผูกพันธุ์" ชี้ข้อมูล "ยีนแพ้ยา" ช่วยรักษาแบบพุ่งเป้า

Thai PBS
อัพเดต 22 ก.พ. เวลา 09.17 น. • เผยแพร่ 22 ก.พ. เวลา 08.03 น. • Thai PBS

ความรู้ทางเภสัชพันธุศาสตร์ (pharmacogenetics) ศาสตร์ที่ศึกษาอิทธิพลของลักษณะทางพันธุกรรมต่อการตอบสนองของยา กำลังจะเข้ามามีบทบาทสำคัญต่อการรักษาพยาบาลในอนาคต เพราะผู้ป่วย 1 คน ไม่จำเป็นต้องใช้ ยา และปริมาณยา ในขาดที่เท่านั้น การตอบสนองของแต่ละคนล้วนแตกต่าง

ด้วยแนวความคิดดังกล่าว กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และมหาวิทยาลัยมหิดล จึงร่วมกันคิดค้นแพลตฟอร์มดิจิทัล เพื่อเชื่อมข้อมูลทางพันธุกรรม ให้แพทย์ได้ทราบ และใช้เป็นแนวทางการรักษา

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

นพ.ยงยศ ธรรมวุฒฺ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า ปัจจุบันการตรวจยีนแพ้ยาในคนไทย ครอบคลุมในสิทธิประโยชน์การรักษาของระบบหลักประกันสุขภาพ

หากแพทย์เกิดความสงสัย สามารถสั่งให้มีการตรวจหายีน เพื่อดูว่าผู้ป่วยมีการแพ้ต่อยา หรือไม่ ซึ่งอัตราการ พบยีนแพ้ยาในคนไทยอยู่ที่ร้อยละ 15 หรือประมาณ 9.7 ล้านคน และพบในผู้ป่วย 42,000 – 100,000 คน

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

การตรวจยีนก่อนให้ยา จะช่วยลดอาการเกิดผื่นแพ้ยารุนแรง การแพ้ยา ลดอัตราการเสียชีวิตได้มากกว่าร้อยละ 90 และช่วยประหยัดงบประมาณค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลผู้ป่วยจากอาการแพ้ยารุนแรงของประเทศ ได้มากกว่า 250 ล้านบาทต่อปี

การตรวจหายีนการแพ้ยา ทำเพียงครั้งเดียว โดยใช้เลือดเพียง 2 หลอด ก็สามารถทราบข้อมูลตลอดชีวิต ว่ามีการแพ้ยาใน 4 กลุ่ม หรือไม่ ได้แก่

  • การตรวจยีน HLA-B*58:01 สำหรับกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับยาลดกรดยูริค อัลโลพูรินอล (Allopurinol) หรือ ยารักษาโรคเกาต์
  • การตรวจยีน HLA-B*15:02 สำหรับกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับยากันชักคาร์บามาซีปีน (Carbamazepine)
  • การตรวจยีน HLA-B*57:01 สำหรับกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับยาต้านไวรัสเอชไอวี อะบาคาเวียร์ (Abacavir)
  • การตรวจยีนย่อยยา NAT2 ในผู้ป่วยวัณโรคที่ได้รับยาไอโซไนอาซิด (Isoniazid)

หลังจากนั้น ข้อมูลทั้งหมดจะถูกเชื่อมต่อกับ แพลตฟอร์มดิจิทัล “ผูกพันธุ์” ซึ่งประชาชนสามารถโหลดข้อมูลลงในโทรศัพท์มือถือได้ ทั้งแบบสมาร์ทโฟนและระบบไอโอเอส (iOS) และแอนดรอยด์ (Android)

วิธีการ คือ การลงทะเบียน ยืนยันตัวตนผ่านบัตรประชาชนออนไลน์ ThaiD ก็สามารถเข้าถึงข้อมูลผลการตรวจของตนเองได้ และแพทย์ เภสัชกร ก็สามารถนำข้อมูลดังกล่่าวไปใช้ในการรักษาได้ทันที ปัจจุบันระบบได้เชื่อมต่อกับสถานพยาบาลแล้วรวม 11 แห่ง

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

การที่ร่างกายไม่สามารถย่อยยาได้ มีผลทำให้เกิดตับอักเสบ ซึ่งส่วนใหญ่ไม่ได้ตายจากโรค แต่ตายจากการดื้อยา ดังนั้นการทราบว่า ร่างกายมีการแพ้ยาอะไร หรือ ดื้อต่อยาตัวไหน มีความสำคัญมาก เพื่อไม่ให้ซ้ำรอยในอดีตที่ เคยมีผู้ป่วยแพ้ยาอย่างรุนแรงจนตาบอด

ด้าน รศ.ดร.ภก.ปราโมทย์ ตระกูลเพียรกิจ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่าข้อมูลทางเภสัชพันธุศาสตร์ เน้น ใน 3 เรื่องหลัก คือ การใช้เพื่อป้องกัน หลีกเลี่ยงอาการไม่พึ่งประสงค์ การแพ้ยา และใช้ป้องกันการแพ้ยา ,สามารถนำข้อมูลที่ได้มาปรับขนาดยาให้เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละคน ไม่ใช่ทุกคนต้องได้รับยาขนาดเดียวกัน ชนิดเดียวกัน

การตรวจยีนย่อยยาจะทำให้รู้ว่า แต่ละคนมีการย่อยสลายยาในปริมาณเท่าใด ,กำหนดและวางแผนการรักษาได้อย่างถูกต้องเหมาะสม เพราะการรักษาโรคจำเป็นต้องพึ่งยา หากในกรณี ผู้ป่วยเดินทางไปต่างประเทศ แล้วเกิดอาการเจ็บป่วยแพทย์ เภสัชกร ก็จะทราบข้อมูลการแพ้ยาทันที แต่สิ่งสำคัญ คือ ทุกข้อมูลต้องได้รับการยินยอมจากผู้ป่วย เพื่อไม่ให้เป็นการละเมิดกฎหมาย PDPA

เภสัชพันธุศาสตร์ เป็นแนวทางการรักษาโรคในอนาคต และจะเห็นว่า ยีนแพ้ยาในคนไทย ที่พบในคนเชื้อชาติไทย มีอยู่ในยีน HLA-B*58:01 ผู้ป่วยที่ได้รับยารักษาโรคเกาต์ ลดกรดยูริค และ ยีน HLA-B*15:02 สำหรับกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับยากันชักคาร์บามาซีปีน เพราะการตอบสนองต่อยาในแต่ละเชื้อชาติล้วนแตกต่างกัน

สำหรับการใช้งาน “ผูกพันธุ์” ผู้ที่ใช้งานต้องกรอกรายละเอียดส่วนบุคคล และทำการยืนยันตัวตนในขั้นตอนสมัครใช้งานระบบ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในข้อมูลของผู้ป่วย และแพทย์และเภสัชกร สามารถเข้าถึงข้อมูลผลการตรวจจากการค้นหาข้อมูลด้วยเลขบัตรประชาชนหรือชื่อและนามสกุล โดยต้องส่งคำขอเข้าถึงข้อมูลไปยังประชาชนผู้เป็นเจ้าของก่อนถึงจะสามารถเข้าไปดูข้อมูลได้

อ่านข่าวที่เกี่่ยวข้อง :

สธ.เปิดโอกาสป.ตรีทุกสาขา เรียนพยาบาล 2 ปีครึ่ง แก้ปัญหาขาดแคลน

สธ.แจงข้อมูล นพ.ธีระวัฒน์ ยันพบ White Clot ในศพไม่ผิดปกติ

ดูข่าวต้นฉบับ