ทั่วไป

ม.มหิดล ลดอุบัติภัย ออกแบบแผงกั้นลดแรงเฉื่อยในถังรถบรรทุกน้ำมัน ด้วยพลศาสตร์ของไหล

สยามรัฐ
อัพเดต 19 พ.ค. 2565 เวลา 08.22 น. • เผยแพร่ 19 พ.ค. 2565 เวลา 08.22 น.

เป็นธรรมดาของผู้ใช้รถใช้ถนนหลายราย ในเวลาที่ต้องร่วมทางกับรถบรรทุกน้ำมันขนาดมหึมาด้วยแล้ว อาจเกิดความรู้สึกไม่มั่นใจในความปลอดภัย เนื่องจากข่าวอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นบ่อยครั้ง จนต้องพยายามหลีกเลี่ยงไปขับในเส้นทางอื่น

และยังมีบางรายที่ไม่ทราบว่า ภายในถังรถบรรทุกน้ำมันขนาดประมาณ 80,000 ลิตรที่เราเห็นกันโดยทั่วไปบนท้องถนนนั้น ประกอบด้วยแผงกั้นซึ่งได้มีการออกแบบให้แต่ละแผ่นมีรูตรงกลางขนาดใหญ่ติดตั้งไว้เรียงรายภายในถัง เพื่อคอยทำหน้าที่ลดแรงเฉื่อยไม่ให้รถบรรทุกน้ำมันเกิดเหตุพลิกคว่ำ ตามหลักการของ "พลศาสตร์ของไหล" ซึ่งเป็นหนึ่งในผลงานนวัตกรรมคุณภาพออกแบบโดยอาจารย์นักวิจัยของมหาวิทยาลัยมหิดล และผู้ประพันธ์ตำรา E-Book ในชื่อเดียวกัน ซึ่งสามารถดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้ทางแอปพลิเคชัน MU PRESS

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

รองศาสตราจารย์ ดร.ชาคริต สุวรรณจำรัส อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้ประพันธ์ตำรา MU PRESS E-Book "พลศาสตร์ของไหล" เจ้าของผลงานนวัตกรรมการออกแบบแผงกั้น (Buffle) เพื่อลดแรงเฉื่อยในถังรถบรรทุกน้ำมัน และอีกหลากหลายผลงานคุณภาพ ด้วยหลักการ "พลศาสตร์ของไหล" ได้อธิบายถึงคำจำกัดความของ "ของไหล" ว่าไม่จำเป็นต้องเป็นน้ำและอากาศ แต่ได้แก่สสารซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงรูปร่างได้ตามแรงที่ถูกกระทำ โดยขึ้นอยู่กับ"ความดัน" และ "ความเร็ว" เป็นสำคัญ

เมื่อรถเบรก แต่ของเหลวไม่ได้เบรกตาม ซึ่งมักเป็นเหตุให้รถบรรทุกน้ำมันขนาดใหญ่ต้องสูญเสียการควบคุม จนอาจพลิกคว่ำเกิดอุบัติเหตุที่ไม่คาดฝัน ทำให้เกิดการสูญเสียชีวิต และทรัพย์สิน ตลอดจนส่งผลกระทบต่อบริเวณโดยรอบจากเหตุอัคคีภัยได้

ซึ่งการใช้แผงกั้น (Buffle) ภายในถังรถบรรทุกน้ำมันจะช่วย"จัดระเบียบการไหล" เพื่อให้เวลาเกิดแรงเฉื่อย หรือแรงกระเพื่อมจากการเลี้ยวหรือหยุดรถ น้ำมันที่อยู่ภายในถังจะได้ไหลผ่านลอดรูของแผ่นกั้นที่อยู่เรียงรายภายในถัง ซึ่งจะทำให้แรงเฉื่อย หรือแรงกระเพื่อมของน้ำมันที่อยู่ภายในถังเกิดขึ้นได้น้อยลง

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

จริงๆ แล้วความรู้ความเข้าใจใน "พลศาสตร์ของไหล" ไม่ได้จำกัดเฉพาะผู้ที่เป็น "ช่าง" โดย รองศาสตราจารย์ดร.ชาคริต สุวรรณจำรัส ได้ให้คำจำกัดความของคำว่า"ช่าง" ด้วยว่า คือ ผู้ที่มีความชำนาญในงาน หรือศิลปะอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งจำเป็นต้องมีการศึกษาใฝ่หาความรู้อยู่ตลอดเวลาและสม่ำเสมอ เพื่อให้มีทักษะที่ดี สามารถพึ่งพาตัวเอง พร้อมทั้งเป็นที่พึ่งให้กับผู้อื่นได้

เพื่อการมีชีวิตอยู่รอดปลอดภัยด้วยปัญญาในโลกยุคปัจจุบันจึงไม่ควรประมาท และพึงหมั่นศึกษาหาความรู้ และทักษะที่หลากหลายเพิ่มเติมอยู่เสมอ หากเราไม่จำกัดความรู้ให้อยู่แค่ในชั้นเรียน เราก็จะสามารถเรียนรู้ และต่อยอดสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆ ต่อไปได้อย่างไร้ขีดจำกัด

นอกจาก ตำรา E-Book "พลศาสตร์ของไหล" แล้ว ยังมีเรื่องน่ารู้อื่นๆ ที่ควรค่าแก่การดาวน์โหลดไว้เพื่อศึกษาหาความรู้และฝึกทักษะด้วยตัวเองได้ทุกที่ทุกเวลาเช่นกันอีกมากมายได้ทางแอปพลิเคชัน MU PRESS ทั้งในระบบ Android และiOS

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง
ดูข่าวต้นฉบับ